หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
โยนิโสมนสิการ

         1. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย

         วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัยคือการสืบค้นว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น มีต้นตอมาจากไหน มีปัจจัยอะไรบ้างมาประกอบหรือมาประชุมกันจนเกิดเป็น ผล หรือ ระบบ หรือ สิ่งที่ปรากฏขึ้น วิธีคิดพิจารณาถึงปัญหาหาหนทางแก้ไขปัญหาด้วยการค้นหาสาเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยคิดถึงความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างเป็นเหตุเป็นผล
          คำว่า “เหตุ” คือ ต้นตอ หรือ เงื่อนไขใหญ่ คำว่า “ปัจจัย” คือ เงื่อนไขหลายอย่างรวมกัน ดังนั้นคำว่า “เหตุปัจจัย” คือเหตุหลาย เหตุหรือเงื่อนไขหลายอย่างมารวมกันก่อให้เกิดผล ยกตัวอย่าง ก๋วยเตี๋ยวหมูหนึ่งชาม เป็นผลที่เกิดจากเหตุปัจจัยหลายสาเหตุ กว่าจะได้ 
“ก๋วยเตี๋ยวหมูหนึ่งชาม”
          ต้องนำก๋วยเตี๋ยวหมู มาพิจารณา ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง ที่มาประชุมกันจนเกิดเป็น ก๋วยเตี๋ยวหมูหนึ่งชาม เป็นต้น          
วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
          
1.  คิดแบบปัจจัยสัมพันธ์  หมายถึง  การคิดถึงความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันหรือต่อเนื่องสัมพันธ์กันเป็นหลายหลาย ๆ เหตุปัจจัย ขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่ได้  ในกรณีของ “ก๋วยเตี๋ยวหมูหนึ่งชาม” หากขาด เส้นก๋วยเตี๋ยว ก็ไม่เรียก ก๋วยเตี๋ยว ถ้าไม่ใส่เนื้อหมู ก็ไม่เรียก ก๋วยเตี๋ยวหมู และยังต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกจึงจะเป็นก๋วยเตี๋ยวหมู อาทิ น้ำซุบ ผักต่างๆ เครื่องปรุงรส ภาชนะที่ใส่ (ชาม) ตลอดจนกรรมวิธีการผลิตแต่ละขั้น กว่าจะมาเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว ต้องมีวัตถุดิบอะไรบ้าง มีผักอะไรบ้าง เครื่องปรุงรสประกอบด้วยอะไรบ้าง ใครผลิต   จนมาถึงผู้ทำก๋วยเตี๋ยวหมู ต้องทำอย่างไรจึงจะได้ก๋วยเตี๋ยวหมูหนึ่งชาม เป็นต้น
                       ในที่นี้ขอคิดตาม หลักปฏิจจสมุปบาท  (พิจารณาจากคนรับประทานก๋วยเตี๋ยวหมูเป็นแกนกลาง)
ทุกข์ หรือ ปัญหา

อวิชชา

การไม่เห็นสิ่งต่างๆ ตามที่เป็นจริง ไม่รู้ว่าแท้จริงคือ ธาตุ 4 (ก๋วยเตี๋ยวหมู) ซึ่งเป็นรูป การไม่รู้ในอริยสัจ

สังขาร

การปรุงแต่งไปตามข้อมูลที่ได้รับประสบการณ์มา

วิญญาณ การได้ยิน โสตวิญญาณ  การได้เห็น จักขุวิญญาณ  การได้กลิ่น ฆานวิญญาณ การได้รู้รส ชิวหาวิญญาณ  การได้รู้สัมผัส กายวิญญาณ การได้รู้นึกคิดที่มีอยู่ในใจ มโนวิญญาณ

นามรูป

ร่างกายและจิตใจที่สนองตอบต่อวิญญาณ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอายตนะภายนอกและภายใน

สฬายตนะ

อายตนะภายในทั้ง 6 (หู  ตา  จมูก ลิ้น กาย ใจ)

ผัสสะ

การเชื่อหรือการรับรู้ภายนอก ฟังโฆษณา สีรูปทรง  กลิ่นชวนรับประทาน ลิ้มรส  ความร้อน  จินตนาการ

เวทนา

ความชอบ ไม่ชอบหรือเฉยๆ อร่อย  เย็น ร้อน  หอม  หวาน ชื่นใจ ถูกใจ ต่อการรับประทานก๋วยเตี๋ยวหมู และสภาพแวดล้อม

ตัณหา

ความทยานอยาก อยากรับประทาน  ไม่อยากรับประทาน ต่อ"ก๋วยเตี๋ยวหมู"

อุปาทาน

ความยึดมั่นถือมั่น การติดในรสชาด กำหนดสมมติบัญญัติว่าเป็น “ก๋วยเตี๋ยวหมู”

ภพ

ภาวะที่พร้อมที่จะเกิด สร้างโลกมายาของการเสพ การรับประทาน“ก๋วยเตี๋ยวหมู”

ชาติ

การเกิด รับประทานก๋วยเตี๋ยวหมูเป็นกิจวัตร

ชรา มรณะ

ความแก่และความตาย พอใจเมื่อได้รับประทาน หงุดหงิดเมื่อไม่มีจะรับประทานยามหิว โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็ตามมา สิ่งเหล่านี้ ทำให้เกิดอวิชาเป็นวงจรไม่รู้จบ


          
2.   คิดแบบสอบสวนสืบสวน หมายถึง การคิดแบบเป็นกระบวนการแบ่งเป็นการคิดตามลำดับขั้นตอนดังนี้คือ
2.1  การคิดพิจารณาเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น หรือการคิดวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
2.2 การคิดหาเหตุของปัญหา หรือ การนำเสนอเหตุแห่งปัญหาหรือการตั้งสมมติฐาน
2.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล หรือการรวบรวมความคิด
2.4 การทดลอง/การปฏิบัติ หรือการทดสอบสมมติฐาน
2.5 การสรุปผล

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@gmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th