หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
 
เกี่ยวกับผู้ทำ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
 
สารบัญ          

31.    บนพื้นผิวโลกมีหย่อมความกดอากาศที่เกิดขึ้นประจำอยู่  7 บริเวณ ได้แก่

31.1          หย่อมความกดอากาศสูงบริเวณขั้วโลกเหนือ

31.2          หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล

31.3          หย่อมความกดอากาศสูงบริเวณเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์

31.4          หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นศูนย์สูตร

31.5          หย่อมความกดอากาศสูงบริเวณบริเวณเส้นทรอปิกออฟแคบริคอร์น

31.6          หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล

31.7          หย่อมความกดอากาศสูงบริเวณขั้วโลกใต้

32.    ITCZ ย่อมาจาก  Intertropical Convergence Zone ( เขตลมสงบบริเวณศูนย์สูตร )

33.    ลม  คือ อากาศที่เคลื่อนที่ขนานกับพื้นผิวโลก จากบริเวณความกดอากาศสูงไปยังความกดอากาศต่ำ

34.    ลมประจำปี คือ  ลมที่พัดอยู่เป็นประจำตลอดทั้งปี

35.    ลมสินค้าตะวันออกเฉียงเหนือ  คือลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูงบริเวณเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์เข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นศูนย์สูตร

36.    ลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ คือ ลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูงบริเวณเส้นทรอปิกออฟแคบริคอร์นเข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นศูนย์สูตร

37.    ลมตะวันตกเฉียงเหนือคือ ลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูงบริเวณเส้นทรอปิกออฟแคบริคอร์นเข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นแอนตาร์ติกเซอร์เคิล

38.    ลมตะวันตกเฉียงใต้ คือลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูงบริเวณเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์เข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล

39.    ลมขั้วโลกตะวันออกเฉียงเหนือ คือลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูงบริเวณขั้วโลกเหนือเข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล

40.    ลมขั้วโลกตะวันออกเฉียงใต้ คือ ลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูงบริเวณขั้วโลกใต้เข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล

41.    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศได้แก่

41.1          ที่ตั้ง ( ละติจูด )

41.2          ลมประจำปีที่พัดผ่าน

41.3          สิ่งกีดขวางทางลม ( การวางตัวของเทือกเขา )

41.4          ระยะห่างจากทะเล ( ความใกล้ไกลทะเล )

41.5          กระแสน้ำในมหาสมุทร

41.6          ความสูงของพื้นที่

41.7          พายุหมุน

42.    ภูมิอากาศ หมายถึง ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิและน้ำฝนที่เกิดขึ้นบริเวณใดบริเวณหนึ่งในหนึ่งปี

43.    Dr. Wladimir  Koppen แห่งมหาวิทยาลัยเกรซ  ประเทศออสเตรีย  ได้ตั้งชื่อภูมิอกาศ โดยใช้ค่าเฉลี่ย     ของอุณหภูมิและปริมาณความชื้นของอากาศ เป็นเกณฑ์  ซึ่งจำแนกออกเป็น  5 เขต ใหญ่ ๆ โดยใช้ตัวอักษร   ภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ เป็นสัญญลักษณ์แทนได้แก่

43.1          อักษร   A      แทน เขตภูมิอากาศร้อน

43.2           อักษร   B    แทน เขตภูมิอากาศแห้งแล้ง

43.3           อักษร   C     แทน เขตภูมิอากาศอบอุ่น

43.4           อักษร   D     แทน เขตภูมิอากาศหนาว

43.5           อักษร   E แทน เขตภูมิอากาศขั้วโลก

44.    สัญลักษณ์ ภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก ตัว  w  หมายถึง ฝนไม่ตกในฤดูหนาว

45.    สัญลักษณ์ ภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก ตัว  s   หมายถึง ฝนตกในฤดูหนาว

1. กระแสน้ำอุ่นแคริบเบียน
2. กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม
3. กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือ
4. กระแสน้ำอุ่นนอร์เวย์
5. กระแสน้ำเย็นคานารี
6. กระแสน้ำอุ่นบราซิล
7. กระแสน้ำเย็นเบงเก-ลา
8. กระแสน้ำเย็นลมตะวันตก
9. กระแสน้ำเย็นออสเตรเลียตะวันตก
10. กระแสน้ำอุ่นมาดากัสการ์
11. กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิก
12. กระแสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออก
13. กระแสน้ำอุ่นกุโรชิโว
14. กระแสน้ำเย็นโอยาชิโว
15. กระแสน้ำเย็นชามชัตกา
16. กระแสน้ำเย็นฮัมโบลด์ (เย็นเปรู)
17. กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย
18. กระแสน้ำอุ่นอลาสกา
19. กระแสน้ำเย็นลาบราดอร์
20. กระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ตะวันออก

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoeay Khlongtoeay Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
  
http://www.sainampeung.ac.th