หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม |
||
สารบัญ | ||
โครงสร้างของเศรษฐกิจไทย |
||
หน่วยที่ 4 | เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย | |
4.4 การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง | ||
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในระยะแรก มีจุดอ่อนของการพัฒนาที่สำคัญคือยังคงใช้ระบบราชการเป็นหลัก ในการบริหารทางเศรษฐกิจทั้งการเมืองและทางสังคม เป็นการรวมศูนย์อำนาจ มีระบกฏหมายที่ยังล้าหลัง ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการผลิต และเกิดปัญหาทางด้านสังคมตามมา เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบเกิดขึ้นทั้งในภาคราชการและภาคธุรกิจของเอกชน ความอ่อนแอในระบบการจัดการศึกษาของไทย ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาของคนไทย ไม่ก้าวหน้าหรือขาดทักษะความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลให้ขาดแคลนแรงงานที่มีความชำนาญการ | ||
จากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ภาพรวมทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ ถึงแม้ว่ารัฐบาลของไทย ได้มีการวางแผนในการพัฒนาเศรษฐกิตและสังคมแห่งตั้งแต่ฉบับที่ 1-8(พ.ศ 2503-2544) ประกอบกับเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 หรือ เรียกทั่วไปในประเทศไทยว่า "วิกฤตต้มยำกุ้ง" เป็นช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงิน ซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชีย เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก ส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ไม่บรรลุตามเป้าหมาย และเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ระบบเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมและบริการ ขาดทุน เกิดการว่าง | ||
โดยเฉพาะสังคมไทย มีคนตกงาน เดินทางกลับสู่ภูมิลำเนา หันไปทำการผลิตทางภาคเกษตรในชนบทเพิ่มมากขึ้น จากวิกฤตการณ์ ดังกล่าว เกษตรกร ได้นำ "เกษตรทฤษฎีใหม่ " ของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) มาเป็นแบบอย่าง ในการทำกิจกรรมภาคการเกษตร ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ "หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" โดยการจัดพื้นที่หรือที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและมีชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ ได้แก่ พื้นที่น้ำ พื้นที่ดินเพื่อเป็นที่นาปลูกข้าว พื้นที่ดินสำหรับปลูกพืชไร่นานาพันธุ์ และ ที่สำหรับอยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ ในอัตราส่วน 30:30:30:10 เป็นหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ส่งผลให้ผลผลิตภาคการเกษตรประสบผลสำเร็จ | ||
สภาพัฒน์ ฯ หรือ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. (Office of the National Economics and Social Development Council) เป็นหน่วยงานราชการ ภายในส่วนสังกัดของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่ จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาประเทศในแต่ละช่วงระยะเวลา 5 ปี และวิเคราะห์ ประเมินแผนงานและโครงการพัฒนาของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ได้นำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลักแล้วกำหนดไว้ใน แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) เป็นครั้งแรก | ||
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) เป็นแผนที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดารัสของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) มาเป็นปรัชญานําทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยยึดหลัก ทางสายกลาง เพื่อใหประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนําไป สู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์ เปลี่ยนแปลงต่างๆ เรื่อยมาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับต่อๆ มายังคงใช้ "หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" มาเป็นหลักแล้วกำหนดไว้ในแผนฯ |
||
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) | ||
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ | ||
1. ต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งและการค้า รวมทั้งมีกลไก กำกับดูแล การประกอบกิจการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส ให้สามารถสนับสนุนการเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน |
||
2. สร้างความมั่นคงทางพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพ การใช้พลังงาน และส่งเสริมการใช้ พลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด ตลอดจนขยายโอกาสทางธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน | ||
3. เพิ่มประสิทธิภาพและขยายการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอย่างทั่วถึง ทั้งประเทศ ในราคาที่เหมาะสมเป็นธรรม และส่งเสริมธุรกิจดิจิทัลใหม่ และนวัตกรรม รวมทั้งพัฒนาระบบ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้มีความมั่นคง และคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลให้แก่ผู้ใช้บริการ | ||
4. พัฒนาประสิทธิภาพและขยายการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำประปาทั้งในเชิง ปริมาณและคุณภาพให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ลดอัตราน้ำสูญเสียในระบบประปา และสร้างกลไกการบริหาร จัดการการประกอบกิจการน้ำประปาในภาพรวมของประเทศ | ||
5. พัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกิดจากลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อลดการนำเข้าจาก ต่างประเทศ และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ |
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |