หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
 
เกี่ยวกับผู้ทำ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
 
สารบัญ          

1.       นักเรียนรู้จักโลกของเราขนาดไหน

....................................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................................

2.       นักภูมิศาสตร์ศึกษาโลกของเราอย่างไร

....................................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................................

3.       แผนที่คืออะไร 

สิ่งที่แสดงรายละเอียดของพื้นผิวโลกลงบนวัสดุแบนราบ โดยการย่อส่วนมีการกำหนดพิกัดภูมิศาสตร์ทิศทางมาตราส่วนและมีคำอธิบายสัญลักษณ์

4.       แผนที่มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

4.1       ชื่อแผนที่

4.2       มาตราส่วน Map scale

4.3       สัญลักษณ์ Symbol คำอธิบายสัญลักษณ์ Legend

4.4       ทิศ

4.5       พิกัดภูมิศาสตร์ ( ละติจูดหรือเส้นขนาน, ลองจิจูดหรือเส้นเมริเดียน )

4.6       ศัพทานุกรม Glossary

5.       การสร้างเส้นโครงแผนที่ อาศัยหลักการฉายเส้นเมริเดียนและเส้นขนาน จากพื้นผิวลูกโลกลงบนแผ่นกระดาษมี 3 ชนิดได้แก่

5.1       ระนาบ plane

5.2       กรวย cone

5.3       กระบอก  cylinder

6.       เส้นขนาน parallel หรือ ละติจูด latitude คือ ระยะเชิงมุมที่วัดจากใจกลางโลกเป็นมุมยกขึ้นหรือกดลงจากแนวระนาบของเส้นศูนย์สูตร มายังผิวโลก วัดเป็นมุมยกขึ้นมีหน่วยเป็นองศาเหนือ วัดเป็นมุมกดลงมีหน่วยเป็นองศาใต้

7.       เมริเดียน meridian หรือ ลองจิจูด longitude คือ ระยะเชิงมุมที่วัดจากใจกลางโลก ออกจากเส้นเมริเดียน เริ่มแรกไปทางตะวันตกหรือตะวันออก วัดเป็นไปทางตะวันออกไม่เกิน 180 องศาสมีหน่วยเป็นองศาตะวันออก วัดเป็นไปทางตะวันตกไม่เกิน 180 องศามีหน่วยเป็นองศาตะวันตก

8.       เขตละติจูดต่ำหมายถึง บริเวณที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ตั้งแต่ เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ถึงทรอปิกออฟแคบริคอร์น

9.       เขตละติจูดกลาง หมายถึง บริเวณที่ตั้งแต่ เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ถึงอาร์กติกเซอร์เคิลในซีกโลกเหนือและตั้งแต่เส้นทรอปิกออฟแคบริคอร์นถึงแอนตาร์กติกเซอร์เคิลในซีกโลกใต้

10.    เขตละติจูดสูง หมายถึง บริเวณที่ตั้งแต่ เส้นอาร์กติกเซอร์เคิลถึงขั้วโลกเหนือและบริเวณเส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิลถึงขั้วโลกใต้

11.    เส้นศูนย์สูตร Equator คือ เส้นที่ลากรอบโลกในแนวนอนแล้วแบ่งโลกออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กันเป็นซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้  มีตำแหน่งอยู่ที่ละติจูด 0 องศา

12.    เส้นศูนย์สูตรมีความยาว                                                40,076   กิโลเมตร

13.    ระยะทางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ ตามแกนของโลก มีความยาว                              12,714   กิโลเมตร

14.    ระยะทางจากตะวันตกไปตะวันออกผ่านใจกลางโลกบริเวณศูนย์สูตรมีความยาว          12,756   กิโลเมตร

15.    ละติจูด 0 องศามีชื่อว่า      เส้นศูนย์สูตร   Equator

16.    ละติจูด 23 องศาครึ่งเหนือ  เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์         Tropic of cancer

17.    ละติจูด 23 องศาครึ่งใต้     เส้นทรอปิกออฟแคบริคอร์น                Tropic  of capricorn

18.    ละติจูด 66 องศาครึ่งเหนือ  เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล      Arctic  circle

19.    ละติจูด 66 องศาครึ่งใต้    เส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล    Antarctic circle

20.    เมื่อ 250 ล้านปีที่ผ่านมา ใช่วงยุคเพอร์เมียน บริเวณเปลือกโลกมีพื้นที่อยู่ 2 ส่วน ได้แก่

20.1          ส่วนที่เป็นผืนแผ่นดินกว้างใหญ่เพียงผืนเดียว เรียกว่า  พันเจีย  Pangea

20.2          ส่วนที่เป็นมหาสมุทรที่อยู่รอบ ๆ เรียกว่า    พันทาลัสซา  Panthalassa

21.    เปลือกโลกในยุคไทรแอสซิก ส่วนที่เรียกว่า “พันเจีย” ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

21.1          ผืนแผ่นดินในซีกโลกเหนือ เรียนกว่า         ผืนแผ่นดินลอเรเซีย  Laurasia

21.2          ผืนแผ่นดินในซีกโลกใต้    เรียนกว่า    ผืนแผ่นดินกอนด์วานา  Gondwana

22.    ผืนแผ่นดินลอเรเซีย ประกอบด้วย ทวีปอเมริกาเหนือ เกาะกรีนแลนด์ ทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย ยกเว้นอินเดีย

23.    ผืนแผ่นดินกอนด์วานา ประกอบด้วย อเมริกาใต้ ทวีปอัฟริกา ทวีปออสเตรเลียและทวีปแอนตาร์กติกา

24.    ทวีปที่มีอาณาเขตติดกับทวีปเอเชีย ได้แก่     ทวีปยุโรปและทวีปอัฟริกา

25.    ทวีปที่มีอาณาเขตติดกับทวีปอเมริกาใต้คือ    ทวีปอเมริกาเหนือ

26.    ปัจจุบันโลกของเราแบ่งออกเป็น 7 ทวีป เรียงตามขนาดของพื้นจากมาไปน้อยได้แก่

26.1          ทวีปเอเชีย

26.2          ทวีปอัฟริกา

26.3          ทวีปอเมริกาเหนือ

26.4          ทวีปอเมริกาใต้

26.5          ทวีปแอนตาร์กติกา

26.6          ทวีปยุโรป

26.7          ทวีปออสเตรเลีย ( โอเชียเนีย )

27.    ่วนที่เป็นพื้นน้ำแบ่งออกเป็น 5 มหาสมุทร  เรียงตามขนาดของพื้นจากมาไปน้อยได้แก่

27.1          มหาสมุทรแปซิฟิก

27.2          มหาสมุทรแอตแลนติก

27.3          มหาสมุทรอินเดีย

27.4          มหาสมุทรอาร์กติก

27.5          มหาสมุทรแอนตาร์กติก

28.    ความกดอากาศ PRESSURE คือ  น้ำหนักหรือมวลของอากาศที่กดลงบนพื้นผิวโลกในหนึ่งตารางหน่วย ณ ระดับน้ำทะเลปานกลางเท่ากับ 1013.25 มิลลิบาร์ หรือ 760 มิลลิเมตรปรอท หรือ 29.92 นิ้วปรอท

29.    หย่อมความกดอากาศสูง HIGH  PRESSURE คือมวลของอากาศที่กดลงบนพื้นผิวโลกมากกว่า 1013.25 มิลลิบาร์

30.    หย่อมความกดอากาศต่ำ LOW  PRESSURE คือ มวลของอากาศที่กดลงบนพื้นผิวโลกน้อยกว่า 1013.25 มิลลิบาร์

31.    บนพื้นผิวโลกมีหย่อมความกดอากาศที่เกิดขึ้นประจำอยู่  7 บริเวณ ได้แก่

31.1          หย่อมความกดอากาศสูงบริเวณขั้วโลกเหนือ

31.2          หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล

31.3          หย่อมความกดอากาศสูงบริเวณเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์

31.4          หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นศูนย์สูตร

31.5          หย่อมความกดอากาศสูงบริเวณบริเวณเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น

31.6          หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล

31.7          หย่อมความกดอากาศสูงบริเวณขั้วโลกใต้

32.    ITCZ ย่อมาจาก  Intertropical Convergence Zone ( เขตลมสงบบริเวณศูนย์สูตร )

33.    ลม  คือ อากาศที่เคลื่อนที่ขนานกับพื้นผิวโลก จากบริเวณความกดอากาศสูงไปยังความกดอากาศต่ำ

34.    ลมประจำปี คือ  ลมที่พัดอยู่เป็นประจำตลอดทั้งปี

35.    ลมสินค้าตะวันออกเฉียงเหนือ  คือลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูงบริเวณเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์เข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นศูนย์สูตร

36.    ลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ คือ ลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูงบริเวณเส้นทรอปิกออฟแคบริคอร์นเข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นศูนย์สูตร

37.    ลมตะวันตกเฉียงเหนือคือ ลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูงบริเวณเส้นทรอปิกออฟแคบริคอร์นเข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นแอนตาร์ติกเซอร์เคิล

38.    ลมตะวันตกเฉียงใต้ คือลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูงบริเวณเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์เข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล

39.    ลมขั้วโลกตะวันออกเฉียงเหนือ คือลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูงบริเวณขั้วโลกเหนือเข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล

40.    ลมขั้วโลกตะวันออกเฉียงใต้ คือ ลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูงบริเวณขั้วโลกใต้เข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณเส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล

41.    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศได้แก่

41.1          ที่ตั้ง ( ละติจูด )

41.2          ลมประจำปีที่พัดผ่าน

41.3          สิ่งกีดขวางทางลม ( การวางตัวของเทือกเขา )

41.4          ระยะห่างจากทะเล ( ความใกล้ไกลทะเล )

41.5          กระแสน้ำในมหาสมุทร

41.6          ความสูงของพื้นที่

41.7          พายุหมุน

42.    ภูมิอากาศ หมายถึง ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิและน้ำฝนที่เกิดขึ้นบริเวณใดบริเวณหนึ่งในหนึ่งปี

43.    Dr. Wladimir  Koppen แห่งมหาวิทยาลัยเกรซ  ประเทศออสเตรีย  ได้ตั้งชื่อภูมิอกาศ โดยใช้ค่าเฉลี่ย     ของอุณหภูมิและปริมาณความชื้นของอากาศ เป็นเกณฑ์  ซึ่งจำแนกออกเป็น  5 เขต ใหญ่ ๆ โดยใช้ตัวอักษร   ภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ เป็นสัญญลักษณ์แทนได้แก่

43.1          อักษร   A      แทน เขตภูมิอากาศร้อน

43.2           อักษร   B    แทน เขตภูมิอากาศแห้งแล้ง

43.3           อักษร   C     แทน เขตภูมิอากาศอบอุ่น

43.4           อักษร   D     แทน เขตภูมิอากาศหนาว

43.5           อักษร   E แทน เขตภูมิอากาศขั้วโลก

44.    สัญลักษณ์ ภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก ตัว  w  หมายถึง ฝนไม่ตกในฤดูหนาว

45.    สัญลักษณ์ ภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก ตัว  s   หมายถึง ฝนตกในฤดูหนาว

1. กระแสน้ำอุ่นแคริบเบียน
2. กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม
3. กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือ
4. กระแสน้ำอุ่นนอร์เวย์
5. กระแสน้ำเย็นคานารี
6. กระแสน้ำอุ่นบราซิล
7. กระแสน้ำเย็นเบงเก-ลา
8. กระแสน้ำเย็นลมตะวันตก
9. กระแสน้ำเย็นออสเตรเลียตะวันตก
10. กระแสน้ำอุ่นมาดากัสการ์
11. กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิก
12. กระแสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออก
13. กระแสน้ำอุ่นกุโรชิโว
14. กระแสน้ำเย็นโอยาชิโว
15. กระแสน้ำเย็นชามชัตกา
16. กระแสน้ำเย็นฮัมโบลด์ (เย็นเปรู)
17. กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย
18. กระแสน้ำอุ่นอลาสกา
19. กระแสน้ำเย็นลาบราดอร์
20. กระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ตะวันออก

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoeay Khlongtoeay Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
  
http://www.sainampeung.ac.th