หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
เกี่ยวกับผู้ทำ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
ศาสนา จริยธรรม
หน้าที่พลเมือง
เศรษฐศาสตร์
ประวัติศาสตร์
ภูมิศาสตร์
แบบฝึกหัด
สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 7 มีพระนามเดิมว่า
สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดช
เป็นโอรสของ
รัชกาลที่ 5
กับ
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระปรมาภิไธยย่อว่า
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ทรงผนวช
ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
จำพรรษา
ณ
วัดบวรนิเวศวิหาร
หลังจากทรงลาผนวชแล้วทรงอภิเษกสมรสกับ
หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีสวัสดิวัฒน์
รัชกาลที่ 7 ขึ้นครองราชย์เมื่อ
25
พฤศจิกายน 2468 ทรงสละราชสมบัติเมื่อ
2
มีนาคม
2477
รวมระยะเวลาที่ครองราชย์นาน
10
ปี แล้วเสด็จสวรรคตเมื่อ 30
พฤษภาคม
พ.ศ. 2484
ณ ประเทศ
อังกฤษ
รวมพระชนมายุ
48
พรรษา
การปกครองในสมัยรัชกาลที่ 7 ตอนต้นรัชกาลได้ตั้งสภาแผ่นดิน 2 สภาประกอบด้วย
5.1 อภิรัฐมนตรีสภา มีหน้าที่
เป็นสภาที่ปรึกษาราชการในพระองค์ทั้งปวง
5.2 องคมนตรีสภา มีหน้าที่
ประชุมปรึกษาหารือข้าราชการตามแต่จะทรงโปรดเกล้าฯเช่น
การพิจารณาร่างกฎหมายการตราพระราชบัญญัติ
หน่วยงานที่รัชกาลที่ 7 จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ประสานงานในราชการของกระทรวงฝ่ายทหารและพลเรือนคือ
สภาป้องกันพระราชอาณาจักร
สมาชิกอภิรัฐมนตรีสภาประกอบด้วย ประกอบด้วยพรพบรมวงศานุวงศ์จำนวน 5 คนคือ
7.1 สมเด็จพระปิตุลาบรมพงศาภิมุขเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
7.2 สมเด็จพระพี่ยาเธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตประชานาท
7.3 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์
7.4 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
7.5 พระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระจันทบุรีนฤนาท
สมาชิกอภิรัฐมนตรีสภา มีกำหนดประชุม สัปดาห์ละ
1
ครั้ง โดยจะประชุมในวัน
ศุกร์
รัชกาลที่ 7 ทรงตั้งคณะอภิรัฐมนตรีสภาขึ้นเมื่อ วันที่
28
เดือน
พฤศจิกายน
พ.ศ. 2468
สมาชิกอภิรัฐมนตรีสภา มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ วันที่ 29 เดือน
พฤศจิกายน
พ.ศ. 2468 ณ
พระที่นั่งบรมพิมาน
คณะผู้ก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เรียกว่า
คณะราษฎร์
คณะราษฎร์ ประกอบด้วย
ทหารบก ทหารเรือ พลเรือน
ขณะที่ คณะราษฎร์ ดำเนินการปฏิวัติอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราฐาน
ประทับอยู่ที่
พระราชวังไกลกังวล
อำเภอ
หัวหิน
จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์
หัวหน้าคณะราษฎร์ที่ทำการปฏิวัติ คือ
พระยาพหลพลพยุหเสนา ( พจน์พหลโยธิน )
คณะบุคคลสำคัญของคณะราษฎร์ฝ่ายทหารบก ได้แก่
15.1 พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ( พจน์พหลโยธิน )
15.2 พันเอกพระยาทรงสุรเดช ( เทพพันธุมเสน )
15.3 พันเอกพระยาฤทธิอัคเนย์ ( สละเอมะศิริ )
15.4 พันโทพระประศาสน์พิทยายุธ ( นายวันชูถิ่น )
15.5 หลวงพิบูลสงคราม ( แปลกขีตตะสังคะ )
คณะบุคคลสำคัญของคณะราษฎร์ฝ่ายทหารเรือ ได้แก่
16.1 นาวาตรีหลวงสินธุ์สงครามชัย ( สินธุ์กมลนาวิน )
16.2 นาวาตรีหลวงศุภชลาศัย ( บุงศุภชลาศัย )
16.3 เรือเอกหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ( ถวัลย์ธารีสวัสดิ์ )
คณะบุคคลสำคัญของคณะราษฎร์ฝ่านพลเรือนคือ
17.1 หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ( ปรีดีพนมยงค์ )
17.2 นายควงอภัยวงศ์
17.3 นายดิเรกชัยนาม
17.4 นายประยูรภมรมนตรี
ผู้วางแผนยึดอำนาจการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 คือ
พันเอกพระยาทรงสุรเดช (เทพพันธุมเสน )
ผู้ที่ถือว่าเป็นมันสมองของคณะราษฎร์คือ
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ( นายปรีดีพนมยงค์ )
พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงที่ถูกคณะราษฎร์ ควบคุมไว้เป็นตัวประกันสำหรับต่อรองกับรัชกาลที่ 7 คือ
สมเด็จพระพี่ยาเธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตประชานาท
คณะราษฎร์ได้ควบคุมพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ชั้นสูงไว้
ณ
พระที่นั่งอนันตสมาคม
เมื่อคณะราษฎร์ ปฏิวัติผู้ที่นำข่าวไปแจ้งรัชกาลที่ 7 คือ
กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
คณะราษฎร์ ได้ตั้งศูนย์บัญชาการการปฏิวัติอยู่ ณ
พระที่นั่งอนันตสมาคม
หลังจากที่คณะราษฎร์ ทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วได้ ผู้ที่ถือหนังสือไปแจ้งให้รัชกาลที่ 7 กลับมาปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยคือ
นาวาตรีหลวงศุภชลาศัย ( บุงศุภชลาศัย )
รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกให้กับปวงชนชาวไทย ณ
พระที่นั่งอนันตสมาคม
เมื่อ
27
เดือน
มิถุนายน
2475
รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ให้เมื่อ
10
เดือน
ธันวาคม
2475
นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทยคือ
พระยามโยปกรณ์นิติธาดา ( นายก้อนหุตสิงห์ )
เมื่อคณะราษฎร์ ทำการปฏิวัติเรียบร้อยแล้วได้จัดตั้งรัฐสภา โดยมี
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ( สนั่นเทพหัสดินณอยุธยา )
เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร์
และประกาศจัดตั้งรัฐบาลโดยมี
พระยามโนปกรณ์นิติธาด
( นายก้อนหุตสิงห์ )
เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร์
คณะกรรมการราษฎร ซึ่งระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทยเทียบได้กับ
นายกรัฐมนตรี
ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
สมาชิกประเภท 2 ในรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2475 หมายถึง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ที่มาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษััตริิย์
หลักในการดำเนินการบริหารประเทศของคณะราษฎร์ เรียกว่า
หลัก 6 ประการ
หลักในการดำเนินการบริหารประเทศของคณะราษฎร์ 6 ประการ ประกอบด้วย
32.1
หลักเอกราช
32.2
หลักความปลอดภัย
32.3
หลักเศรษฐกิจ
32.4
หลักเสมอภาพ
32.5
หลักเสรีภาพ
32.6
หลักการศึกษา
นโยบายการบริหารงานของคณะราษฎร์ที่จะพัฒนาประเทศมี 6 ประการคือ
33.1 หลักเอกราช คือ
จะรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลายเช่นเอกราชทางการเมืองทางการศาล
ทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
33.2 หลักความปลอดภัย คือ
จะรักษาความปลอดภัยภายในประเทศจะสร้างความสามัคคีในชาติ
33.3 หลักเศรษฐกิจ คือ
จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจโดยรัฐบาลจะจัดให้
ทุกคนมีงานทำไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
33.4 หลักเสมอภาพ คือ
จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน
33.5 หลักเสรีภาพ คือ
จะต้องให้ราษฎรมีเสรีภาพมีความเป็นอิสระซึ่งจะต้องไม่ขัดกับหลักข้างต้น
33.6 หลักการศึกษา คือ
จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
สิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในคณะราษฎร์ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 คือ
เค้าโครงเศรษฐกิจ ( สมุดปกเหลือง ) ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม
หลังการปฏิวัติ 2475 ได้เกิดรอยร้าวในรัฐสภาและรัฐบาล อันเนื่องมาจาก
เค้าโครงเศรษฐกิจ
หรือ
ที่เรียกว่า
สมุดปกเหลือง
ซึ่งร่างขึ้นโดย
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ( ปรีดีพนมยงค์ )
กลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจ ( สมุดปกเหลือง ) โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเค้าโครงเศรษฐกิจ
ฉบับนี้มีลักษณะเป็น
สังคมนิยมโซเชียลลิสต์อย่างแรงหรือคอมมิวนิสต์
เค้าโครงเศรษฐกิจที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้ร่างขึ้น รัชกาลที่ 7 ได้วิจารณ์ไว้ใน
สมุดปกขาว
เมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนา ทำการปฏิวัติล้มรัฐบาลของ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้เกิดกบฏบวรเดช
ซึ่งคณะกบฏ ได้เรียกตนเองว่า
คณะกู้บ้านเมือง
โดยมี
พลเอกพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช
เป็นหัวหน้า
หัวหน้าคณะกู้บ้านเมืองเมื่อทำการไม่สำเร็จได้หลบหนีไปอยู่ที่
อินโดจีน
เมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนา ปราบกบฏบวรเดชเรียบร้อยแล้ว รัชกาลที่ 7 ได้เสด็จประพาสต่างประเทศ
โดยการเสด็จในครั้งนี้เพื่อที่จะรักษา
พระเนตร
ณ ประเทศ
อังกฤษ
การเสด็จไปต่างประเทศของรัชกาลที่ 7 เมื่อ 12 มกราคม 2476 ( 2477 ) ได้แต่งตั้งให้
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
พระไตรปิฎกที่จัดพิมพ์เป็นอักษรไทย จนจบบริบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 เรียกว่า
พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฏ
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 7 คือ
สะพานพุทธยอดฟ้า
หรือสะพานปฐมบรมราชานุสรน์
Copyright By
Chalengsak Chuaorrawan
Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khongteay Khongteay Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th
http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak