หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
     
หน่วยที่ 4 การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  
บทที่ 12 การการอนุรักษ์และการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก  
     
  อนุสัญญาไซเตส     CITES  
 

อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์   Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora หรือเรียกโดยย่อว่า ไซเตส CITES และเป็นที่รู้จักในชื่อ อนุสัญญากรุงวอชิงตัน Washington Convention เป็นสนธิสัญญาซึ่งเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518

 
 

                

 
        ไซเตส CITES อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่ าและพืชป่ าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora หรือเรียกอีกอย่างหน่ึงว่า อนุสัญญาวอชิงตัน Washington Convention ประเทศไทยเป็ นสมาชิกลำดับที่ 80 โดยลงนามรับรองอนุสัญญาในปี 2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม 2526
คณะกรรมการไซเตส CITES ประจา ประเทศไทย สังกดั กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เนื่องจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีคำสั่งเลขที่339/2535 ลงวันที่12 มิถุนายน 2535 แต่งตั้งคณะกรรมการไซเตส CITES ประจำประเทศ ไทยขึ้น โดยมีหน้าที่ดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ และให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญา ไซเตส CITES ในประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานของ CITES ในประเทศไทย มอบหมายให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่โดยตรง ในการดูแลชนิดพันธุ์ที่ ไซเตส CITES ควบคุม คือ
 
     
  สัตว์ป่า พืชป่า ของป่า     อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมป่าไม้

 
  พืช     อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมวิชาการเกษตร  
  สัตว์น้ำ    อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมประมง  
     
  ประเทศที่เป็นสมาชิก ไซเตส CITES   มีหน้าที่ ดังนี้
1. สมาชิกต้องกำหนดมาตราการในการบังคับใช้อนุสัญญา
CITES มิให้มีการค้าสัตว์ป่า พืชป่าที่ผิด ระเบียบอนุสัญญาฯ โดยมีมาตรการลงโทษผู้ค้าผู้ครอบครองริบของกลางและส่งของกลางกลับแหล่งกำเนิด กรณีที่ทราบถึงถิ่นกำเนิด
2. ต้องตั้งด่านตรวจสัตว์ป่า พืชป่าระหว่างประเทศเพื่อควบคุมและตรวจสอบการค้าสัตว์ป่า พืชป่าและการขนส่งที่ปลอดภัยตามระเบียบอนุสัญญา
CITES
3. ต้องส่งรายงานประจำปี
Annual Report  เกี่ยวกับสถิติการค้าสัตวป์่า พืชป่าของประเทศตนแก่ สำนักงานเลขาธิการ CITES
4. ต้องจัดตั้งคณะทำงานฝ่ายปฏิบัติการ
Management Authority และคณะทำงานฝ่ายวิทยาการ Scientific Authority ประจำประเทศเพื่อควบคุมการค้าสัตว์ป่า พืชป่ า
5. มีสิทธิ์เสนอขอเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์ในบัญชี Appendix I-II-III ให้ภาคีพิจารณา
 
     
  ระบบการควบคุมของไซเตส CITES การค้าสัตว์ป่า พืชป่าและผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศจะถูกควบคุมโดยระบบใบอนุญาต Permit ซึ่ง หมายถึงว่า สัตว์ ป่าและพืชป่าที่ไซเตส CITES ควบคุมต้องมีใบอนุญาตในการ  
     
  1. นำเข้า   Import  
  2. ส่งออก   Export  
  3. นำผ่าน   Transit  
  4. ส่งกลับออกไป   Re-export  
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th