- รัชกาลที่ 5 มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เป็นโอรสของ รัชกาลที่ 4 กับ
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เมื่อขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- รัชกาลที่ 5 ประสูติเมื่อ 20 กันยายน 2396 ขึ้นครองราชย์เมื่อ 1 เดือน ตุลาคม 2411
ขณะมีพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอยู่ในราชสมบัตินาน 42 ปี แล้วเสด็จสวรรคตเมื่อ 23 ต.ค. 2453
รวมพระชนมายุ 58 พรรษา
- ในระยะแรก ของการขึ้นครองราชสมบัติ ของรัชกาลที่ 5 มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คือ
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ( ช่วง บุนนาค )
- ด้านการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง ดังนี้คือ โปรดให้ยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและจัตุสดมภ์ เมื่อ พ.ศ. 2435 และทรงแบ่งกระทรวง
ออกเป็น 12 กระทรวงดังนี้ คือ
4.1 กระทรวงมหาดไทย 4.2 กระทรวงกลาโหม
4.3 กระทรวงการต่างประเทศ 4.4 กระทรวงนครบาล
4.5 กระทรวงวัง 4.6 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
4.7 กระทรวงเกษตรและพาณิชยการ 4.8 กระทรวงยุติธรรม
4.9 กระทรวงยุทธนาธิการ 4.10 กระทรวงธรรมการ
4.11 กระทรวงโยธาธิการ 4.12 กระทรวงมุรธาธร
- ในสมัยรัชกาลที่ 5 กระทรวงต่าง ๆ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
5.1 กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือรวมทั้งหัวเมืองประเทศราศทางเหนือ
5.2 กระทรวงกลาโหม มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ กรมทหารเรือ กรมช้าง กรมแสง
5.3 กระทรวงการต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่จัดการเรื่องเกี่ยวกับการต่างประเทศ
5.4 กระทรวงนครบาล มีอำนาจหน้าที่จัดการในเรื่องความปลอดภัยในพระนคร ดูแลรักษาบัญชีพล
ดูแลเกี่ยวกับคุก
5.5 กระทรวงวัง มีอำนาจหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องในราชสำนักและพระราาชพิธีต่าง ๆ
5.6 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาการเก็บภาษีอากรและการเงิน ที่เป็นรายรับ
รายจ่ายของแผ่นดิน
5.7 กระทรวงเกษตรและพาณิชยการ มีอำนาจหน้าที่จัดการเรื่องเพาะปลูก การป่าไม้ การค้า รวมทั้ง
เรื่องโฉนดที่ดินซึ่งเริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ 5
5.8 กระทรวงยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่จัดการเรื่องศาลทั้งปวง
5.9 กระทรวงยุทธนาธิการ มีอำนาจหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทหารบกและทหารเรือแบบยุโรป
5.10 กระทรวงธรรมการ มีอำนาจหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องศาสนา การศึกษา การพยาบาล
และพิพิธภัญฑ์
5.11 กระทรวงโยธาธิการ มีอำนาจหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องการก่อสร้างต่าง ๆ ตลอดจนการไปรษณีย์
โทรเลขและรถไฟซึ่งเริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ 5
5.12 กระทรวงมุรธาธร มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาพระราชลัญจกรและหนังสือราชการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับ
พระมหากษัตริย์ .
- พระราชลัญจกรคือ ตราต่าง ๆ ที่ประทับลงในหนังสือราชการ
- การปกครองส่วนภูมิภาค ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปโดยให้ยกเลิก การปกครอง หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช แล้วจัดการปกครองแบบ เทศาภิบาล หรือ มณฑลเทศาภิบาล
โดยแบ่งท้องถิ่นต่าง ๆ ออกเป็น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง และมณฑล
- ตำแหน่งผู้ปกครองมณฑลเรียกว่า ข้าหลวงเทศาภิบาล หรือ สมุหเทศาภิบาล
- ตำแหน่งผู้ปกครองกระทรวงเรียกว่า เสนาบดี
- ตำแหน่งผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ผู้ว่าราชการเมือง ตำแหน่งผู้ปกครองอำเภอเรียกว่า นายอำเภอ
- ตำแหน่งผู้ปกครองตำบลเรียกว่า กำนัน ตำแหน่งผู้ปกครองหมู่บ้านเรียกว่า ผู้ใหญ่บ้าน
- ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการตั้งสภาแผ่นดิน โดยแบ่งออกเป็น 2 สภาคือ รัฐมนตรีสภา
และ องคมนตรีสภา
- รัฐมนตรีสภา มีหน้าที ถวายคำปรึกษาในเรื่องเกี่ยวกับราชการแผ่นดินทั่วไป รวมทั้งพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ พระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ
- องคมนตรีสภา มีหน้าที่ เป็นสภาที่ปรึกษาราชการในพระองค์และมีหน้าที่ช่วยปฏิบัติราชการแผ่นดินตามแต่
จะมีพระราชดำรัส
- การปกครองแบบเทศาภิบาล ได้ยกเลิกไปเมื่อ มีการเปลี่ยนปลงการปกครอง พ.ศ. 2476
- ไพร่ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
16.1 ไพร่สม
16.2 ไพร่หลวง
16.3 ไพร่ส่วย
- ไพร่สม คือ ชายฉกรรจ์ทุกคนเมื่ออายุครบ 18 ปี จะต้องขึ้นทะเบียนเข้าสังกัดมูลนายเพื่อรับราชการ
- ไพร่หลวง คือ ชายที่มีอายุ 20 - 60 ปี ที่สามารถจับอาวุธออกสู้รบได้
- ไพร่ส่วย คือ ชายที่มีอายุ 20 - 60 ปีที่ไม่ได้เข้าเกณฑ์แรงงานแต่ต้องส่งสิ่งของมาแทนการเข้าเวร
- รัชกาลที่ 5 ทรงยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเพราะ เกิดข้อขัดแย้งกันระหว่างวังหน้า
กับวังหลวง
- ผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ
- ผู้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารองค์แรกคือ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
- การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่เห็นได้ชัดเจนคือ การเลิกทาส
- หน่วยงานที่ดูแลพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ พระคลังข้างที่
- หอรัษฎากรพิพัฒน์ คือ หน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่เก็บเงินผลประโยชน์รายได้ภาษีอากรของแผ่นดิน
มารวมไว้ที่แห่งเดียวกัน
- หอรัษฎากรพิพัฒน์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไดัรับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
- ธนาคารแห่งแรกของไทยคือ บุคคลัภย์ ( แบงค์สยามกัมมาจล ) หรือ ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด
- บุคคลัภย์ คือ ธนาคารแห่งแรกของไทย
- ที่ปรึกษาการคลังของไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ นายริเวตต์ คาร์แนศ เป็นชาว อังกฤษ
- การพัฒนาการคมนาคมขนส่งและการสื่อสารในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่
30.1 เริ่มกิจการรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรก ( สายกรุงเทพ - อยุธยา )
30.2 ตั้งกรมไปรษณีย์ขึ้นเป็นครั้งแรก
30.3 เริ่มกิจการโทรเลขขึ้นเป็นครั้งแรก
30.4 เริ่มกิจการรถรางขึ้นเป็นครั้งแรก
30.5 เริ่มมีการใช้โทรศัพท์ขึ้นเป็นครั้งแรก
- รัชกาลที่ 5 โปรดให้ยกเลิกเงินปลีกที่กำหนดเป็นเหรียญสลึงเฟื้องอัฐและโสฬสเปลี่ยนให้ใช้ สตางค์ แทน
- รัชกาลที่ 5 เริ่มมีธนบัตรใช้ ชนิด 5 บาท 10 บาท 20 บาท 100 บาท 1,000 บาท
- รัชกาลที่ 5 โปรดให้เลิกใช้จุลศักราชในทางราชการ เปลี่ยนมาใช้ รัตนโกสินทร์ศักราช แทนโดย
เริ่มนับตั้งแต่ พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1 ( รัตนโกสินทร์ศักราชที่ 1 )
- สมาชิกรัฐมนตรีสภา ในสมัยรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วย ขุนนางผู้ใหญ่ที่มีบรรดาศักดิ์ยศเป็น พระยา
ทั้งหมดจำนวน 12 คน โดยมี พระองค์ท่าน ( รัชกาลที่ 5 ) เป็นประธาน
- สมาชิกองคมนตรีสภา ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีจำนวน 49 คน เป็นเชื้อพระวงศ์ 13 พระองค์
- พนักงานตุลาการ พวกที่เป็นพราหมณ์ชาวต่างประเทศซึ่งเชี่ยวชาญในทางนิติศาสตร์เรียกว่าลูกขุน ณ ศาลหลวง
ซึ่งมีสมาชิก 12 คนมีหัวหน้าเป็นพระมหาราชครูปุโรหิตคนหนึ่ง พระมหาราชครูมหิธรคนหนึ่ง
ถือศักดินาเท่าขุนนางยศ เจ้าพระยา กล่าวคือมีศักดินา 10,000 ไร่
- ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีหน้าที่ เป็นผู้ชี้ตัวบทกฎหมายว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิดเท่านั้น ไม่มีอำนาจตัดสิน
คดีความหรือบัญชาการใด ๆ
- ผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นพระบิดาแห่งกฎหมายไทยแผนปัจจุบันคือ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
- ผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นพระบิดาแห่งการศาลไทยคือ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ( รพี พัฒนศักดิ์ )
- ศาลในกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 คือศาลโปริสภา ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็น ศาลแขวง
เมื่อ 1 ตุลาคม 2478
- ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้แบ่งศาลออกเป็น 3 แผนก คือ
41.1ศาลฎีกา
41.2 ศาลสถิตยุติธรรมกรุงเทพ ฯ
41.3
ศาลหัวเมือง
- ดร. โรแลง ยัคแมงส์ ชาว เบลเยี่ยม ได้เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายให้กับไทยต่อมาภายหลัง
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ
- โรงพยาบาลแห่งแรกของไทยคือ โรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ศิริราชพยาบาล
- ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ตั้งสภาอุณาโลมแดง ขึ้นเพราะ เกิดกรณีพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
ในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ทำให้มหารไทยบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมาก
- สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามมีหน้าที่จัดหาทุนซื้อยาและเครื่องเวชภัณฑ์ส่งไปบรรเทาทุกข์ทหารที่บาดเจ็บ
- สภาอุณาโลมแดงต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สภากาชาดไทย ในปัจจุบัน
- สุขาภิบาลแห่งแรกของไทยคือ สุขาภิบาลท่าฉลอม ตั้งอยู่ที่จังหวัด สมุทรสาคร
- ปี พ.ศ. 2446 ได้จัดตั้ง โอสถศาลารัฐบาล ขึ้นเพื่อ เป็นสถานประกอบการผลิตยาสามัญประจำบ้าน
- ยาสามัญประจำบ้านในสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่า ยาโอสถสภา ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ยาตำราหลวง
- พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารตราขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัย รัชกาลที่ 5. เมื่อ 29 สิงหาคม 2448
- ในสมัยโบราณของเรานั้น ได้มีการแบ่งทาสออกเป็น 7 ประเภทดังนี้คือ
51.1ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่ขายตัวเองหรือถูกผู้อื่นขายให้แก่นายเงินต้องทำงานจนกว่าจะหาเงินมาไถ่ค่าตัวได้
จึงจะหลุดพ้นเป็นไท
51.2 ทาสในเรือนเบี้ย คือ ลูกของทาสที่เกิดมาในเวลาที่พ่อ แม่กำลังเป็นทาสอยู่
51.3 ทาสได้มาแต่บิดามารดา คือ ลูกทาสที่ได้จากพ่อหรือแม่ของเด็กที่เป็นทาส
51.4 ทาสท่านให้ คือ ทาสที่เดิมเป็นของผู้หนึ่งแล้วถูกยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของอีกผู้หนึ่ง
51.5 ทาสที่ช่วยมาจากทัณฑโทษ คือ ผู้ที่ถูกต้องโทษต้องเสียค่าปรับแต่ไม่มีเงินให้ แล้วมีนายเงินเอาเงิน
มาใช้แทนให้ ผู้ต้องโทษก็ต้องเป็นทาสของนายเงิน
51.6 ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย คือ ในเวลามีภัยธรรมชาติทำให้ข้าวยากหมากแพง ไพร่บางคน
อดอยากไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ต้องอาศัยมูลนายกิน ในที่สุดก็ต้องยอมเป็นทาสของมูลนายนั้น
51.7 ทาสเชลยคือ ทาสที่ได้มาจากการรบทัพจับศึกหรือการทำสงคราม เมื่อได้ชัยชนะจะต้อน
ผู้แพ้สงครามมาเป็นทาส
- สาเหตุของการขายตัวเป็นทาสคือ
52.1 มีความจำเป็นเรื่องหนี้สินในการประกอบอาชีพ
52.2 การเล่นการพนันจนมีหนี้สินล้นพ้นตัว
- การเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำควบคู่ไปกับ การจัดระบบการศึกษา และ การเลิกอากรบ่อนเบี้ย
- ศักดินา คือ เครื่องหมายกำหนดความรับผิดชอบของบุคคลตามยศ หรือตำแหน่ง ขุนนาง ไพร่ และทาส
- พระสมุหนายก สมุหกลาโหมและจัตุสดมภ์ทั้งสี่ มีศักดินา 10,000 ไร่ พระเจ้าลูกเธอทรงศักดินา6,000 ไร่
พระมหาอุปราชมีศักดินา 100,000 ไร่ ราษฎรมีศักดินา 25 ไร่ ทาส มีศักดินา 5 ไร่
- ในสมัยรัชกาลที่ 5 เรียก หมื่นแขวง เป็น "นายอำเภอ"
- การเสียแคว้นสิบสองจุไทให้กับฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสอ้างว่า จะคอยปราบปรามพวกฮ่อที่เข้ามาปล้นสดมภ์
- การเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสอ้างว่า ญวนและเขมรเคยมีอำนาจเหนือลาว
มาก่อน เมื่อญวนและเขมรเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ลาวก็ต้องเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสด้วย
ส่วนการเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส เพื่อแลกกับ เมืองจันทบุรี
- มณฑลบูรพา หรือที่เรียกว่า เขมรส่วนใน ประกอบด้วย เมืองพระตะบอง
เมืองเสียมราฐ เมืองศรีโสภณ
- รัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานูและปะลิศ ไทยเสียให้กับประเทศ สหราชอาณาจักร
- ลักษณะสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเหมือนกับสมัยอยุธยาคือแบ่งชนชั้นในสังคมออกเป็น4 ประเภทคือ
61.1 ชนชั้นเจ้านาย
61.2 ชนชั้นขุนนาง
61.3
ชนชั้นไพร่
61.4
ชนชั้นทาส
- ชนชั้นเจ้านาย หมายถึง ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์ แต่มิได้หมายความว่าผู้ที่สืบเชื้อสายมาจาก
พระมหากษัตริย์ทุกคนจะเป็นเจ้านายหมด ลูกหลานของพระมหากษัตริย์จะถูกลดสกุลลงตามลำดับและภายใน
5 ชั่วคนลูกหลานเจ้านายก็จะกลายเป็นสามัญชน ชนชั้นหม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวงก็เหมือนสามัญชน
- ราชสกุลยศของเจ้านายจะลดลงตามลำดับ ภายใน 5 ชั่วคนดังนี้ คือ
63.1 เจ้าฟ้า
63.2 พระองค์เจ้า
63.3 หม่อมเจ้า
63.4 หม่อมราชวงศ์
63.5 หม่อมหลวง
- ชนชั้นเจ้าฟ้าคือ โอรส ธิดาของพระมหากษัตริย์ที่เกิดจากอัครมเหสี
- ชนชั้นพระองค์เจ้าคือ โอรส ธิดาของพระมหากษัตริย์ที่เกิดจากสนม หรือ โอรส ธิดาของเจ้าฟ้า
- ชนชั้นหม่อมเจ้าคือ โอรส ธิดาของพระองค์เจ้า
- ชนชั้นหม่อมราชวงศ์คือ โอรส ธิดาของหม่อมเจ้า
- ชนชั้นหม่อมหลวงคือ โอรส ธิดาของหม่อมราชวงศ์
- การเฉลิมพระเกียรติและการตอบแทนเจ้านายที่ได้ทำความดีความชอบในราชการ พระมหากษัตริย์จะทรง
แต่งตั้งให้เจ้านายทรงกรม ซึ่งมีการเรียงลำดับขั้นเหมือนกับยศของขุนนาง 5 ขั้นดังนี้
69.1
กรมพระยา
69.2 กรมพระ
69.3 กรมหลวง
69.4
กรมขุน
69.5 กรมหมื่น
- ชนชั้นขุนนาง หมายถึง ข้าราชการ
- ยศศักดิ์ของขุนนางเรียงจากขั้นสูงสุดลงไปมีดังนี้
71.1 สมเด็จเจ้าพระยา
71.2 เจ้าพระยา
71.3 พระยา
71.4 พระ
71.5 หลวง
71.6
ขุน
71.7 หมื่น
71.8
พัน
71.9 ทนาย
- ในประวัติศาสตร์ไทยเคยมีผู้ทำความดีความชอบทางราชการได้เลื่อนตำแหน่งเป็นสมเด็จเจ้าพระยา 4 คนคือ
72.1 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ( ทองด้วง ) ในสมัยกรุงธนบุรี
72.2 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (พระยาศรีพิพัฒน์ ทัด บุนนาค ) ในสมัยรัชกาลที่ 4
72.3 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ( เจ้าพระยาพระคลัง ดิศ บุนนาค ) ในสมัยรัชกาลที่ 4
72.4 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ( เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ช่วง บุนนาค) ในสมัยรัชกาลที่ 5
- สิทธิพิเศษของขุนนาง คือ ไม่โดนเกณฑ์แรงงานและสิทธินี้ครอบคลุมไปถึงผู้เป็นลูกด้วย
- ขุนนางที่มีศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไปมีสิทธิแต่งตั้งทนายว่าความให้ในศาล ได้เข้าเฝ้าและมีสิทิ์มีไพร่
อยู่ในสังกัด
- สักเลก หรือสักเลข หมายถึง การที่ชายฉกรรจ์หรือสามัญชนจะต้องเข้าสังกัดเจ้านายหรือขุนนางคนใด
คนหนึ่งซึ่งเรียกว่ามูลนาย หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมรายงานตัวสังกัดมูลนายจะมีโทษและไม่ได้รับการคุ้มครอง
จากกฎหมาย เช่น ไม่มีสิทธิ์ในที่ดิน จะฟ้องร้องไม่ได้ เป็นต้น
|