หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
เกี่ยวกับผู้ทำ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
ศาสนา จริยธรรม
หน้าที่พลเมือง
เศรษฐศาสตร์
ประวัติศาสตร์
ภูมิศาสตร์
แบบฝึกหัด
สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ชนชั้นปกครองในสมัยอยุธยาประกอบด้วย
1.1 กษัตริย์ และเจ้านาย
1.2 ขุนนาง
ชนชั้นใต้ปกครองในสมัยอยุธยาประกอบด้วย
2.1 ไพร่
2.2 ทาส
ประชาชนส่วนใหญ่ในสมัยอยุธยาอยู่ในชนชั้น
ไพร่
และ
ทาส
แต่เดิมเมืองหลวงที่พระเจ้าอู่ทองปกครองตั้งอยู่ที่เมือง
อู่ทอง
จากนั้นได้ย้ายไปอยูที่
เวียงเหล็ก
ต่อมาจึงย้ายมาอยู่ที่
หนองโสน
แล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า
กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา
พระมหากษัตริย์ที่ปกครองสมัยอยุธยามี 5 ราชวงศ์ คือ
5.1 อู่ทอง
5.2 สุพรรณภูมิ
5.3 สุโขทัย
5.4 ปราสาททอง
5.5 บ้านพลูหลวง
การปกครองส่วนกลางในสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นการจัดการปกครองแบบ จัตุสดมภ์
การปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยอยุธยาตอนต้น มีการแบ่งหัวเมืองออกเป็น 4 ประเภท คือ
7.1 เมืองหน้าด่าน
7.2 หัวเมืองชั้นใน
7.3 หัวเมืองชั้นนอก
7.4 ประเทศราช
จัตุสดมภ์ ประกอบด้วย
8.1. กรมเวียง 8.2. กรมวัง 8.3. กรมคลัง 8.4. กรมนา
ในสมัยอยุธยามีการปกครองส่วนกลางโดยแบ่งออกเป็นฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนในสมัย
พระบรมไตรโลกนาถ
ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีการเปลื่ยนชื่อตำแหน่งในจัตุสดมภ์ ดังนี้
10.1 กรมเวียง เป็น พระนครบาล
10.2 กรมวัง เป็น ธรรมาธิการณ์
10.3 กรมคลัง เป็น โกษาธิบดี
10.4 กรมนา เป็น เกษตราธิการ
การปกครองในสมัยอยุธยา ผู้มีหน้าที่ดูแลกิจการฝ่ายทหารทั้งหมดเรียกว่า
สมุหกลาโหม
โดยอยู่ในตำแหน่ง
อัครมหาเสนาบดี
ผู้มีหน้าที่ดูแลกิจการฝ่ายพลเรือนทั้งหมด เรียกว่า
สมุหนายก
โดยมีตำแหน่งเป็น
อัครมหาเสนาบดี
หน่วยงานจัตุสดมภ์ ขึ้นตรงต่อหน่วยงานฝ่าย
มหาดไทย ( สมุหนายก )
หัวเมืองประเทศราช ในสมัยอยุธยาตอนปลายประกอบด้วย
13.1 เขมร
13.2 ไทรบุรี
13.3 ปัตตานี
ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีการจัดหัวเมืองในส่วนภูมิภาคออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
14.1 หัวเมืองชั้นใน
14.2 หัวเมืองชั้นนอก
14.3 หัวเมืองประเทศราช
อาณาจักรอยุธยาเริ่มก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช
1893
และสิ้นสุดเมื่อ
2310
รวมระยะเวลา
417
ปี มีพระมหากษัตริย์รวมทั้งสิ้น
33 - 34
พระองค์
อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเคยเสียเอกราชให้แก่พม่า 2 ครั้ง คือ
16.1 ครั้งที่ 1 ในสมัย สมเด็จพระมหินทราธิราช
16.2 ครั้งที่ 2 ในสมัย สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ หรือ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
กษัตริย์พม่าที่ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 1 คือ
พระเจ้าบุเรงนอง
พระมหากษัตริย์ ผู้ที่กอบกู้เอกราชหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 คือ
สมเด็จรพะนเรศวรมหาราช
กษัตริย์พม่าที่ส่งแม่ทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 คือ
พระเจ้ามังระ
พระมหากษัตริย์ ผู้ที่กอบกู้เอกราชหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 คือ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงพระนามว่า
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ( เอกทัศน์ )
แม่ทัพพม่าสองคนที่ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 คือ
เนเมียวสีหบดี และ มังมหานรธา
แม่ทัพพม่าสองคนที่พระเจ้ามังระให้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 โดยให้
เนเมียวสีหบดี
เป็นแม่ทัพยกมาตีไทยทางเหนือ เรื่อยลงมาถึงอยุธยา และให้
มังมหานรธา
เป็นแม่ทัพยกมาตีไทยทางใต้ขึ้นมาถึงอยุธยา
แม่ทัพพม่าสองคนที่พระเจ้ามังระให้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 แม่ทัพที่เสียชีวิตคือ
มังมหานรธา
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 มียศเป็น
พระยาวชิรปราการ
ซึ่งจะดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง
กำแพงเพชร
หลังจากที่พม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 แล้ว พม่าได้แต่งตั้งให้
สุกี้พระนายกอง
เป็นแม่ทัพใหญ่ดูแลรักษากรุงศรีอยุธยา โดยคุมไพร่พลอยู่ที่
ค่ายโพธิ์สามต้น
คนไทยที่พม่าแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ดูแลเมืองธนบุรีหลังจากตีกรุงศรีอยุธยาได้แล้ว คือ
นายทองอิน
ขณะที่พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาตากเห็นว่า ไม่สามารถป้องกันรักษาพระนครไว้ได้ จึงตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมาทางทิศ
ตะวันออก
โดยผ่านจังหวัด
นครนายก
ปราจีณบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี
ระยอง
แล้วไปตั้งมั่นอยู่ที่จังหวัด
จันทบุรี
ขณะที่พระยาตากตีฝ่าวงล้อมพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาออกมา ได้ถูกพม่าออกตามตี 3 ครั้ง คือ
29.1 บ้านโพธิ์สังหาร
อยู่ในเขตจังหวัด
อยุธยา
29.2 บ้านพรานนก
อยู่ในเขตจังหวัด
นครนายก
29.3 ทุ่งดงศรีมหาโพธิ์
อยู่ในเขตจังหวัด
ปราจีณบุรี
หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่ 2 แล้ว อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาได้แตกออกเป็น 5 ชุมนุม คือ
30.1
ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก
โดยมีหัวหน้า คือ
เจ้าพระยาพิษณุโลก ( เรือง )
มีศูนย์กลางอยู่ที่
เมืองพิษณุโลก
มีอาณาเขตตั้งแต่
เมืองพิชัย (อุตรดิษถ์) ครอบคลุม เมืองสุโขทัยบางส่วนของ ตาก กำแพงเพชร
พิจิตร เพชรบูรณ์
ลงมาถึง
นครสวรรค์
30.2
ชุมนุมเจ้าพิมาย
โดยมีหัวหน้า คือ
เจ้าพิมาย ( กรมหมื่นเทพพิพิธ )
มีศูนย์กลางอยู่ท
ี่ เมืองพิมาย ในเขตจังหวัด นครราชสีมา
มีอาณาเขตตั้งแต
่ เมืองนครราชสีมาในภาคอิสาน ตลอดจนลำน้ำป่าสักถึงสระบุรีี
30.3
ชุมนุมเจ้านคร
โดยมีหัวหน้า คือ
เจ้านครศรีธรรมราช ( หนู )
มีศูนย์กลางอยู่ท
ี่
เมืองนครศรีธรรมราช มีอาณาเขตตั้งแต่ เมืองชุมพรลงไปทางใต้ ครอบคลุมเมืองสุราษฎร์ธานี ถึง ต่อแดนหัวเมืองมลายู
30.4
ชุมนุมเจ้าพระฝาง
โดยมีหัวหน้า คือ
เจ้าพระฝาง ( เรือน )
มีศูนย์กลางอยู่ที่
เมืองสวางคบุรี อำเภอฝาง จังหวัดอุตรดิษถ์
มีอาณาเขตตั้งแต่
เหนือเมืองพิษณุโลก ขึ้นไปจนถึงเขตแดนลาวและล้านนาไทย
30.5
ชุมนุมพระยาตาก
โดยมีหัวหน้า คือ
พระเจ้าตาก ( สิน )
มีศูนย์กลางอยู่ที่
เมืองจันทบุรี ต่อมาย้ายมาอยู่ที่ ธนบุรี
มีอณาเขตตั้งแต่
หัวเมืองชายทะเล ภาคตะวันออกครอบคลุมเมือง นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราดถึงพรมแดนเขมร
สาเหตุที่พระเจ้าตากสิน ไม่เลือกกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเพราะ
31.1 กรุงศรีอยุธยาทรุดโทรมมาก เป็นการยากที่จะบูรณปฏิสังขรณ์
31.2 พม่าชำนาญเส้นทางในการเดินทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา
31.3 กรุงศรีอยุธยาใหญ่โตเกินกำลังทหารของพระเจ้าตากที่รักษา
31.4 กรุงศรีอยุธยาอยู่ห่างไกลทะเลไม่เหมาะในการติดต่อค้าขาย
สาเหตุที่พระเจ้าตากสิน ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีเพราะ
32.1 กรุงธนบุรีมีป้อมปราการไว้พร้อมแล้วไม่ต้องสร้างใหม่
32.2 กรุงธนบุรีอยู่ใกล้ทะเลเหมาะในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
32.3 กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดย่อมเหมาะกับกำลังทหารของพระเจ้าตากที่รักษา
32.4 ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่สามารถรักษากรุงธนบุรีไว้ได้จริง ๆ ก็สามารถหนีไปตั้งหลักที่จันทบุรีใหม่ได้
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า
สิน
เป็นบุตรของ
นางนกเอี้ยง
กับ
นายไหฮวง แซ่แต้ ( หมง ) หรือ ขุนพัฒน์ เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย
พระยาตากได้ตั้งตนเป็นเจ้า เมื่อตีเมือง
ระยอง
ได้แล้ว
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ เมื่อ
28
เดือน
ธันวาคม
พ.ศ
.
2311
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ แล้วทรงพระนามว่า
สมเด็จพระบรมราชาที่ 4
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี คือ
เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์
หัวเมืองฝ่ายเหนือในสมัยกรุงธนบุรี ขึ้นตรงต่อฝ่าย
อัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน ( สมุหนายก )
หัวเมืองฝ่ายใต้และหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออก ในสมัยกรุงธนบุรี ขึ้นตรงต่อ
กรมพระคลัง ( กรมท่า )
ผู้ปกครองหัวเมืองชั้นใน ในสมัยกรุงธนบุรี เรียกว่า
ผู้รั้ง
หัวเมืองชั้นในจัดเป็นเมืองชั้น
จัตวา
การบังคับบัญชาหัวเมืองชั้นในขึ้นตรงต่อ
เสนาบดีฝ่ายจัตุสดมภ์
หัวเมืองชั้นนอกในสมัยกรุงธนบุรี เรียกอีกอย่างว่า
เมืองพระยามหานคร
หัวเมืองประเทศราชในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่
42.1
นครศรีธรรมราช
42.2
ล้านนา ( เชียงใหม่ )
42.3
เขมร ( กัมพูชา )
42.4
ล้านช้าง ( ลาว )
รูปแบบการปกครองสมัยกรุงธนบุรี แบ่งออกเป็น การปกครองส่วนกลาง ประกอบด้วย
43.1
พระมหากษัตริย์
เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศ
43.2
อัครมหาเสนาบดี
แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายคือ
อัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร (สมุหกลาโหม )
และ
อัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน (สมุหนายก )
หรือ
มหาดไทย
43.3
จตุสดมภ์
มี 4 ตำแหน่ง ได้แก่
43.3.1
นครบาล
( กรมเวียง ) มีหน้าที่
ปกครองท้องที่บังคับบัญชาบ้านเมืองและรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
43.3.2
ธรรมาธิกรณ์
( กรมวัง ) มีหน้าที่
เกี่ยวกับราชสำนัก จัดพิธีต่าง ๆในวัง และพิพากษาพิจารณาคดีความของราษฎร
43.3.3
โกษาธิบดี
( กรมคลัง ) มีหน้าที่
รับจ่ายและเก็บรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้มาจากส่วยอากรบังคับบัญชากรมท่า ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
43.3.4 เกษตราธิการ ( กรมนา ) มีหน้าที่
ดูแลที่นาหลวงเก็บภาษีค่านา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวงและพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือ และที่นา
การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น
44.1
หัวเมืองชั้นใน
จัดเป็นเมืองระดับชั้น
จัตวา
มีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็นผู้ปกครอง เรียกว่า
ผู้รั้ง
หรือ
จ่าเมือง
44.2 หัวเมืองชั้นนอก
กำหนดฐานะเป็นเมืองระดับชั้น
เอก โท ตรี จัตวา
ตามลำดับ
44.3
หัวเมืองประเทศราช
ให้นักเรียนยกตัวอย่างหัวเมืองชั้นใน ในสมัยกรุงธนบุรี
45.1
พระประแดง
45.2
สามโคก ( ปทุมธานี )
45.3
นนทบุรี
หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นเอก ได้แก่
พิษุโลก จันทบูรณ์
หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นโท ได้แก่
สวรรคโลก ระยอง เพชรบูรณ์
หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นตรี ได้แก่
พิจิตร นครสวรรค์
หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นจัตวา ได้แก่
ไชยบาดาล ชลบุรี
พระยาตากสินทรงใช้เวลาในการกอบกู้เอกราชนาน 7 เดือน
พระเจ้าตากสินทรงใช้เวลานาน
3
ปี จึงสามารถปราบชุมนุมต่าง ๆ ได้สำเร็จ
ชุมนุมแรกที่พระเจ้าตากสินยกทัพไปปราบคือ
ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก
ชุมนุมแรกที่พระเจ้าตากสินสามารถปราบได้สำเร็จคือ
ชุมนุมพิมาย
ชุมนุมที่หัวหน้าชุมนุมมีเชื้อสายของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาคือ
ชุมนุมพิมาย
ชุมนุมสุดท้ายที่พระเจ้าตากสินสามารถปราบได้สำเร็จคือ
ชุมนุมเจ้าพระฝาง
ชุมนุมที่พระเจ้าตากสินปราบได้แต่ไม่สามารถจับตัวหัวหน้าชุมนุมได้คือ
ชุมนุมเจ้าพระฝาง
ชุมนุมที่พระเจ้าตากสินยกทัพไปปราบและได้ลูกช้างเผือกของหัวหน้าชุมนุมคือ
ชุมนุมเจ้าพระฝาง.
