หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
เกี่ยวกับผู้ทำ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
ศาสนา จริยธรรม
หน้าที่พลเมือง
เศรษฐศาสตร์
ประวัติศาสตร์
ภูมิศาสตร์
แบบฝึกหัด
สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า
ทับ
เป็นโอรสของ
รัชกาลที่ 2
กับ
เจ้าจอมมารดาเรียม
ซึ่งต่อมา ร. 3 ได้โปรดสถาปนาขึ้นเป็น
สมเด็จกรมพระศรีสุลาลัย
รัชกาลที่ 3 ประสูติเมื่อ .
31
. เดือน
มีนาคม
พ.ศ.
2330
ขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.
2367
ขณะที่มีพระชนมายุได้
37
พรรษา ครองราชย์นาน
27
ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่
2
เดือน เมษายน 2394
รวมพระชนมายุได้
64
พรรษา มีโอรสและธิดา
51
พระองค์
การเก็บภาษีอากรค่านาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้เก็บเป็น
เงิน
โดยคิดในอัตราไร่ละ
1 สลึง
และเก็บค่าขนส่งเข้าฉางหลวงในอัตราไร่ละ
1 เฟื้อง
ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการตั้งภาษีอากรขึ้นใหม่ ได้แก่
บ่อนเบี้ยจีน หวย ก. ข. อากรฝาง อากรไม้แดง
อากรเกลือ ภาษีเบ็เสร็จ ฯลฯ
ภาษีเบ็ดเสร็จ ในสมัยรัชกาลที่ 3 หมายถึง
อากรที่เก็บจากของที่นำลงเรือสำเภาไปขาย
ระบบเจ้าภาษีนายอากร หมายถึง
การประมูลการเก็บภาษีอากรแทนรัฐบาล ผู้ใดประมูลได้ก็ได้เป็นเจ้าภาษี นายอากรทำหน้าที่เก็บภาษีแทนรัฐบาล
เจ้าภาษีนายอากร ส่วนใหญ่เป็นชาว
จีน
ภาษีอากร ที่ยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้แก่
8.1 ภาษีฝิ่น
8.2 อากรค่าน้ำ
8.3 อากรรักษาเกาะ
อากรค่าน้ำ หมายถึง
ภาษีที่เก็บจากชาวประมง
อากรรักษาเกาะ หมายถึง
ภาษีที่เก็บจากผู้เก็บไข่จาระเม็ดหรือฟองเต่าตนุ
ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการเปลี่ยนเรือสำเภาที่ใช้ในการค้าขายมาเป็นเรือ
กำปั่นใบ
ซึ่งคนไทยได้สร้างตามแบบฝรั่งผู้ที่สร้างเรือดังกล่าวคือ
หลวงนายสิทธิ์ (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงสศ์)
ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการสร้างวัดวาอารามอย่างมโหฬาร จนมีคำพังเพย กล่าวกันว่า
ถ้าใครใจบุญสร้างวัดวาอารามก็เป็นคนโปรด
พระอารามที่สร้างขึ้นใหม่ ในสมัยรัชกาลที่ 3 มี 3 วัดที่สำคัญคือ
13.1 วัดเฉลิมพระเกียรติ
สร้างให้
สมเด็จกรมพระศรีสุลาลัย ( แม่ )
13.2 วัดเทพธิดา
สร้างให้
พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ( ลูก )
13.3 วัดราชนัดดาราม
สร้างให้
พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี (หลาน )
วัดที่ถือกันว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3 คือ
วัดราชโอรสาราม
เดิมชื่อวัด
จอมทอง
วัดที่ถือกันว่า เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยคือ
วัดพระเชตุพนวิมลมัลคลาราม ( วัดโพธิ์ )
ผู้ที่ให้กำเนิดพระพุทธศาสนา ธรรมยุติกนิกาย คือ
เจ้าฟ้ามงกุฎ
โดยได้รับแบบอย่างมาจาก พระมอญรูปหนึ่ง มีนามฉายาว่า
พระพุทธวังโส
ชื่อ
ซาย
