หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
|
||
สารบัญ | ||
หน่วยที่ 4 | การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |
บทที่ 12 | การการอนุรักษ์และการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก | |
อนุสัญญา BDCหรือ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ The Biological Diversity Convention | ||
อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ BDC : The Biological Diversity Convention เป็น อนุสัญญาว่าด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพ ได้รับการลงนามจาก 157 ประเทศ ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development; UNCED) ในระหว่างวันที่ 5-14 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ณ เมือง ริโอ เดอ จาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล หลังจากนั้น อนุสัญญาฯ ได้เปิดให้ลงนามจนถึงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2536 ซึ่งมี 167 ประเทศ และสหภาพยุโรป ได้ลงนามรับรองในอนุสัญญาฯ โดยอนุสัญญา CBD ถือกำเนิดขึ้น ในปีพุทธศักราช 2535 (ค.ศ.1992) จากนั้น การนำอนุสัญญาเข้าสู่การปฏิบัติโดยมีการจัดทำ พิธีสารนาโงยา Nagoya protocol |
||
โดยมีวัตถุประสงค์ | ||
1. เพื่ออนุรักษ์ความาหลากหลายทางชีวภาพ 2. เพื่อใช้ประโยชน์จากความหลากหลลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน 3. เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม |
||
พิธีสารนาโงยา Nagoya protocol | ||
หลักปฎิบัติเมื่อจะมีการนำทรัพยากรทางชีวภาพมาใช้ มีหลักสำคัญ 3 ประการคือ |
||
1. ขั้นการขออนุญาติใช้ทรัพยากรทางชีวภาพ PIC = Prior Informed Consent |
||
2. ขั้นคุยกันว่าจะมีการดำเนินแบ่งผลประโยชน์กันอย่างไร MAT = Mutually Agreed Terms |
||
3. ขั้นการแบ่งปัน BS = Benefit Sharing | ||
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |