หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
 
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
  1. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีพระนามเดิมว่า ด้วง เป็นบุตรของ นายทองดี(หลวงพินิจอักษร)
         นางดาวเรือง
  2. ลำดับยศของรัชกาลที่ 1 ที่ได้รับเรียงลำดับดังนี้
         2.1 มหาดเล็ก
         2.2 หลวงยกบัตร
         2.3 พระราชวรินทร์ 
         2.4 พระยาอภันรณฤทธิ์   
         2.5 พระยายมราช     
         2.6 เจ้าพระยาจักรี
         2.7 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
      จากนั้นได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์  ทรงพระนามว่า
          สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี
  3. บริเวณที่ตั้งราชธานีของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เดิมเป็นที่อยู่ของ     ชาวจีน          จากนั้นได้
    อพยพประชากรเหล่านั้นไปอาศัยอยู่ท
    ี่      คลองวัดสามปลื้มไปจนถึงคลองวัดสามเพ็ง   ( สำเพ็ง )
  4. วัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก        โปรดให้สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวัง     คือ
       วัดพระศรีรัตนศาสดาราม   
  5. เมื่อรัชกาลที่ 1 ได้สร้างราชธานีแล้ว ได้อัญเชิญพระแก้วมรกรตมาประดิษฐานที่วัด พระศรีรัตนศาสดาราม
    และพระราชทานนามพระแก้วมรกรตว่า    พระพุทธมหามณีรัตนศาสดาราม  
  6. การสร้างราชธานีใหม่ใช้เวลานาน      3 ปี          แล้วได้พระราชทานนามพระนครแห่งใหม่ว่า
      กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา  มหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์  อุดมราช
              นิเวศน์มหาสถาน  อมรพิมานอวตารสถิต  สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์  
  7. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนชื่อจาก      “บวรรัตนโกสินทร์”       มาเป็น   อมรรัตนโกสินทร์     
  8. ในสมัยรัชกาลที่ 1 ผู้ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช จะดำรงพระยศเป็น   สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล  หรือที่เรียกว่า    วังหน้า     
  9. ผู้ที่ดำรงตำแหน่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในสมัยรัชกาลที่ 1 คือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
    และ     กรมพระราชวังบวรมหาอิศรสุนทร     หลังจาก กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท    ทิวงคตแล้ว
  10. ตำแหน่ง  วังหลัง  ในสมัยรัชกาลที่ 1 ดำรงพระยศเป็น     กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข    
  11. ตำแหน่ง สมุหพระกลาโหม มียศและราชทินนามว่า   เจ้าพระยามหาเสนา      และมีตราประจำ
    ตำแหน่งคือ ....  คชสีห์  ...... มีอำนาจหน้าที่    บังคับบัญชาดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้   
  12. ตำแหน่ง สมุหนายก  มียศและราชทินนามว่า           เจ้าพระยาจักรี     . และมีตราประจำ
    ตำแหน่งคือ ราชสีห์  มีอำนาจหน้าที่     บังคับบัญชาดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ    
  13. ตราประจำตำแหน่ง จัตุสดมภ์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีดังนี้
    13.1 นครบาล  ใช้ตรา    พระยมทรงสิงห์  
    13.2 ธรรมาธิกรณ์  ใช้ตรา เทพยดาทรงพระนนทิการ
    13.3 โกษาธิบดี ใช้ตรา . บัวแก้ว    
    13.4 เกษตราธิการ  ใช้ตรา พระพิรุณทรงนาค 
  14. หน่วยงานที่รับผิดชอบควบคุมหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออกของไทยคือ กรมพระคลัง ( กรมท่า. )
  15. หัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออกของไทยมี 9 เมือง คือ    นนทบุรี     สมุทรปราการ   สมุทรสาคร
    สมุทรสงคราม     ชลบุรี     บางละมุง     ระยอง      จันทบุรี      ตราด   
  16. เมืองที่จัดว่าเป็นเมืองชั้นเอกในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ 
    16.1 พิษณุโลก   
    16.2 นครราชสีมา 
    16.3 นครศรีธรรมราช 
    16.4  ถลาง  
    16.5  สงขลา      
  17. ประเทศราชในสมัยรัชกาลที่ 1 ประกอบด้วย  
    17.1 ลานนา  ( เชียงใหม่ )
    17.2 ลาว ( ล้านช้าง )
    17.3 เขมร   ( กัมพูชา ) 
    17.4 หัวเมืองมลายู 
  18. ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 หรือที่เราเรียกกันว่า     กฎหมายตราสามดวง     
  19. กฎหมายตราสามดวง ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีการประทับตราสามดวง  ได้แก่  
    19.1.   คชสีห์   
    19.2    ราชสีห์    
    19.3    บัวแก้ว  
  20.  กฎหมายตราสามดวง  ได้มีการคัดลอกไว้สามชุด  แล้วนำไปเก็บไว้ที่  
    20.1   ห้องเครื่อง    
    20.2   หอหลวง      
    20.3   ศาลหลวง    
  21. วิธีการสอบสวนผู้ต้องหาที่มีพิรุธโดยวิธีการทารุณต่าง ๆ เราเรียกว่า.     จารีตนครบาล   
  22. สงครามครั้งใหญ่ที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 1 คือ    สงครามเก้าทัพ   
  23. ทัพหลวงของพม่าในสงคราม 9 ทัพ ได้ทำสงครามต่อสู้และพ่ายแพ้แก่ไทยบริเวณ ทุ่งลาดหญ้า จ. กาญจนบุรี
  24. ในสงคราม 9 ทัพ ได้เกิดวีรสตรี ของไทย 2 ท่านคือ 
    24.1   ท้าวเทพสตรี       นามเดิมว่า     จัน
    24.2 ท้าวศรีสุนทร         นามเดิมว่า     มุก
  25. อนุสาวรีย์ท้าวเทพสตรี และท้าวศรีสุนทร ตั้งอยู่ที่ อำเภอ      ถลาง          จังหวัด     ภูเก็ต 
  26. การทำการสังคายนาพระไตรปิฎก ในสมัยรัชกาลที่ 1 กระทำกันที่วัด      วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์  หรือ
     วัดพระศรีสรรเพชญ์ หรือวัดนิพพานาราม หรือ วัดสลัก
  27. เมื่อชำระพระไตรปิฎกเสร็จแล้วเรียกว่า       พระไตรปิฎกฉบับทอง        แล้วนำไปประดิษฐานไว้
    ณ   หอมณเฑียรธรรม  วัด พระศรีรัตนศาสดาราม จังหวัด กรุงเทพมหานคร
  28. เมื่อชำระพระไตรปิฎกเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้โปรดให้คัดลอกไว้อีก 2 ชุด คือ 
    28.1 ฉบบับรองทรง    หรือ  ฉบับข้างลาย 
    28.2 ฉบับทองชุบ
  29. วัดประจำรัชกาลที่ 1 คือ     วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม    ( วัดโพธื์ )  
  30. การค้าขายในสมัยรัชกาลที่ 1 จัดเป็นการค้าแบบ   ผูกขาด  โดยทางราชการได้ตั้ง พระคลังสินค้า ซึ่งขึ้นอยู่ในสังกัด        กรมท่า            เพื่อทำหน้าที่ในการค้าขายโดยตรง
  31. สินค้าต้องห้าม หมายถึง    สินค้าที่ต้องนำมาขายให้กับพระคลังสินค้าเท่านั้น     
  32. สินค้าต้องห้าม ได้แก่       ดีบุก      งาช้าง     กฤษณา       ฝาง       รังนก 
  33. สินค้าที่ห้ามขายออกนอกพระราชอาณาจักร โดยเด็ดขาด  ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่   ดินประสิว   
    กำมะถัน     อาวุธปืน       กระสุนปืน    
  34. เวลามีเรือสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาค้าขายในราชอาณาจักร สมัยรัชกาลที่  1   จะมีพนักงานลงไปตรวจดู
    สินค้าในเรือซึ่งเรียกว่า   การเหยียบหัวตะเภา       
  35. พระคลังสินค้าจะให้พนักงานไป เหยียบหัวตะเภา เพื่อ      คัดเลือกสินค้าที่รัฐบาลต้องการเอาไว้ก่อน     เหลือจากที่ทางการไม่ต้องการแล้วจึงนำไปจำหน่ายให้กับประชาชนได้   
  36. ภาษีอากร ที่รัฐเรียกเก็บ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมี   4  ประเภทดังนี้
    36.1 จกอบ     หมายถึง   ภาษีผ่านด่านเรียกเก็บจากผู้นำสินค้าเข้ามาขาย
    36.2 อากร      หมายถึง   ภาษีที่เก็บจากราษฎรที่ประกอบอาชีพทุกชนิดยกเว้นการค้าขาย   
    36.3 ฤชา       หมายถึง    ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากราษฎรที่ใช้บริการของรัฐเช่นการออกโฉนดที่ดิน.
    36.4 ส่วย       หมายถึง     เงิน - สิ่งของที่เก็บแทนการเกณฑ์แรงงานของราษฎรที่ต้องเข้าเวร 
  37. ให้นักเรียนบอกความหมาย ของรายได้แผ่นดิน ที่รัฐบาลเรียกเก็บ ต่อไปนี้
    37.1 ค่าไถ่โทษ คือ เงินที่เก็บจากผู้ต้องโทษ ถูกจำคุกแล้วต้องการเป็นอิสระหลุดพ้นจากโทษ ก็จ่ายเงินให้กับรัฐบาล แทนการถูกลงโทษ
    37.2 ค่าปรับไหม คือ เงินที่ศาลเรียกเก็บจากผู้ต้องหาหรือคู่ความฐานละเมิดกฎหมาย ซึ่งบัญญัติไว้ให้ผู้กระทำผิด
    37.3 ค่าภาคหลวง คือ ส่วนแบ่งมรดกของข้าราชการผู้มรบรรดาศักดิ์ ที่ถึงแก่กรรม เมื่อชำระหนี้แล้ว ส่วนที่เหลือจะเข้าคลังส่วนหนึ่งและเป็นของทายาทส่วนหนึ่ง   
    37.4 ค่าผูกปี้  คือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากชายชาวจีน ผู้ที่เสียเงินให้กับรัฐแล้ว  เจ้าหน้าที่จะเอาเชือกที่มีตราครั่งผูกที่ข้อมือซ้าย  คนที่ไม่มีเชือกผูกที่ข้อมือก็ต้องถูกเกณฑ์แรงงานตามระเบียบ
    37.5
    เกณฑ์เฉลี่ย คือ เกณฑ์แรงงาน การเกณฑ์เงินหรือ เกณฑ์สิ่งของจากราษฎร เป็นครั้งคราว ที่ทางราชการต้องการ
    37.6 เครื่องราชบรรณาการ คือ สิ่งของที่ประเทศราชนำมาถวายพระมหากษัตริย์
    37.7 พัทธยา  ทรัพย์สินรวมทั้งผู้คนและบ่าวไพร่ของผู้กระทำผิดและถูกลงโทษด้วยการยึดทรัพย์เข้าหลวง
    37.8 ทรัพย์สินรวมทั้งผู้คนและบ่าวไพร่ของผู้กระทำผิดและถูกลงโทษด้วยการยึดทรัพย์เข้าหลวง เรียกว่า  พัทธยาหรือเรียกว่า  ริบราชบาตรร
  38. เงินตราที่ใช้กันในสมัยรัชกาลที่ 1 ทำเป็นเงิน        เงินพดด้วง       หรือที่เรียกกันว่า     เงินกลม 
  39. ตราที่ใช้ประทับลงในเงินที่ใช้ในสมัยรัชกาลที่ 1  ใช้ตรา อุณาโลม    และ   จักร 
  40. ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จาก              จังหวัด   เชียงใหม่    มาประดิษฐานไว้     ณ  พระที่นั่งพุทไธสวรรย์    ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ        จังหวัด กรุงเทพมหานคร
  41. ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้อัญเชิญ พระศรีศากยมุนี จาก    วัดมหาธาตุ   จังหวัด    สุโขทัย    
    มาประดิษฐาน  ณ  วิหารหลวง    วัดสุทัศน์เทพวราราม  จังหวัด  กรุงเทพมหานคร
  42. พระเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ ภายในบรรจุพระพุทธรูปนามว่า   “พระศรีสรรเพชญ์”   
    ซึ่งถือกันว่า เจดีย์องค์นี้ เป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่  1    
  43. ขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีการฟื้นฟูขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1  ได้แก่  
    43.1 พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 
    43.2 พระราชพิธีโสกันต์ 
    43.3 การเล่นสักวา 
  44. ประเพณีการเล่นสักวาในสมัยรัชกาลที่ 1 จัดให้มีการเล่นกันที่      คลองมหานาค   
  45. ประเพณีการโล้ชิงช้า  หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า   พระราชพิธีตรียัมพวาย    
  46. ประเพณีการโล้ชิงช้า  จะกระทำกันบริเวณ     เสาชิงช้า   วัดสุทัศน์เทพวราราม
  47. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้พระราชนิพนธ์  วรรณกรรมไว้ได้แก่
    47.1 คำกลอนบทละครเรื่องรามเกียรติ์
    47.2 คำกลอนบทละครเรื่องอิเหนา
    47.3 คำกลอนบทละครเรื่องอุณรุท
    47.4 กลอนเพลงยาวนิราศเรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง
    47.5 พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม )
  48. เจ้าพระยาพระคลัง ( หน ) ในสมัยรัชกาลที่ 1 มียศและราชธินนามในสมัยกรุงธนบุรีว่า      หลวงสรวิชิต  ( หน )
    ด้ประพันธ์วรรณกรรมไว้ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ 
    48.1    สามก๊ก           
    48.2    ราชาธิราช
    48.3    บทมโหรีเรื่องกากี
    48.4    ร่ายยาวมหาชาติกัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี
    48.5    ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง
  49. พระยาธรรมปรีชา ( แก้ว ) ได้ประพันธ์วรรณกรรมไว้ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่
    49.1  ไตรภูมิโลกวินิจฉัย
    49.2   รัตนพมพวงศ์ ( แปล )   
    49.3   มหาวงศ์  ( แปล )
  50. พระเทพโมลี ( กลิ่น ) ได้ประพันธ์วรรณกรรมไว้ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ 
    50.1    ร่ายยาวกัณฑ์มหาพน
    50.2    นิราศตลาดเกรียบ
    50.3    โคลงกระทู้เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ
  51. สมเด็จพระพนรัตน์ หรือวันรัตน์ ได้ประพันธ์วรรณกรรมไว้ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่        
    51.1     สังคีติยวงศ
    51.2     มหายุทธการวงศ์
    51.3    จุลยุทธการวงศ์
  52. วรรณกรรม ของพระยาพระคลัง ( หน ) ที่แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพล้วนนำด้วยร่ายสุภาพเพียงบทเดียวเท่านั้นคือเรื่อง
     ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง
  53. วรรณกรรมเรื่อง        ราชาธิราช                        ของพระยาพระคลัง ( หน ) ที่แปลจากภาษามอญเป็นไทย
  54. วรรณกรรมเรื่อง        สามก๊ก                         ของพระยาพระคลัง ( หน ) ที่ได้รับการยกย่องในสมัยโบราณ
    ว่าเป็นตำหรับพิชัยสงครามและนักปราชญ์ลงความเห็นกันว่าเป็นยอดในกระบวนความเรียงร้อยแก้วที่เป็นนิทาน
  55. นิราศเรื่องแรกในสมัยรัตนโกสินทร์คือเรื่อง  รบพม่าที่ท่าดินแดง
  56. ผู้แต่งนิราศเรื่องแรกในสมัยรัตนโกสินทร์คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
  57. บทละครเรื่องอิเหนาใหญ่หรือที่เรียกว่า               ดาหลัง          
  58. บทละครเรื่องอิเหนาเล็ก หรือที่เรียกว่า               อิเหนา
  59. คำกลอนบทละครเรื่องรามเกียรติ์ที่แต่งโดย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
    เป็นรามเกียรติ์ฉบับเดียวที่เป็นภาษาไทย ที่ดำเนินเนื้อเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบบริบูรณ์
  60. รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดี ที่คนไทยได้รับอิทธิพลมาจากเรื่อง รามายณะ Ramayana ของอินเดีย
  61. วรรณกรรมเรื่อง        ราชาธิราช                   ในสมัยรัชกาลที่ 1 ที่กล่าวถึงการสู่รบระหว่างพม่ากับมอญ