พระพุทธศาสนา ธรรมยุติกนิกาย กำเนิดขึ้นครั้งแรกที่วัด
ราชาธิวาส ( วัดสมอราย )
กงสุลประจำประเทศไทยครั้งแรกที่เป็นชาวอเมริกัน คือ
สติเฟน แมตตูน ( หมอมะตูน )
บุคคลแรกที่คิดประดิษฐ์ ตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรกคือ
ร้อยเอกเจมส์โลว์ และหมดจัดสัน
การพิมพ์หนังสือของทางราชการครั้งแรกที่รัฐบาลจ้างโรงพิมพ์หมอบลัดเลย์พิมพ์คือ
ประกาศห้ามสูบฝิ่น
หนังสือพิทพ์ฉบับแรกในประเทศไทยที่พิมพ์เป็นภาษาไทย มีชื่อว่า
บางกอกรีคอเดอร์
ผู้ที่นำการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยครั้งแรกคือ
หมอบรัดเลย์
ผู้ที่ริเริ่มการผ่าตัด โดยการใช้ยาสลบครั้งแรกในประเทศไทยคือ
หมอเฮาส์
ผู้บัญชาการหมอหลวงในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่มีความรอบรู้ในวิชาการแพทย์แผนโบราณของไทยเป็นอย่างดี
แล้วได้ไปศึกษาตำรายาแผนใหม่ของฝรั่งและวิธีการตรวจรักษาโรคตามวิธีแผนปัจจุบัน จนได้รับประกาศ
นียบัตร ถวายเป็นพระเกียรติยศ จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา คนไทยที่กล่าวมานี้คือ
กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
ผู้ที่เรียนรู้วิชาการเดินเรือ วิชาดาราศาสตร์เดินเรือจนสามารถตั้งโรงเครื่องจักรและต่อเรือกลไฟได้เป็นครั้งแรก
ของเมืองไทยคือ
เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ( พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว )
ผู้ที่ริเริ่มตั้งโรงเรียน ซึ่งนับเป็นการจัดการศึกษาแผนใหม่ในประเทศไทยครั้งแรกคือ
แหม่มมะตูน
โรงเรียนราษฎร์แห่งแรกในประเทศไทยคือ
โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
โรงเรียนสตรีแห่งแรกคือ
โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง
ตั้งอยู่บริเวณ
โรงพยาบาลศิริราช
ในปัจจุบัน
ผู้ก่อตั้งโรงเรียนกุลสตรีวังหลังคือ
แห่มโคล
โรงเรียนนี้ในปัจจุบันได้ย้ายมาอยู่ที่
ถนน สุขุมวิท 19 แล้วใช้ชื่อโรงเรียนว่า
โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
วรรณกรรมเรื่องแรกที่พิมพ์ออกจำหน่ายคือ
พระอภัยมณี
บทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชนิพนธ์ไว้ที่สำคัญ คือ
31.1 เสภาขุนช้างขุนแผน
31.2 โคลงปราบดาภิเษก
31.3 สังข์ศิลป์ชัย
สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้พระนิพนธ์วรรณกรรมไว้ที่สำคัญคือ
32.1 ลิลิตตะเลงพ่าย
32.2 สมุทรโฆษคำฉันท์
32.3 ปฐมสมโพธิกถา
ผู้ที่มีความสามารถในการแต่งและเล่นสักวาในสมัยรัชกาลที่ 3 - 5 คือ
คุณพุ่ม
มีสมญานามอีกอย่างหนึ่งว่า
บุษบาท่าเรือจ้าง
ในสมัยรัชกาลที่ 5 คุณพุ่มได้แต่งวรรณกรรมไว้เรื่องหนึ่งคือ
เพลงยาวเฉลิมพระเกียรติ
ผู้ที่แต่งบทละครเรื่องระเด่นลันได คือ
พระมหามนตรี ( ทรัพย์ )
Copyright By
Chalengsak Chuaorrawan
Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khongteay Khongteay Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th
http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak