- ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์โลกคือ เฮโรโดตัส Herodotus
- ประวัติศาสตร์ มาจากภาษาอังกฤษว่า history ซึ่งเป็นคำในภาษากรีก ว่า historeo แปลว่า การถักทอ
- ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย คือ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- เฮโรโดตัส Herodotus เป็น นักประวัติศาสตร์ ชาว กรีก
- เฮโรโดตัส Herodotus ใช้ ร่องรอย ในอดีตเป็นข้อมูลในการอธิบายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ร่องรอย ที่ว่านี้เรียกว่า หลักฐานทางประวัติศาสตร์
- หลักฐานประวัติศาสตร์ หมายถึง ร่องรอยการกระทำ การแสดง การพูด การเขียน การประดิษฐ์ สิ่งก่อสร้าง ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ รวมทั้งความคิดอ่าน ความรู้สึก ประเพณีปฏิบัติของมนุษย์ในอดีต ที่ได้ทิ้งร่องรอยเอาไว้ ในบริเวณที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง
- หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ ได้แก่
7.1 หลักฐานชั้นต้น
7.2 หลักฐานชั้นรอง
- หลักฐานชั้นต้น primary sources หมายถึง คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ
- หลักฐานชั้นรอง secondary sources หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่า หรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
- หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด ได้แก่
10.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
10.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
- หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร written sources หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์
- หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร Unwritten Sources หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปะการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ดนตรี จิตรกรรม ฯลฯ
- หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต ได้แก่
13.1หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น
13.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง
- หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น หมายถึง หลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
- หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง หมายถึง วิธีการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็น ของผู้ต้องการศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้า หาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน
- วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจาก หลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีต
- วีธีการทางประวัติศาสตร์ มี 5 ขั้นตอนประกอบด้วย
17.1 การกำหนดเป้าหมาย (การกำหนดหัวข้อเรื่องที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน เรื่องอะไร ช่วงเวลาใด ที่ไหน)
17.2
การรวบรวมข้อมูล (รวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ครอบคลุม ครบถ้วน)
17.3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน(ตรวจสอบความจริงจากหลักฐาน ที่เรียกว่า การวิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์)
17.4 การตีความตามหลักฐาน(วิเคราะห์ข้อมูลและตีความเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง)
17.5 การสังเคราะห์ (นำเสนอผลงานความรู้ที่ค้นพบ โดยปราศจากอคติและความลำเอียง)
- การนับศักราชสากลที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช
- ค.ศ. ย่อมาจาก คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของ ศาสนา คริสต์
- คริสต์ศักราช เริ่มนับเมื่อ พระเยซูประสูติ (25 ธันวาคม) หลัง พุทธศักราช 543 ปี
- คริสต์ศักราช 1 ย่อเป็น ค.ศ.1 หรือ A.D.1 ย่อมาจากคำว่า Anno Domini 1
- การนับศักราช ก่อนที่พระเยซูประสูติ เรียกว่า before christ เขียนย่อ ๆ ว่า B.C.
- สองพันปี ก่อนคริสต์ศักราช เขียนว่า 2,000 B.C. หมายความว่า เป็นช่วงเวลา 2,000 ปี ก่อนพระเยซูประสูติ
- การนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือ พุทธศักราช
- พ.ศ. 1 ย่อมาจาก พุทธศักราช 1 หมายถึง พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานครบ 1 ปีแล้ว
- ฮ.ศ. ย่อมาจาก ฮิจญ์เราะหฺศักราช เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1165 เมื่อปีที่ท่านนบีมุฮัมมัด อพยพจากเมืองเมกกะ (มักกะหฺ) ไปยังเมืองเมดีนา (มะดีนะหฺ)
- จ.ศ. ย่อมาจาก จุลศักราช เป็นการนับเดือนปีเป็นแบบ ทางจันทรคติ เริ่มนับ จ.ศ. 1 เมื่อปี พ.ศ. 1182 โดยนับจากเหตุการณ์ที่ พระบุพโสระหัน สึกออกจากการเป็นพระมาเพื่อชิงราช บัลลังก์เป็นวันแรกของศักราช
- ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 1 เรียกว่า เอกศก
- ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 2 เรียกว่า โทศก
- ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 3 เรียกว่า ตรีศก
- ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 4 เรียกว่า จัตวาศก
- ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 5 เรียกว่า เบญจศก
- ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 6 เรียกว่า ฉศก
- ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 7 เรียกว่า สัปตศก
- ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 8 เรียกว่า อัฐศก
- ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 9 เรียกว่า นพศก
- ถ้าเลขตัวสุดท้ายของจุลศักราชลงท้ายด้วยเลข 0 เรียกว่า สัมฤทธิศก
- ร.ศ.1 + 2324 = พ.ศ. 2325 พุทธศักราช 2553 เท่ากับ ร.ศ. 229
- จ.ศ.1 + 1181 = พ.ศ. 1182 พุทธศักราช 2553 เท่ากับ จ.ศ. 1372
- ม.ศ.1 + 621 = พ.ศ. 622 พุทธศักราช 2553 เท่ากับ ม.ศ. 1932
|
ประวัติศาสตร์สมัยก่อนกรุงสุโขทัย |
- การศึกษาทางประวัติศาสตร์แบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 ยุคโดยใช้ตัวอักษรเป็นเกณฑ์ได้ดังนี้
- ยุคก่อนประวัติศาสตร์
- ประวัติศาสตร์
- ประวัติศาสตร์ยุคหินแบ่งออกเป็น 3 สมัย คือ
- สมัยหินเก่า
- สมัยหินกลาง
- สมัยหินใหม่
- ประวัติศาสตร์ยุคโลหะแบ่งออกเป็น 3 สมัยคือ
3.1 สมัยทองแดง
3.2 สมัยสำริด
3.3 สมัยเหล็ก
- นักประวัติศาสตร์ชาวไทยที่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดคนไทยอยู่แถบเทือกเขาอัลไต คือ ขุนวิจิตรมาตรา
- นักภาษาศาสตร์และนักมนุษยวิทยาชาวอเมริกันที่เชื่อว่าคนไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ทางแหลมมาลายูและประเทศอินโดนีเซีย คือ ดร. ปอล เบเนดิกส์
- เจ้าของแนวความคิดที่ว่าคนไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของจีนบริเวณมลฑลยูนาน ตอนเหนือ ของเวียตนามและแคว้นอัสสัมของอินเดีย คือ โคลฮูน
- เจ้าของแนวความคิดที่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของคนไทยอยู่บริเวณมณฑลเสฉวน คือ แตรรีอองเดอลาคูเปอรี
- อาณาจักรที่ตั้งอยู่บริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยถึงประเทศกัมพูชา ราวพุทธศตวรรษที่ 6 - 11 คืออาณาจักร ฟูนัน
- อาณาจักรที่ตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ราวพุทธศตวรรษที่ 11 - 15 คือ โคตรบูร
- อาณาจักรที่ตั้งอยู่บริเวณภาคกลางของไทยจรดทะเลอันดามันราวพุทธศตวรรษ 12 - 16 คือ ทวาราวดี
- อาณาจักรที่ตั้งอยู่บริเวณภาคใต้ของไทยถึงเกาะสุมาตรา ราวพุทธศตววรรษที่ 11-17 คือ ศรีวิชัย
- ก่อนที่คนไทยจะสร้างอาณาจักรสุโขทัย เมืองสุโขทัยอยู่ในการปกครองของอาณาจักร ขอม
- หัวหน้าคนไทยสองคนที่ช่วยกันขับไล่ขอมออกจากเมืองสุโขทัย คือ
13.1
พ่อขุนบางกลางหาว
13.2 พ่อขุนผาเมือง
- ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย คือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เดิมมีชื่อว่า พ่อขุนบางกลางหาว
- ก่อนที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จะมาครองสุโขทัยแต่เดิมเป็นเจ้าเมือง บางยาง
- อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองที่สุดในสมัยของ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ระหว่าง ปี พ.ศ. 1822 ถึง ปี พ.ศ. 1842
- พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรสุโขทัย คือ พระมหาธรรมราชาที่ 4 ( บรมปาล )
- ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ( พระเจ้าอู่ทอง )
- อาณาจักรอยุธยาเกิดจากการรวมกันระหว่างอาณาจักร สุวรรณภูมิ และอาณาจักร ละโว้
- ลักษณะชนชั้นในสมัยอยุธยาแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ
20.1 กษัตริย์และเจ้านาย
20.2 ขุนนาง
20.3 ไพร่
20.4 ทาส
|