หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
 
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย
  1. รัชกาลที่ 2 มีพระนามเดิมว่า ฉิม เป็นโอรสของ รัชกาลที่ 1 กับ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
  2. ผู้ที่ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
  3. ผู้ที่กำกับราชการกรมพระคลังในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
  4. ในสมัยรัชกาลที่ 2 โปรดให้กรมหมื่นพิพิธภูเบนทร ทรงกำกับราชการกรมนครบาล ( กรมเวียง )
  5. ในสมัยรัชกาลที่ 2 โปรดให้กรมหมื่นเทพพลภัคดีและกรมหมื่นรักษ์รณเรศทรงกำกับกรม คชบาล
  6. ในสมัยรัชกาลที่ 2 ผู้ที่กำกับราชการกรมกลาโหมคือ กรมหมื่นศักดิพลเสพ
  7. ในสมัยรัชกาลที่ 2 เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ทรงกำกับราชการกรม มหาดไทย ( สมุหนายก )
  8. ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีเรือกำปั่นหลวง ที่ใช้สำหรับค้าขายกับต่างประเทศ อยู่ 2 ลำ คือ เหราข้ามสมุทร และ มาลาพระนคร
  9. ผู้ที่ได้รับสมญานามว่า “เจ้าสัว” คือ    กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
  10. สินค้าผูกขาดในสมัยรัชกาลที่ 2 มี 10 ชนิดด้วยกันคือ รังนก ฝาง ดีบุก พริกไทย
    เนื้อไม้ ผลเร่ว ตะกั่ว งาช้าง ช้าง รง
  11. สินค้าที่ห้ามส่งขายออกนอกประเทศในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ     ข้าวเปลือก ข้าวสาร
  12. การเดินสวน หมายถึง    การแต่งเจ้าพนักงานออกไปสำรวจสวนของราษฎรเพื่อประโยชน์ ในการเรียกเก็บภาษีอากรค่าสวนหรืออากรสวน
  13. อากรสวน ในสมัยรัชกาลที่ 2 มี 3 ประเภท คือ อากรสวนใหญ่ พลากร อากรสมพักสร
  14. อากรสวนใหญ่ เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากราษฏรที่ปลูกพืชผล 7 ชนิดดังนี้คือ   ทุเรียน มังคุด
    มะม่วง มะปราง ลางสาด หมาก พลูค้างทองหลาง
  15. อากรสวนใหญ่ หรือบางครั้งเรียกว่า     อากรใหญ่     หรือ    ไม้อากร
  16. พลากร หมายถึงภาษีที่เก็บจากราษฏรที่ปลูกพืชผล 8 ชนิดดังนี้ คือ ขนุน สะท้อน เงาะ ส้มต่าง ๆ มะไฟ ฝรั่ง สาเก และสับปะรด
  17. อากรสมพัตสร หมายถึง   ภาษีอากรที่เก็บจากไม้ล้มลุก เช่นกล้วย อ้อย
  18. หางข้าว ในสมัยรัชกาลที่ 2 หมายถึง     ภาษีอากรที่เก็บเป็นข้าวเปลือก
  19. อากรค่านา ในสมัยรัชกาลที่ 2 มี 2 ประเภท คือ    นาคู่โค นาฟางลอย
  20. ในสมัยรัชกาลที่ 2 ชาวนาจะต้องเสียอากร โดยรัฐบาลเก็บค่าภาคหลวงในอัตรา ไร่ละสองสัดครึ่ง
  21. นาน้ำท่า หรือบางครั้งเรียกว่า นาคู่โค
  22. เมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จขึ้นเสวยราชย์สมบัติได้เพียง 2 เดือนพม่าได้ยกทัพมาตีหัวเมือง ปักษ์ใต้ ของไทยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดให้ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ยกทัพไปปราบ
  23. เมื่อพม่าเกิดกรณีพิพาทกับอังกฤษ พม่าไม่ต้องการมีศึกสองทาง จึงส่ง สุริยนันทสุร เข้ามาทำไมตรีกับไทยผ่านทางพระยากาญจนบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 2
  24. พระเจ้าญาลองแห่งเวียดนาม ได้มีพระราชสาส์นมาของเมือง บันทายมาศ จากไทย ซึ่งเมืองนี้ ญวนเรียกว่าเมือง ฮาเตียน รัชกาลที่ 2 ต้องยอมยกให้เพราะเห็นว่าเป็นการยากที่ไทยจะรักษาไว้
  25. ในสมัยรัชกาลที่ 2 กษัตริย์ของกัมพูชา คือ สมเด็จพระอุทัยราชา ไม่ซื่อตรงต่อไทยหันไปฝักใฝ่กับญวน
    ยิ่งขึ้นอันเนื่องมาจาก
    25.1 เมื่อคราวที่พระอุทัยราชาเข้าเฝ้ารัชกาลที่ 1 โดยพลการจึงถูกบริภาษติเตียน
    ทำให้พระอุทัยราชาได้รับความอัปยศจึงคิดร้ายอาฆาตไทย
    25.2 เมื่อพระอุทัยราชากลับไปเขมรแล้วเกิดวิวาทกับ พระยาเดโช ( เม็ง ) พระยาเดโชหนีมาไทย
    สมเด็จพระอุทัยราชามีศุภอักษรเข้ามากราบทูลขอตัวพระยาเดโช ( เม็ง )
    แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ไม่พระราชทานให้ สมเด็จพระอุทัยราชาจึงไม่พอใจ
    25.3 สมเด็จพระอุทัยราชา ได้มีศุภอักษรเข้ามาขอ นักองค์อี และ นักองค์เภา ซึ่งเป็นป้าแต่
    พระพุทธยอดฟ้าฯ ไม่ทรงอนุญาต เนื่องจากสตรีทั้งสองเป็นพระสนมของ
    กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทซึ่งขณะนั้นมีพระเจ้าลูกเธออยู่ด้วยไม่สมควรให้แม่ลูกต้องพรากจากกัน
  26. เมื่อรัชกาลที่ 1 สวรรคต พระอุทัยราชาไม่ยอมเข้ามาช่วยงานพระบรมศพ ตามธรรมเนียมของประเทศราช
    คงแต่ให้ นักองค์สงวน ( พระมหาอุปโยราช ) และ นักองค์อิ่ม ( พระมหาอุปราช ) เข้ามาแทน
  27. เมื่อต้นรัชกาลที่ 2 ไทยได้ทราบข่าวศึกพม่าจะยกทัพมาตี ไทยได้มีศุภอักษรไปยังกัมพูชาให้พระอุทัยราชา
    ยกทัพมาช่วย แต่พระอุทัยราชานิ่งเฉยเสีย ขุนนางเขมรที่จัดการทัพมาช่วยไทย คือ พระยาจักรี ( แบน )
    และ พระยากลาโหม ( เมือง )
    พระอุทัยราชาทราบเข้า ก็ให้ฆ่าขุนนางผู้ใหญ่ทั้งสองเสีย
  28. เมื่อพม่ายกทัพมาตีถลาง ปี 2352 พระยาไทรบุรี ( ปะแงรัน ) ได้ช่วยไทยรบ และสามารถตีเมืองเประมาเป็นเมืองขึ้นของไทยได้ ( ปี 2355 ) ไทยจึงตั้งให้เป็นเจ้าพระยาไทรบุรี
  29. ทางอังกฤษ ( ผู้สำเร็จราชการอินเดีย ) ได้ส่ง    ยอห์น ครอว์เฟิด เป็นทูตเข้ามาเจริญ
    พระราชไมตรีกับรัชกาลที่ 2 โดยมีจุดประสงค์เพื่อ
    29.1 เพื่อขยายการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออก ....
    29.2 แก้ปัญหาเมืองไทรบุรี ..
    29.3 ทำแผนที่รายงานเกี่ยวกับ ประชากร พืช สัตว์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  30. ชาวโปรตุเกส ชื่อ คาร์ลอส มานูเอล ซิลเวียรา ได้พระราชทานยศจาก ร. 2 เป็น หลวงอภัยวาณิช
  31. ชาวอเมริกัน ชื่อ กัปตันแฮน ได้พระราชทานยศจาก ร. 2 เป็น หลวงภัคดีราช
  32. พระชาวลังการูปหนึ่ง ชื่อ   พระสาสนวงศ์   ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและต้นโพธิ์ลังกา
    เข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
  33. รัชกาลที่ 2 ได้ส่งสมณฑูต ไปลังกา 9 รูป มี    พระอาจารย์ดี และ พระอาจารย์เทพ
    เป็นหัวหน้าคณะ เมื่อกลับมาพระอาจารย์ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระคัมภีรปรีชาคือ พระอาจารย์ดี
    และพระอาจารย์ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระปัญญาวิสารเถร คือ พระอาจารย์เทพ
  34. เมื่อคณะสมณฑูตที่ไปลังกากลับมาแล้วได้นำพระศรีมหาโพธิ์มา 6 ต้น นำไปปลูกไว้ที่ กลันตันหนึ่งต้น
    ไปปลูกไว้ที่ ....... นครศรีธรรมราช ...... 2 ต้น และปลูกไว้ที่กรุงเทพ ฯ 3 ต้น โดยปลูกไว้ที่
    34.1 วัดสุทัศน์เทพวราราม     
    34.2 วัดสระเกศ      
    34.3 วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์
  35. ประเพณีอันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่มีการฟื้นฟูในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ พิธีวิสาขบูชา
  36. พระพุทธรูปที่ได้มาจากนครจำปาศักดิ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ พระพุทธบุษยรัตน์ พระพุทธรูปองค์นี้
    ทำด้วยแก้วผลึก ชนิดที่ช่างเรียกกันว่า “เพชรน้ำค้าง ” หรือ ”บุษย์น้ำขาว ”
  37. รัชกาลที่ 2 พระราชนิพนธ์ บทละคร 7 เรื่องคือ อิเหนา รามเกียรติ์ ไชยเชษฐ์
    ไกรทอง คาวี มณีพิชัย สังข์ทอง
  38. พระราชนิพนธ์บทพากย์โขนของรัชกาลที่ 2 ได้แก่
    38.1 นางลอย
    38.2 นาคบาศ
    38.3พรหมมาสตร์
  39. พระราชนิพนธ์บทละครของรัชกาลที่ 2 ที่ “วรรณคดีสโมสร” ยกย่องให้เป็นยอดของบทละครรำ คือ อิเหนา
  40. สุนทรภู่ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีบรรดาศักดิ์เป็น ขุนสุนทรโวหาร
  41. วรรณกรรมเรื่องเอกของสุนทรภู่ คือ พระอภัยมณี
  42. สุนทรภู่ ได้แต่งนิทานคำกลอนไว้หลายเรื่องได้แก่
    42.1 โคบุตร
    42.2 ลักษณวงศ์
    42.3 สิงหไตรภพ
    42.4 พระไชนสุริยา
    42.5 พระอภัยมณี
  43. สุนทรภู่ได้แต่งนิราศไว้หลายเรื่องได้แก่
    43.1 นิราศเมืองแกลง
    43.2 นิราศพระบาท
    43.3 นิราศภูเขาทอง
    43.4 นิราศเมืองสุพรรณ
    43.5 นิราศวัดเจ้าฟ้า
    43.6 นิราศอิเหนา
    43.7 นิราศเมืองเพชรบุรี
    43.8 นิราศพระประธม
  44. นิราศที่สุนทรภู่แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ คือ นิราศเมืองสุพรรณ
  45. สุนทรภู่แต่งบทเสภาไว้ 2 เรื่อง คือ
    45.1 ขุนช้างขุนแผนตอนกำเหนิดพลายงาม
    45.2 พระราชพงศาวดาร
  46. สุภาษิตที่สุนทรภู่แต่งไว้ 3 เรื่อง คือ
    46.1สวัสดิรักษา
    46.2 สุภาษิตสอนหญิง
    46.3 เพลงยาวถวายโอวาท
  47. นายนรินทร์ธิเบศร์ ( อินทร์ ) แต่งวรรณกรรมเรื่อง โคลงนิราศนรินทร์