ให้นักเรียนนำคำต่อไปนี้ ไปเขียนลงใน ตารางด้านล่าง

ทองดี  ทองอิน  ทองด้วง  หยก  นาก บุญมา  ฉิม  จัน  มุก พระพิรุณทรงนาค เทพยดาทรงโค  พระยมทรงสิงห์ บัวแก้ว  คชสีห์  ราชสีห์  พระธรรมศาสตร์  พระราชศาสตร์  จารีตนครบาล   กฎหมายตราสามดวง  เมืองชั้นเอก  เมืองชั้นจัตวา    เมืองประเทศราช  นายอำเภอ  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน 

ข้อ

รายการ

คำตอบ

1

หลวงพินิจอักษร

ทองดี

2

นางดาวเรือง

หยก

3

สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี

ทองด้วง

4

สมเด็จพระอมรินทราบรมราชชนนี

นาก

5

กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท

บุญมา

6

กรมพระราชวังบวรมหาอิศรสุนทร

ฉิม

7

กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข

ทองอิน

8

ท้าวเทพสตรี

จัน

9

ท้าวศรีสุนทร

มุก

10

สมุหกลาโหม

คชสีห์

11

สมุหนายก

ราชสีห์

12

นครบาล

พระยมทรงสิงห์

13

ธรรมาธิกรณ์

เทพยดาทรงโค

14

โกษาธิบดี

บัวแก้ว

15

เกษตราธิการ

พระพิรุณทรงนาค

16

ล้านนา ลาว  เขมร  หัวเมืองมลายู

เมืองประเทศราช 

17

พิษณุโลก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช  ถลาง  สงขลา

เมืองชั้นเอก 

18

หัวเมืองชั้นใน

เมืองชั้นจัตวา

19

บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิหน้าที่ของบุคคลทั้งทางแพ่งและอาญา

พระธรรมศาสตร์ 

20

ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1

กฎหมายตราสามดวง 

21

การสอบสวนด้วยการทรมาน

จารีตนครบาล  

22

สาขาคดี

พระราชศาสตร์

23

หมื่น

นายอำเภอ

24

พัน

กำนัน

25

ทนาย

ผู้ใหญ่บ้าน

ให้นักเรียนนำคำต่อไปนี้ ไปเขียนลงใน ตารางด้านล่าง
เหยียบหัวตะเภา  ชื่อเรือสำเภาหลวง  พัทธยา  ภาษีเบิกร่อง  จังกอบ  ฤชา  ส่วย  อากร  สินค้าต้องห้าม  กรมท่า  หัวเมืองฝ่ายใต้   หัวเมืองเหนือและอิสาน  พระยาจุฬาราชมนตรี  พระยาโชฎึกราชเศรษฐี  เมืองประเทศราช

ข้อ

รายการ

คำตอบ

1

อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก

หัวเมืองเหนือและอิสาน 

2

อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม

หัวเมืองฝ่ายใต้  

3

หน่วยงานทีรับผิดชอบติดต่อการค้ากับต่างประเทศ

กรมท่า

4

ขุนนางที่ทำหน้าที่ติดต่อค้าขายกับชาวจีน

พระยาโชฎึกราชเศรษฐี 

5

ขุนนางที่ทำหน้าที่ติดต่อค้าขายกับแขก อินเดีย มลายู ชวา

พระยาจุฬาราชมนตรี 

6

เชียงใหม่ จำปาศักดิ์ เวียงจันทน์ หลวงพระบาง กัมพูชา

เมืองประเทศราช

7

หางข้าว

อากร

8

สิ่งของที่ใช้แทนแรงงานของไพร่ที่ไม่ต้องเข้าเดือน

ส่วย

9

พนักงานลงไปตรวจดูสินค้าในเรือเพื่อคัดเลือกสินค้า

เหยียบหัวตะเภา 

10

หูสง  และ  ทรงพระราชสาส์น

ชื่อเรือสำเภาหลวง 

11

การเก็บเงินโดยวัดจากความกว้างของปากเรือ

ภาษีเบิกร่อง

12

เงินพินัย

ฤชา

13

การเก็บภาษีโดยการตั้งด่านขนอน

จังกอบ

14

ดินประสิว  กำมะถัน

สินค้าต้องห้าม

15

ริบราชบาตร

พัทธยา

ให้นักเรียนนำคำต่อไปนี้ ไปเขียนลงใน ตารางด้านล่าง  คำหนึ่งคำสามารถนำไปเขียนได้มากกว่าหนึ่งครั้ง
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  วัดสุทัศน์เทพวราราม  วัดสุวรรรณดาราราม  วัดโพธิ์

ข้อ

รายการ

คำตอบ

1

การสังคายนาพระไตรปิฎก

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ 

2

สถานที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 

3

สถานที่ประดิษฐานพระศรีศากยมุนี

วัดสุทัศน์เทพวราราม 

4

พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ

วัดโพธิ์

5

วัดประจำราชวงศ์จักรี

วัดสุวรรรณดาราราม 

6

วัดประจำรัชกาลที่ 1

วัดโพธิ์

7

พระโลกนาถ

วัดโพธิ์

8

พระพุทธเทวปฏิมากร

วัดโพธิ์

9

สร้างเลียนแบบวัดพนัญเชิง

วัดสุทัศน์เทพวราราม 

10

สร้างเลียนแบบวัดพระศรีสรรเพชญ

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 

ให้นักเรียนนำรายชื่อกวีต่อไปนี้ เขียนลงในตาราง ทางซ้ายมือ ให้ตรงกับวรรณกรรมที่แต่ง

  1. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 
  2. เจ้าพระยาพระคลัง ( หน ) 
  3. พระธรรมปรีชา ( แก้ว )
  4. พระเทพโมลี ( กลิ่น )
  5. สมเด็จพระพนรัตน์ หรือ วันรัตน์
  6. พระยาวิเชียรปรีชา ( น้อย )

ข้อ

รายการ

คำตอบ

1

คำกลอนบทละครเรื่องรามเกียรติ์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

2

คำกลอนบทละครเรื่องอิเหนา

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

3

คำกลอนบทละครเรื่องอุณรุท

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

4

กลอนเพลงยาวนิราศเรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

5

พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม )

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

6

แปลและเรียบเรียงพงศาวดารจีนเรื่อง สามก๊ก

เจ้าพระยาพระคลัง ( หน )

7

แปลและเรียบเรียง จากภาษามอญเรื่องราชาธิราช

เจ้าพระยาพระคลัง ( หน )

8

บทมโหรีเรื่องกากี

เจ้าพระยาพระคลัง ( หน )

9

ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง

เจ้าพระยาพระคลัง ( หน )

10

ร่ายยาวมหาชาติกัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี

เจ้าพระยาพระคลัง ( หน )

11

ไตรภูมิโลกวินิจฉัย

พระธรรมปรีชา ( แก้ว )

12

รัตนพิมพวงศ์ ( แปล )

พระธรรมปรีชา ( แก้ว )

13

มหาวงศ์ ( แปล )

พระธรรมปรีชา ( แก้ว )

14

ร่ายยาวมหาชาติกัณฑ์มหาพนธ์

พระเทพโมลี ( กลิ่น )

15

นิราศตลาดเกรียบ

พระเทพโมลี ( กลิ่น )

16

โคลงกระทู้เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ

พระเทพโมลี ( กลิ่น )

17

สังคีติยวงศ์

สมเด็จพระพนรัตน์ หรือ วันรัตน์

18

มหายุทธการวงศ์

สมเด็จพระพนรัตน์ หรือ วันรัตน์

19

จุลยุทธการวงศ์

สมเด็จพระพนรัตน์ หรือ วันรัตน์

20

พงศาวดารเหนือ

พระยาวิเชียรปรีชา ( น้อย )

ให้นักเรียนนำคำต่อไปนี้ ไปเขียนลงใน ตารางด้านล่าง

ประเทศ / ชาติ

   เขมร         ญวน        พม่า         อังกฤษ           โปรตุเกส       ไทย

บุคคล

ฟรานซีสไลท์  อันโตนิโอเดอวีเสนท์  พระยาอภัยภูเบศร์ (แบน ) พระยากลาโหม (ปก)     นักองค์จันทร์   นักองค์เอง  พระมหาช่วย  องเชียงสือ   พระเจ้าปดุง  กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์

ข้อ

รายการ

ประเทศ/ชาติ

บุคคล

1

ไทยทำสงครามเก้าทัพกับ

พม่า

พระเจ้าปดุง 

2

ชาวต่างชาติที่หนีกบฏไกเซินมาพึ่งไทย

ญวน

องเชียงสือ  

3

ชาวตะวันตกที่มาเช่าเกาะหมากจากพระยาไทรบุรี

อังกฤษ

ฟรานซีสไลท์ 

4

รัชกาลที่ 1 ทรงแต่งตั้งให้เป็นพระยาราชกัปตัน

อังกฤษ

ฟรานซีสไลท์ 

5

ชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาค้าขายในสมัยรัตนโกสินทร์

โปรตุเกส

อันโตนิโอเดอวีเสนท์ 

6

คนไทยเรียก  “องตนวีเสน”

โปรตุเกส

อันโตนิโอเดอวีเสนท์ 

7

รัชกาลที่ 1 โปรดให้ไปครองเมืองพระตะบอง เสียมราฐ

เขมร

พระยาอภัยภูเบศร์(แบน)   

8

รัชกาลที่ 1 แต่งตั้งให้เป็นสมเด็จพระอุทัยราชา

เขมร

นักองค์จันทร์  

9

รัชกาลที่ 1 แต่งตั้งให้เป็นพระนารายณ์รามาธิบดี ฯ

เขมร

นักองค์เอง 

10

พระเจ้าญาลองกาวว่างเด้

ญวน

องเชียงสือ

11

รัชกาลที่ 1 แต่งตั้งให้เป็นพระยาทุขราษฎร์

ไทย

พระมหาช่วย 

12

ไทยเรียกชื่อสัญชาติว่า “แขกเมืองฝารังปตุกัน”

โปรตุเกส

อันโตนิโอเดอวีเสนท์ 

13

รัชกาลที่ 1 แต่งตั้งให้เป็นฟ้าทะละหะ พี่เลี้ยงนักองค์เอง

เขมร

พระยากลาโหม ( ปก )    

14

ปี 2332-2334 เจ้าเมืองปัตตานีชวนใครให้มาตีกรุงเทพฯ

ญวน

องเชียงสือ

15

รัชกาลที่ 1 แต่งตั้งให้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข

ไทย

กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์


Copyright By Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khongteay Khongteay Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
                                                                 
http://www.sainampeung.ac.th