หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
||
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม |
|||
สารบัญ | |||
หน่วยที่ 4 | การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ||
บทที่ 10 | การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา | ||
รูปร่างลักษณะสัณฐานของเปลือกโลกที่ปรากฏให้เห็นเป็นผลมาจากการกระทำ 2 ชนิดคือ | |||
1. การกระทำจากแรงภายใต้พื้นผิวโลก | |||
การกระทำจากแรงนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อาทิ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด การเกิดภูเขา การแตกแยกของผิวเปลือกโลก การเกิดสึนามิ |
|||
การเกิดแผ่นดินไหว earthquakes | |||
แผ่นดินไหว earthquakes ตามพจนานุกรมศัพท์อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1 (2523 หน้า 273) อธิบายความไว้ว่า “แผ่นดินไหว : การสั่นสะเทือกนของแผ่นดินที่รู้สึกได้ในจุดใดจุหนึ่งบนผิวโลก”กระบวนการเกิดแผ่นดินไหว แบ่งได้ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ | |||
1. กระบวนการเกิดแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 2. กระบวนการเกิดแผ่นดินไหวที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ |
|||
1. กระบวนการเกิดแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ 1.1 การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก 1.2 การระเบิดของภูเขาไฟ 1.3 การกระทำจากอุกาบาตตกใส่โลก |
|||
ปรากฏการณ์แผ่นดินไหว เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของ แผ่นเปลือกโลกที่สำคัญ 6 แผ่นใหญ่ๆ ได้แก่ 1. แผ่นยูเรเซีย เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ ทวีปเอเชียและทวีปยุโรป และพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง 2. แผ่นอเมริกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้และพื้นน้ำครึ่งซีกตะวันตก ของมหาสมุทรแอตแลนติก 3. แผ่นแปซิฟิก เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ มหาสมุทรแปซิฟิก 4. แผ่นออสเตรเลีย เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ ทวีปออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศอินเดีย 5. แผ่นแอนตาร์กติก เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ ทวีปแอนตาร์กติก และพื้นน้ำโดยรอบ 6. แผ่นแอฟริกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ ทวีปแอฟริกา และพื้นน้ำรอบๆ |
|||
1.1 การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกมีสาเหตุมาจากชั้นเนื้อโลกได้รับพลังงานความร้อนจากชั้น แก่นโลก จนเปลือกโลกไม่สามารถทนแรงอัดได้ ก็จะแตกหักหรือมีการเคลื่อนไหวโดยฉับพลัน แผ่นเปลือกโลกที่สะสมพลังงานไว้มากๆ ก็จะดีดตัวกลับเพื่อรักษา ความสมดุลของเปลือกโลก การดีดกลับ ดังกล่าว จะทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนขึ้นกระจายออกไปด้านข้าง จุดเริ่มของการสั่นสะเทือน ซึ่งเรียกว่า ศูนย์กำเนิด focus และจุดที่คลื่นแผ่นดินไหวเคลื่อนที่ไปตั้งฉากกับผิวโลก เรียกว่า จุดเหนือศูนย์กำเนิด epicentre บริเวณที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวมากที่สุด คือ จุดเหนือศูนย์กำเนิด epicentre แผ่นดินไหวอันเนื่องมาจากการระเบิดของภูเขาไฟเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเคลื่อนตัวของ หินหนืด Magma ที่อยู่ใต้เปลือกโลกเคลื่อนตัวออกมาจากรอยแยกของเปลือกโลก | |||
ทุกๆ ปีมีการเกิดแผ่นดินไหวในบริเวณต่างๆของโลก มากกว่า 5 พันครั้ง แผ่นดินไหวอาจจะไม่รุ่นแรง มีการสั่นสะเทือนเพียงเล็กน้อย อาจนาน 2-3 นาที่เท่านั้น เนื่องจาก การเกิดเคลื่อนไหวภายในเปลือกโลก ส่วนแผ่นดินไหวที่ร้ายแรง มักเกิดจากการเคลื่อนตัว ตามรอยเลื่อน faults อันจะนำความหายนะมาสู่บริเวณที่ประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น การเกิดแผ่นดินไหวบริเวณพื้นมหาสมุทรอย่างรุนแรง อาจก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ ที่เรียกกันในภาษาญี่ปุ่นว่า สึนามิ tsunamis คลื่นยักษ์ดังกล่าว สามารถแผ่กระจายไปได้เป็นระยะทางไกลมาก เป็นสาเหตุทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างฉับพัน เกิดความเสียหายอย่างมาก ตัวอย่าง | |||
แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เป็นแผ่นดินไหวใต้ทะเล เกิดขึ้นเมื่อเวลา 07.58 น. ตามเวลาในประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปในมหาสมุทรอินเดีย ใกล้ด้านตะวันตกของตอนเหนือเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ทำให้เกิดความเสียหายบนเกาะสุมาตรา และยังรับรู้ได้ในภาคใต้ของประเทศไทย แผ่นดินไหวเกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกใต้มหาสมุทรอินเดีย กระตุ้นให้เกิดคลื่นสึนามิสูงราว 30 เมตร เข้าท่วมทำลายบ้านเรือน ตามแนวชายฝั่งโดยรอบมหาสมุทรอินเดีย ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ใน 14 ประเทศมากกว่า 230,000 - 280,000คนหรือมากกว่า 280,000 คน นับเป็นหนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ประเทศที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย รองลงมาคือประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย และประเทศไทย ตามลำดับ ความรุนแรงของแผ่นดินไหวอยู่ระหว่างแมกนิจูด 9.1 ถึง 9.3 ตามมาตราโมเมนต์ ทำให้แผ่นดินไหวครั้งนี้นับเป็นแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรง เป็นอันดับที่สาม ตามที่เคยวัดได้จากเครื่องวัดแผ่นดินไหว Seismometer นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นแผ่นดินไหวที่มีคาบเวลายาวนานที่สุด |
|||
1.2 แผ่นดินไหวอันเนื่องมาจากการระเบิดของภูเขาไฟเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเคลื่อนตัวของ หินหนืด Magma ที่อยู่ใต้เปลือกโลกเคลื่อนตัวออกมาจากรอยแยกของเปลือกโลก | |||
|
|||
จากการศึกษาของนักธรณีวิทยาและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเกี่ยวกับภูเขาไฟ การเกิดภูเขาไฟมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับการที่เปลือกโลกถูกรบกวน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณเปลือกโลกที่ยังมีความอ่อนตัวเพราะเกิดรอยเลือนลึกและภูเขาโก่งตัวสูงขึ้น ยิ่งลงไปใต้ผิวโลกมากขึ้นเท่าใด อุณหภูมิยิ่งสูงขึ้นมาก ๆทุกที กล่าวคือ อุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ย 1 องศาเซลเซียส ต่อ ระยะทาง 1 เมตร เมื่อลึกลงไป ตามโครงสร้างของโลกถึงชั้นกลาง ซึ่งเต็มไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ ที่ถูกความร้อนหลอมละลายเป็นหินหนืด หรือ magma แมกมา ซึ่งประกอบไปด้วย คาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และกาซที่ระเบิดได้ง่าย เช่น ไนโตรเจน ผสมอยู่ มีส่วนทำให้ หินหนิด Magma ระเบิดไหลออกมาสู่ภายนอนกโลก กลายเป็น ลาวา lava ซึ่งจะไหลออกมาตามรอยแตกแยกของเปลือกโลก การระเบิดดังกล่าว ทำให้เกิดแผ่นดินไหวตามมา | |||
|
|||
1.2 ภูเขาไฟ Volcano เกิดจาก หินหนืดที่อยู่ในชั้นเมนเทิล ถูกแรงอัดให้แทรกออกมาตามรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก ด้วยวิธีการปะทุ หรือ ไหลออกมา ถ้าออกมาพ้นเปลือกโลก เรียกว่า ลาวาหลาก lava flow แต่ถ้ายังอยู่ใต้เปลือกโลก เรียกว่า แมกมา magma |
|||
ปรากฏการณ์ภูเขาไฟปะทุในโลก ส่วนใหญ่เกิดตามแนวชนกันของแผ่นเปลือกโลกที่ทอดตัวอยู่รอบมหาสมุทรแปซิฟิก ที่เรียกว่า วงแหวนไฟ ring of fire |
|||
ภูเขาไปแบ่งตามรูปร่างออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. ภูเขาไฟแบบกรวยสูง Steep cone 2. กรวยภูเขาไฟสลับชั้น Composite Cone Volcano 3. ภูเขาไฟรูปโล่ Shield Volcano 4. กรวยกรวดภูเขาไฟ Cinder Cone |
|||
1. ภูเขาไฟแบบกรวยสูง Steep cone เกิดจากลาวาที่มีความเป็นกรด หรือ Acid lava cone รูปกรวยคว่ำของภูเขาไฟเกิดจากการทับถมของลาวาที่เป็นกรด เพราะประกอบด้วยธาตุซิลิกอนมากกว่าธาตุอื่นๆ ลาวามีความข้นและเหนียว จึงไหลและเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ แต่จะแข็งตัวเร็ว ทำให้ไหล่เขาชันมาก ภูเขาไฟแบบนี้จะเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง |
|||
|
|||
2. กรวยภูเขาไฟสลับชั้น Composite Cone Volcano เกิดจากการสลับหมุนเวียนของชั้นลาวา และเศษหิน ภูเขาไฟชนิดนี้อาจจะดันลาวาไหลออกมาเป็นเวลานาน และจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประทุอย่างกะทันหัน ภูเขาไฟชนิดนี้ที่มีชื่อ เช่น ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนในประเทศสหรัฐอเมริกา ภูเขาไฟฟูจิ ประเทศญี่ปุ่น และ ภูเขาไฟมายอน ในประเทศฟิลิปปินส์ |
|||
3. ภูเขาไฟรูปโล่ Shield Volcano เกิดจาก ลาวาชนิด บะซอลท์ที่ไหลด้วยความหนืดต่ำ ลาวาที่ไหลมาจากปล่องกลาง และไม่กองสูงชัน เหมือนภูเขาไฟชนิดกรวยสลับชั้นภูเขาไฟชนิดนี้มักจะเป็นภูเขาไฟขนาดใหญ่ ภูเขาไฟเมานาโลอา Mauna Loa ในรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา |
|||
|
|||
4. กรวยกรวดภูเขาไฟ Cinder Cone ภูเขาไฟชนิดนี้จะสูงชันมาก และเกิดจากลาวาที่พุ่งออกมาทับถมกัน ลาวาจะมีความหนืดสูง การไหลไม่ต่อเนื่อง และมีลักษณะเป็นลาวาลูกกลมๆ ที่พุ่งออกมาจากปล่องเดี่ยว และทับถมกันบริเวณรอบปล่อง |
|||
|
|||
|
|||
ความรุนแรงของแผ่นดินไหว intensity หมายถึง การวัดปริมาณของแผ่นไหวจากปรากการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะที่เกิดและหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาจากความรู้สึกของคน การสั่นไหวของวัตถุ หรือความเสียหายอาคารบ้านเรือน ขนาดของแผ่นดินไหว Magnitude คือ พลังงานที่พื้นโลกปลดปล่อยออกมาในรูปของการสั่นสะเทือน ซึ่งคำนวณได้ จากการตรวจวัดความสูงของกราฟ ที่แสดงให้เห็นถึงความสูงของแผ่นดินไหว amplitude เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดแผ่นดินไหว เรียกว่า ไซโมกราฟ seismograph | |||
การวัดระดับความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหวมี 2 ลักษณะคือ |
|||
1 วัดด้วยขนาดของแผ่นดินไหว |
|||
2 วัดด้วยระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว | |||
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Klongtoei Klongtoei Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|