  48. พระยาตรัง ได้แต่งวรรณกรรมไว้หลายเรื่องได้แก่
    48.1 โคลงนิราศถลาง
    48.2 โคลงกระทู้เบ็ดเตล็ด
    48.3 โคลงดั้นนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อย
    48.4 โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติ
  49. ผู้ที่เป็นแม่กองจัดการสร้างสวนขวาในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
  50. หุ่นไทยของหลวงที่เป็นฝีพระหัตถ์ของรัชกาลที่ 2 ที่ทรงแกะสลักด้วยไม้รักที่ถือว่างามเลิศ คือ
    หน้าพระใหญ่ หรือที่เรียกกันว่า “พระยารักใหญ่ ” กับหน้าพระน้อยหรือที่เรียกว่า “พระยารักน้อย ”
  51. พระพุทธรูปที่พระพักตร์เป็นฝีพระหัตถ์ของรัชกาลที่ 2 คือ พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก
    ซึ่งเป็นพระประธานประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัด อรุณราชวราราม
  52. บทละครนอกที่แต่งเพิ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 มี 6 เรื่องคือ สังข์ทอง ไกรทอง คาวี มณีพิชัย ไชยเชษฐ์ สังข์ศิลป์ชัย
  53. บทละครนอกที่แต่งเพิ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 ส่วนใหญ่เป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ
    หล้านภาลัย มีอยู่เรื่องหนึ่งที่แต่งโดย กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ คือ สังข์ศิลป์ชัย
  54. เครื่องดนตรีที่รัชกาลที่ 2 ทรงถนัดและโปรดปรานมากคือ ซอสามสาย
    และทรงสร้างไว้เป็นของคู่พระหัตถ์ ทรงพระราชทานนามว่า “ซอสายฟ้าฟาด ”
  55. รัชกาลที่ 2 พระราชนิพนธ์เพลงไทยเดิมไว้เพลงหนึ่งซึ่งนักดนตรีไทยรู้จักกันดีคือเพลง บุหลันลอยเลื่อน หรือ “บุหลันลอยฟ้า ” หรือ บางครั้งเรียกว่า “เพลงสรรเสริญพระจันทร์ ”ต่อมาได้เรียกกันแพร่หลายโดยทั่วไปว่า “เพลงทรงพระสุบิน”
  56. เจ้าฟ้าองค์ที่ รัชกาลที่ 2 ทรงมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ เสมือนผู้สำเร็จราชการ
    คือ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี
  57. ธงที่ใช้บนเรือหลวงในสมัยรัชกาลที่ 2 มีลักษณะดังนี้คือ รูปช้างสีขาวยืนอยู่ในวงจักรสีขาวติดไว้กลาง ผืนธงสีแดง ซึ่งหมายความว่า เป็นเรือของพระเจ้าช้างเผือก ( รัชกาลที่ 2 )
  58. ธงของเรือราษฎรที่ทำการค้ามีลักษณะดังนี้คือ ผืนธงสีแดง
  59. พระราชพิธีอาพาธพินาศ จัดทำขึ้นเพื่อ ปลุกปลอบขวัญราษฎรในการต่อสู้กับโรคอหิวาห์
  60. การแก้ไขปัญหาโรค อหิวาตกโรค ระบาดในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ ตั้งโรงทาน ประกอบพิธีอาพาธพินาศ
  61. พระพุทธรูปที่สำคัญที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้แก่
    61.1 พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก  เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม
    61.2 พระพุทธอนันตคุณ อดุลยญาณบพิตร เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดราชโอรสาราม
Copyright By Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khongteay Khongteay Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
                                                                 
http://www.sainampeung.ac.th