หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
 
สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  1. รัชกาลที่ 4 มีพระนามเดิมว่า   เจ้าฟ้ามงกุฎ     เป็นโอรสของ   รัชกาลที่  2    กับ
      สมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี     เมื่อขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า
      พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ  พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    
  2. รัชกาลที่ 4 ประสูติเมื่อ 18 ตุลาคม  พ.ศ. 2347   ขึ้นครองราชย์เมื่อ  4 เมษายน  2394  ขณะมีพระชนมายุ 
    47  พรรษา ทรงอยู่ในราชสมบัตินาน  17  ปี ก็สวรรคตเมื่อ 1 ตุลาคม  2411 รวมพระชนมายุ 65  พรรษา
  3. พระบาทสมเด็พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า     เจ้าฟ้าจุฑามณี   เป็นโอรสของ
      รัชกาลที่  2    กับ   สมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
  4. ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าฟ้าจุฑามณี ได้รับการสถาปนาบรรดาศักดิ์เป็น    เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ 
    ต่อมาในสมัยรัขกาลที่ 4  ได้เป็นวังหน้าทรงมีพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศร์มหิศเรศรังสรรค์   พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว   
  5. ประเพณีถวายฎีกาแต่ก่อนนี้มีการปฏิบัติดังนี้คือผู้ที่จะถวายฎีการ้องทุกข์จะต้องถูกเฆี่ยนก่อน 30   ครั้งและ
    ต้องไปตีกลองชื่อ  วินัจฉัยเภรี      ต่อมา  ในสมัยรัชกาลที่ 4   ได้โปรดให้ยกเลิกวิธีนี้เสีย
  6. ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เปลี่ยนวิธีการถวายฎีการ้องทุกข์โดยกำหนดให้ พระองค์ท่านเสด็จออกรับฎีการ้องทุกข์           ของราษฎร     ด้วยพระองค์เองทุกวัน    โกน   รวมเดือนละ        4     ครั้ง
  7. ในสมัยรัชกาลที่ 4 นี้ได้โปรดให้ตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวังมีชื่อว่า  โรงอักษรพิมพการ
  8. ในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ของทางราชการ พิมพ์ออกมาในรูป   หนังสือพิมพ์แถลงข่าว      ของทางราชการ
    รัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานนามว่า     “ราชกิจจานุเบกษา”     
  9. ศาลคดีต่างประเทศ ใช้สำหรับว่าความกรณี คนไทยเป็นจำเลย โดยมีข้อพิพาทกับคนในบังคับของ
    ชาวต่างชาติ 
  10. ศาลกงสุล ใช้สำหรับว่าความกรณี   มีเรื่องพิพาทกันระหว่างคนไทยกับคนในบังคับของชาวต่างชาติ
         ถ้าเป็นความอาญาและคนในบังคับของชาวต่างชาติเป็นจำเลย ศาลกงสุลของชาตินั้นจะพิจารณาเอง 
  11. ฝรั่งชาติแรกที่รัฐบาลไทยได้จ้างมาฝึกทหารเป็นชาว   อังกฤษ  มีชื่อว่า    ร้อยเอก อิมเปย์.
  12. การฝึกทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรป หรือ ที่เรียกว่า    ทหารเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง 
    ฝึกขึ้นมาครั้งแรกเพื่อ   ให้เป็นทหารประจำพระองค์
  13. ชาวตะวันตกที่เข้ามาฝึกทหารรักษาพระองค์ ให้กับวังหน้า เป็นชาว    อังกฤษ 
    มีชื่อว่า ร้อยเอก โทมัส  ยอร์ช  นอกซ์      การฝึก คำบอกแถว ยศ  ใช้ภาษาอังกฤษ    แม้แต่เพลงถวาย
    ความเคารพพระเจ้าอยู่หัว ก็ใช้เพลง    GOD  SAVE  THE  KING    
  14. ในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ได้จ้างนายทหารฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ    ลามาช    เข้ามาเป็นครูฝึกทหาร
  15. ตำรวจพระนครบาล  ได้ออกปฏิบัติหน้าที่ครั้งแรก บริเวณ          ท้องตลาดสำเพ็ง    
  16.  อัครมหาเสนาบดีสมุหพระกลาโหมในสมัยรัชกาลที่ 4 คือ ..  เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ..  (  ช่วง  บุนนาค   )
    มีความชำนาญในการต่อเรือกำปั่นมากและยังทำหน้าที่บังคับบัญชา    เรือกลไฟหลวง     ซึ่งจัดขึ้นเป็นกรม
    เรียกว่า     กรมอรสุมพล            ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกองทัพเรือในปัจจุบัน
  17. เรือรบกลไฟลำแรกของเมืองไทยซึ่งต่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 คือ    เรือสยามอรสุมพล  
  18. ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการตั้งโรงกระสาปณ์ โดยได้สั่งเครื่องจักรมาจากเมือง   เบอร์มิ่งแฮม 
    ประเทศ     อังกฤษ     เพื่อทำการผลิต    เหรียญกระกาปณ์    
  19. เงินเหรียญ ที่ผลิตในสมัยรัชกาลที่ 4  ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า     “ เงินแป”  
  20. ถนนสายแรกที่สร้างขึ้นมีชื่อว่า     ถนนเจิรญกรุง    หรือ    ถนนใหม่    ฝรั่งเรียกว่า     NEW  ROAD
    ต่อมามีการสร้างถนนเพิ่มขึ้นอีก เช่น   ถนนบำรุงเมือง    เฟื่องนคร    สีลม     และพระรามสี่ 
  21. การคมนาคมทางน้ำมีการขุดคลอง  ผดุงกรุงเกษม คลอง  . หัวลำโพง     ใช้สัญจรในพระนคร
    ส่วนคลองที่ใช้ติดต่อกับหัวเมืองได้แก่     คลองมหาสวัสดิ์        คลองเจดีย์บูชา  คลองภาษีเจริญ        คลองดำเนินสะดวก      
  22. การจัดระเบียบการปกครองสงฆ์ ตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 3 แบ่งออกเป็น 4 คณะคือ 
    22.1  คณะเหนือ 
    22.2
    คณะใต้ 
    22.3 คณะกลาง 
    22.4 คณะอรัญวาสี  
  23. พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ให้ขึ้นอยู่กับคณะ                  กลาง           
  24. พระสงฆ์ที่อยู่ในคณะกลาง อยู่ในความดูแลของ     กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส      ซึ่งเป็นอธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนธ์วิมลมัลคลาราม
  25. วัดที่รัชกาลที่ 4 ทรงให้เป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายคือวัดราชประดิษฐ์สถิตย์มหาสีมาราม.
  26. วัดประจำรัชกาลที่ 4 คือ    วัดราชประดิษฐ์สถิตย์มหาสีมาราม.   
  27. พระเจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งรัชกาลที่ 3 ได้สร้างค้างไว้ รัชกาลที่ 4 ได้ทรงสร้างต่อจนเสร็จแล้วพระราชทานนามว่า
      “บรมบรรพต”  แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า   ภูเขาทอง  ตั้งอยู่ที่วัด สระเกศราชวรมหาวิหาร
  28. พระพุทธรูปที่รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างและจำลอง ที่สำคัญได้แก่ 
    28.1  พระสัมพุทธพรรณี    
    28.2 พระนิรันตราย
    28.3 พระพุทธสิหิงค์จำลองซึ่งหล่อเป็นพระประธานในวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
    แล้วพระราชทานนามว่า     พระพุทธสิหังคปฏิมากร   อีกองค์หนึ่งได้จำลองไปไว้ที่ซุ้มจรนำ พระปฐมเจดีย์องค์หนึ่ง ขนานนามว่า      “พระสิหิงค์”   
  29. หัวหน้าสมณฑูตที่นำพระไตรปิฎกไปคืนยังลังกา ( ยืมมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ) คือ    พระอโนมศิริมุนี 
  30. รัชกาลที่ 4 ทรงอุปถัมภ์ศาสนาต่าง ๆ เช่นสร้างวัด   อุภัยราชบำรุง   ให้พระญวนฝ่ายลัทธิมหายาน
  31. รัชกาลที่ 4 ทรงแต่งตั้งให้       เซอร์ยอห์น เบาว์ริ่ง    เป็นอัครราชฑูตผู้มีอำนาจเต็มที่
    ของ ประเทศไทยประจำยุโรปเป็นคนแรก ซึ่งต่อมาได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น    พระยาสยามานุกูลกิจสยามมิตรมหายศ      
  32. ลักษณะธงชาติในสมัยรัชกาลที่ 4 มีลักษณะดังนี้คือ   มีรูปช้างเผือกยืนอยู่กลางผืนธงสีแดง  
  33. ธงประจำรัชกาลที่ 4 มีชื่อว่า     ธงมหามงกุฎ   ส่วนธงประจำรัฐบาลไทยคือ    ธงไอยราพต 
  34. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ประชาชนนิยมเรียกว่า    “ตรา”  ดาราเครื่องต้น
    ( สำหรับพระองค์เอง ) มีลักษณะดังนี้คือ  ทำตามลายพระราชลัญจกรไอยราพต
  35. เครื่องราชอิสริยาภรณ์       “ดารานพรัตน์”        เป็นต้นเค้าของเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตน์ราชวราภรณ์
  36. เครื่องราชอิสริยาภรณ์        “ดาราช้างเผือก”      เป็นต้นเค้าของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกในปัจจุบัน
  37. หม่อมราโชทัย ( ม.ร.ว. กระต่าย  อิศรางกูร ) ได้แต่งวรรณกรรมไว้ได้แก่ 
    37.1นิราศลอนดอน
    37.2 จดหมายเหตุเรื่องราชทูตไทยไปเมืองลอนดอน 
  38. วรรณกรรมเรื่อง           นิราศลอนดอน                 เป็นวรรณกรรมเรื่องแรกที่มีการซื้อขายลิขสิทธ์กัน
    โดย         หมอบรัดเลย์           ได้ซื้อลิขสิทธ์จากผู้แต่งไปพิมพ์ ในราคา  400  บาท
  39. พระยาอิศรานุภาพ ( อ้น ) แต่งเรื่อง      พระสุธนคำฉันท์    และ       อุเทนคำฉันท์
  40. หลวงจักรปราณี ( ฤกษ์ )  แต่งเรื่อง 
    40.1 นิราศพระปฐม
    40.2 นิราศทวารวดี
    40.3 นิราศพระปถวี
  41. หม่อมเจ้าอิศรญาณ แต่งเรื่อง             เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ           หรือที่เรียกกันว่า ภาษิตอิศรญาณ
  42. ด้านจิตรกรรมฝาผนัง ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีพระภิกษุชื่อ     ขรัวอินโข่ง         สามารถเขียนภาพสามมิติได้
  43. จิตรกรไทยคนแรกที่สามารถเขียนภาพเหมือนได้คือ     ขรัวอินโข่ง     ภาพที่เขียนคือพระบรมฉายาลักษณ์
    ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ      กทม.
