สึนามิ
หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
     
หน่วยที่ 4 การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  
บทที่ 10 การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา  
  สึนามิ tsunamis  มาจากภาษาญี่ปุ่น แปล่า คลื่นท่าเรือ harbor wave  
     
  สึนามิ Tsunami มีสาเหตุการเกิด 4 ประการ คือ
          1. การปะทุของภูเขาไฟใต้มหาสมุทรอย่างรุ่นแรง
          2. แผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้มหาสมุทร
          3. การเกิดดินถล่มใต้พื้นมหาสมุทรโดยฉับพลัน
          4. การตกของดาวหางหรืออุกาบาตขนาดใหญ่ลงสู่พื้นทะเลหรือมหาสมุทร
 
                 
 
             ทุกๆ ปีมีการเกิดแผ่นดินไหวในบริเวณต่างๆของโลก มากกว่า 5 พันครั้ง แผ่นดินไหวอาจจะไม่รุ่นแรง มีการสั่นสะเทือนเพียงเล็กน้อย อาจนาน 2-3 นาที่เท่านั้น เนื่องจาก การเกิดเคลื่อนไหวภายในเปลือกโลก ส่วนแผ่นดินไหวที่ร้ายแรง มักเกิดจากการเคลื่อนตัว ตามรอยเลื่อน faults อันจะนำความหายนะมาสู่บริเวณที่ประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น   การเกิดแผ่นดินไหวบริเวณพื้นมหาสมุทรอย่างรุนแรง อาจก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ ที่เรียกกันในภาษาญี่ปุ่นว่า สึนามิ tsunamis คลื่นยักษ์ดังกล่าว สามารถแผ่กระจายไปได้เป็นระยะทางไกลมาก เป็นสาเหตุทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างฉับพัน เกิดความเสียหายอย่างมาก   ตัวอย่าง  
     
            แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เป็นแผ่นดินไหวใต้ทะเล เกิดขึ้นเมื่อเวลา 07.58 น. ตามเวลาในประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547  ศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปในมหาสมุทรอินเดีย ใกล้ด้านตะวันตกของตอนเหนือเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ทำให้เกิดความเสียหายบนเกาะสุมาตรา และยังรับรู้ได้ในภาคใต้ของประเทศไทย
 
 
 
            แผ่นดินไหวเกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกใต้มหาสมุทรอินเดีย กระตุ้นให้เกิดคลื่นสึนามิสูงราว 30 เมตร เข้าท่วมทำลายบ้านเรือน ตามแนวชายฝั่งโดยรอบมหาสมุทรอินเดีย ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ใน 14 ประเทศมากกว่า 230,000 - 280,000คนหรือมากกว่า 280,000 คน นับเป็นหนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์   
     
            ประเทศที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย รองลงมาคือประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย และประเทศไทย ตามลำดับ
ความรุนแรงของแผ่นดินไหวอยู่ระหว่างแมกนิจูด 9.1 ถึง 9.3 ตามมาตราโมเมนต์ ทำให้แผ่นดินไหวครั้งนี้นับเป็นแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรง เป็นอันดับที่สาม ตามที่เคยวัดได้จากเครื่องวัดแผ่นดินไหว Seismometer นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นแผ่นดินไหวที่มีคาบเวลายาวนานที่สุด
 
     
     
     
     
     
     
     

 Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Klongtoei Klongtoei Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile