หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
 
สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
  1. รัชกาลที่ 9 มีพระนามเดิมว่า      พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช           เป็นโอรสของ
    สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม    กับ  สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนน
  2. รัชกาลที่ 9 ประสูติเมื่อ 5 เดือน    ธันวาคม  2470   เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 9 เดือนมิถุนายน  พ.ศ. 2489  ขณะที่มีพระชนมายุได้ 19 พรรษา
  3. รัชกาลที่ 9 ทรงกระทำพิธีอภิเษกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์หญิง สิริกิติ์  กิติยากร    เมื่อ 28 เมษายน 2493
  4. รัชกาลที่ 9 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อ 5 พฤษภาคม  2493
  5. พระราชพิธีรัชดาภิเษก คือพระราชพิธีที่พระมหากษัตริย์ขึ้นครองราชย์ครบ  25 ปี
  6. พระราชพิธีกาญจนาภิเษก คือ พระราชพิธีที่พระมหากษัตริย์ปกครองประเทศได้ครบ 50 ปี
  7. พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก คือ พระราชพิธีที่พระมหากษัตริย์ขึ้นครองราชย์นานกว่ากษัตริย์ ที่ครองราชย์ในอดีต
  8. รัชกาลที่ 9 ได้พระราชสมัญญาว่า “มหาราช” เมื่อทรงมีพระชนมายุ 60 พรรษา ในวันที่ 5 เดือน    ธันวาคม     พ.ศ. 2530
  9. รัชกาลที่ 9 ได้ประกอบพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกเมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ.  2531        
  10. รัชการที่ 9  ครองราชย์ได้ครบ  50 ปี ปวงชนชาวไทยได้พร้อมใจกันประกอบพระราชพิธีกาญจนาภิเษก
  11. รัชกาลที่ 9 ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี เมื่อ  เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2539
  12. รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระชนมายุเท่ากับรัชกาลที่ 1 เมื่อ 22  เดือน   พฤษภาคม   พ.ศ. 2543
  13. รัชกาลที่ 9 ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี เมื่อ 9 เดือน มิถุนายน พ.ศ.  2549
  14. รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระชนมายุ 80 พรรษา เมื่อ 5  เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2550
  15. ในสมัยรัชกาลที่ 9 รัฐบาลไทยได้สร้างวัดไทย  ณ  ตำบลพุทธคยาประเทศอินเดียคือ วัดไทยพุทธคยา
  16. วัดไทยแห่งแรกในทวีปยุโรปคือวัดพุทธประทีป ตั้งอยู่ ณ กรุง ลอนดอน ประเทศ อังกฤษ
  17. วันฉัตรมงคล มีความสำคัญ คือ เป็นวันที่รัชกาลที่ 9 ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตรงกับวันที่ 5 เดือน พฤษภาคม  พ.ศ. 2493
  18. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ได้สถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฎราชกุมาร   ในสมัย จอมพลถนอม  กิตติขจร    เป็นนายกรัฐมนตรี โดยประกอบพระราชพิธี  เมื่อ 28 เดือน ธันวาคม  พ.ศ. 2515
  19. การฟื้นฟูพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ครั้งที่ 3 ได้ประกอบพระราชพิธี    ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม จังหวัด กรุงเทพมหานคร
  20. แผนการศึกษาของชาติเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่  5
  21. แผนการศึกษาของชาติฉบับ พ.ศ. 2475 มีจุดมุ่งหมายดังนี้คือ 21.1ให้ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษาพอเหมาะแก่อัตภาพ
    21.2ให้การศึกษาทั้งสายสามัญและวิสามัญ
    21.3 ให้การศึกษาทั้งสามส่วนได้แก่  ให้การศึกษาทั้งสามส่วนคือ 1. จริยศึกษา  2.   พุทธิศึกษา  3.   พลศึกษา
  22. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479  มีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกับแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475    มีข้อแตกต่างคือ
    22.1 ประเภทของการศึกษา โดยแยกออกเป็น 2 ประเภทคือ 1. สายสามัญ 2. สายวิสามัญ
    22.2 หลักสูตรการเรียน กล่าวคือ หลักสูตรมัธยมศึกษาจบเพียงม.6 แทนที่จะจบ ม.3 แต่ก็มีชั้นเตรียมอุดมศึกษาแทน
  23.  แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.  2479 มีองค์ประกอบ  3 องค์ ได้แก่
    23.1 จริยศึกษา
    23.2 พลศึกษา
    23.3 หัตถศึกษา
  24. แผนการศึกษาชาติ  พ.ศ. 2494  มีองค์การศึกษา   4  องค์  ได้แก่
    24.1 จริยศึกษา  คือ    ให้มีวัฒนธรรมอันดีงาม
    24.2 พุทธิศึกษา คือ ให้มีความรู้ความสามารถ
    24.3 พลศึกษา  คือ ให้มีร่างกายแข็งแรง
    24.4 หัตถศึกษา คือ ให้มีความเคยชินและขยันหมั่นเพียร  ในการใช้มือปฏิบัติงาน   เพื่อเป็นรากฐานในการประกอบอาชีพ
  25. การศึกษาพิเศษ หมายถึง การจัดการศึกษาที่นอกเหนือไปจากการจัดการศึกษาตามปกติ
  26. การศึกษาพิเศษ เริ่มมีครั้งแรกในแผนการศึกษาชาติฉบับ  พ.ศ. 2494
  27. แผนการศึกษาชาติฉบับ พ.ศ. 2503 มีจุดมุ่งหมายเพื่อ สนองความต้องการของสังคมและบุคคลโดยสอดคล้องกับแผนการปกครองประเทศ
  28. แผนการศึกษาชาติฉบับ พ.ศ. 2503 แบ่งระดับการศึกษาออกเป็น  4  ระดับคือ 
    28.1 อนุบาล
    28.2 ประถมศึกษา
    28.3 มัธยมศึกษา
    28.4 อุดมศึกษา
  29. โครงการปฏิรูปการศึกษา พ.ศ.  2517 มีชื่อเรียกว่า โครงการปฏิรูปการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม
  30. โครงการปฏิรูปการศึกษา พ.ศ.  2517 เป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516
  31. ในปัจจุบันประเทศไทยใช้แผนการศึกษาชาติฉบับ  พ.ศ.  2550 - 2554
  32. การจัดตั้งมหาวิทยาลัย ในภูมิภาคเกิดขึ้น ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1
  33. การจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิด รามคำแหง เป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ 2
  34. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี
  35. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 มีระยะเวลา 6 ปี เริ่ม  พ.ศ. 2504   ถึง   2509
  36. ปัจจุบัน เราใช้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550  - 2554
  37. การชุมนุมของประชาชนซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์   วันมหาวิปโยคเริ่มจาก การเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักศึกษา   13 คน     ที่ถูกจับกรณีเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
  38. ผู้เป็นหัวหน้าในการทำรัฐประหาร  โดยเรียก  คณะตนเองว่า   สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เมื่อ  23  กุมภาพันธ์  2534  คือ   พลเอกสุนทร คงสมพงษ์
  39. นายกรัฐมนตรี ที่ประชาชนได้เดินขบวนประท้วง อันก่อให้เกิด  เหตุการณ์   “พฤษภาทมิฬ”  เมื่อ 17 – 19 พฤษภาคม  2535 คือ พลเอกสุจินดา คราประยูร
  40. สภารักษาความสงบแห่งชาติทำการปฏิวัติรัฐบาลของ  พลเอกชาติชาย  ชุณหะวัณ
  41. ผู้ที่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี หลังเหตุการณ์วันมหาวิปโยค 14 ต.ค. 2516 คือ นายสัญญา ธรรมศักดิ์
  42. คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ทำการปฏิวัติรัฐบาลของ ม.ร.ว.  เสนีย์  ปราโมช
  43. ผู้ที่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 17 – 19 พ.ค.  2535 คือ นายอานันท์ ปัณยารชุน
  44. รัฐบาลไทยได้ผูกสัมพันธไมตรีทั้งฝ่ายเสรีประชาธิปไตยและฝ่ายคอมมิวนิสต์ในสมัย ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช  เป็นนายกรัฐมนตรี
  45. รัฐบาลสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กำหนดให้  วันที่  5 ธันวาคมเป็นวันชาติ
  46. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  ทรงได้รับการถวายเหรียญเซเรส  จากหน่วยงาน องค์การอาหารและยา  Food and Agriculture Organization ( FAO)  ของสหประชาชาติ
  47. ในการเฉลิมฉลองการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 60 ปี ได้มีการจัดงานพืชสวนโลก  ณ จังหวัด   เชียงใหม่
  48. ในการเฉลิมฉลองการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 60 ปี ได้มีการจัดงานพืชสวนโลก  มีประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมาร่วมจัดสวนราชพฤกษ์ รวม 33  ประเทศ
  49. คอมมิวนิสต์จากประเทศ     สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน    ได้สนับสนุนให้เวียดมินห์   ได้รับชัยชนะต่อฝรั่งเศสที่เดียนเบียนฟู จนเวียดนามถูกแบ่งออกเป็นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้
  50. ประเทศโลกที่สามหมายถึง     กลุ่มประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด   กลุ่มประเทศ กำลังพัฒนา
Copyright By :Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khongteay Khongteay Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile

http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/index.htm                                                                  ChalengsakChuaorrawan