  44. รัชกาลที่ 4 ได้โปรดให้   พระยามนตรีสุริยวงศ์  ( ชุ่ม   บุนนาค )     เป็นอัครราชฑูตอัญเชิญพระราชสาส์น
    และเครื่องราชบรรณาการ ไปถวาย     สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย  ณ ประเทศอังกฤษ  เมื่อ พ.ศ.  2400
  45. เมื่อ พ.ศ. 2404 ได้โปรดให้                พระยาศรีพิพัฒน์  ( แพ  บุนนาค )               เป็นอัครราชฑูต
    ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ                          พระเจ้านโปเลียน                              แห่งฝรั่งเศส
  46. สงครามที่ไทยทำกับพม่า มีครั้งเดียวคือศึก     ตีเชียงตุง            และเป็นครั้งสุดท้ายระหว่างไทยกับพม่า
  47. ไทยทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับชาติ                          อังกฤษ                     เป็นชาติแรก
  48. สนธิสัญญาเบาว์ริ่งมีผลต่อการค้าดังนี้
    48.1     ยกเลิกการผูกขาดสินค้า ยกเลิกพระคลังสินค้า 
    48.2     เปิดการค้าแบบเสรี
    48.3     ยกเลิกภาษีปากเรือ  เก็บภาษีขาเข้าได้เพียงร้อยชัก 3
    48.4     พ่อค้าสามารถนำสินค้า เข้ามาขายและนำออก ได้ทุกชนิด (อาวุธขายให้รัฐ  ฝิ่นขายให้เจ้าภาษี)
  49. ชาวอังกฤษที่เข้ามาทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งคือ  Sir  John  Bowring  เซอร์จอห์น  เบาวริ่ง
  50. สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง  ไทยทำกับชาวอังกฤษในสมัย   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  51. สนธิสัญญาเบาว์ริ่งมีใจความสำคัญดังนี้
    51.1 ประเทศไทยและอังกฤษจะมีสันติภาพไมตรีที่ดีต่อกัน
    51.2 ฝ่ายไทยยอมให้อังกฤษตั้งกงสุลเข้ามาประจำในกรุงเทพฯ
    51.3 อนุญาตให้คนในบังคับอังกฤษอยู่อาศัยเป็นการประจำและถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยภายในเขตจำกัดได้
    51.4 ภาษีเบิกร่องหรือค่าปากเรือที่เคยเก็บมาแต่ก่อนให้ยกเลิกและให้เก็บภาษีขาเข้าแทนในอัตราร้อยละ 3
    51.5 ให้คนในบังคับของอังกฤษมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาโดยเต็มที่
    51.6 คนในบังคับของอังกฤษที่ประสงค์จะเข้ามาอยู่ในประเทศไทยจะต้องไปลงชื่อไว้  ณ สถานกงสุล
    อังกฤษที่กรุงเทพฯ
    51.7 สิทธิพิเศษต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลไทยให้แก่ชาติอื่น  จะต้องให้แก่อังกฤษด้วย
    51.8 สนธิสัญญานี้จะบอกเลิกไม่ได้ คือไม่มีกำหนดระยะเวลา จะแก้ไข้ต้องได้รับการยินยอมทั้งสองฝ่าย
  52. ชาติแรกที่ยอมยกเลิกสนธิสัญญาเบาว์ริ่งคือ   สหรัฐอเมริกา
  53. ไทยสามารถยกเลิกสนธิสัญญาเบาว์ริ่งได้ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่  6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  54. ผลดีของการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งมีดังนี้
    54.1     ทำให้ไทยสามารถรักษาเอกราชไว้ได้
    54.2     ฝรั่งรู้จักไทยมากขึ้นเป็นการรับรองเอกราชของไทย
    54.3     เป็นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ มีการค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น
    54.4     ได้รับวิทยาการอารยธรรมตะวันตก
  55. ผลเสียของการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งมีดังนี้
    55.1     เรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
    55.2     เรื่องภาษี ถูกจำกัดให้เก็บภาษีขาเข้าได้เพียง ร้อยชัก 3
    55.3     เรื่องกำหนดระยะเวลา  ไม่มีการกำหนดเวลาของสัญญา 
    55.4   เรื่องการผูกขาดสินค้า  ทำให้ทางการขาดรายได้
  56. ไทยสามารถยกเลิกสนธิสัญญาเบาว์ริ่งได้ทั้งหมดในสมัย  รัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
  57. สิทธิสภาพนอกอาณาเขต หมายถึง       การที่ชาวต่างประเทศและคนในบังคับของชาวต่างประเทศทำผิดใน   
       ประเทศไทยแล้วไม่ต้องขึ้นศาลไทย 
     
Copyright By Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khongteay Khongteay Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
                                                                 
http://www.sainampeung.ac.th