ชุมนุมที่พระเจ้าตากสินยกทัพไปปราบแต่หัวหน้าชุมนุมกระด้างกระเดื่อง พระเจ้าตากสินจึงสั่งให้ประหารชิวิต คือ
ชุมนุม เจ้าพิมาย
ชุมนุมที่พระเจ้าตากสินยกทัพไปปราบแล้วนำตัวหัวหน้ามารับราชการในกรุงธนบุรีคือ
ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช
หลังจากที่สามารถปราบชุมนุมนครศรีธรรมราชได้แล้วได้โปรดให้
เจ้านราสุริยวงศ์
เป็นเจ้าเมือง
ชุมนุมที่พระเจ้าตากสินยกทัพไปปราบแล้ว ได้นำพระไตรปิฎกมาตรวจทานที่กรุงธนบุรีคือ ชุมนุม
นครศรีธรรมราช
และชุมนุม
เจ้าพระฝาง
ชุมนุมที่พระเจ้าตากสินปราบได้แล้วภายหลังได้โปรดยกฐานะให้เมืองนั้นเป็นประเทศราชคือ
เจ้านครศรีธรรมราช
ทหารคู่ใจหรือแม่ทัพคนสำคัญของพระเจ้าตากสิน 2 คนคือ
63.1
นายบุญมา
63.2
นายทองด้วง
หลังจากที่ปราบชุมนุมพิมายได้สำเร็จ พระราชวรินทร์ ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น
พระยาอภัยรณฤทธิ์
ส่วนพระมหามนตรี ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น
พระยาอนุชิตราชา
นายบุญมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยายมราชเพราะ
พระยายมราชคนก่อนถึงแก่กรรมจึงได้รับการแต่งตั้งแทนเพื่อเป็นแม่ทัพไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง
เมื่อเสร็จศึกในการปราบชุมนุมเจ้าพระฝางแล้วพระยายมราชได้เลื่อนเป็น
เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช
พระยาอภัยรณฤทธิ์ ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยายมราชเพราะ
มีความดีความชอบสามารถติดตามจับตัวเจ้าพระฝางแล้วได้ลูกช้างเผือกของเจ้าพระฝางที่ใช้นั่งหลบหนีมาถวายพระเจ้าตากสิน แต่ไม่สามารถจับตัวเจ้าพระฝางได้เนื่องจากเจ้าพระฝางหนีไปพึ่งพม่าที่เชียงใหม่
นายทองด้วงได้เลื่อนยศเป็น เจ้าพระยาจักรี เพราะ
เจ้าพระยาจักรีคนเดิมถึงแก่กรรม (ได้เป็นเมื่อ ปี 2314)
และต่อมาได้เลื่อนยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ฯ
เพราะ สามารถตีจำปาศักดิ์และเขมรป่าดงได้
ในสมัยกรุงธนบุรีสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ได้ยกทัพไปตีเมือง
เวียงจันทน์
แล้วได้พระพุทธรูปที่สำคัญลงมาด้วย คือ
พระแก้วมรกต และพระบาง
การทำสงครามกกับประเทศลาว ที่สำคัญ 2 ครั้ง คือ
ศึกจัมปาศักดิ์ และ ศึกเวียงจันทน์
พระเจ้าตากสินได้โปรดฯให้เจ้าพระยาจักรี ไปตีเมืองจำปาศักดิ์ เพราะ
เจ้าเมืองนางรองนำดินแดนที่ขึ้นกับนครราชสีมาไปขึ้นตรงต่อจำปาศักดิ์ พระเจ้าตากสินถือว่าเป็นการนำดินแดนไทยไปให้กับลาว
ขณะที่เจ้าพระยาจักรี (ด้วง) ยกทัพไปตีจำปาศักดิ์ ในปี 2319 ผู้ครองนครจำปาศักดิ์ คือ
เจ้าโอ
หลังเสร็จศึกจำปาศักดิ์แล้ว เจ้าพระยาจักรี (ด้วง ) ได้รับบรรดาศักดิ์ราชทินนามว่า
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิลึกมหิมา ทุกนคราระอาเดช นเรศวรราชสุริยวงศ์
พระเจ้าตากสินได้โปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ (ด้วง) และเจ้าพระยาสุรสีห์ ฯ (บุญมา) ยกทัพไปตีเวียงจันทน์ ในปี 2321 เพราะ
เจ้าเมืองเวียงจันทน์ ได้ประหารชีวิต พระวอ ในเขตแดนไทย
พระเจ้าตากสินถือว่ารุกล้ำอธิปไตยของไทย
ขณะที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ (ด้วง) และเจ้าพระยาสุรสีห์ ฯ (บุญมา) ยกทัพไปตีเวียงจันทน์ ในปี 2321 ผู้ครองนครเวียงจันทน์คือ
เจ้าสิริบุญสาร
ขณะที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ (ด้วง) และเจ้าพระยาสุรสีห์ ฯ (บุญมา) ยกทัพไปตีเวียงจันทน์ ในปี 2321 เจ้าร่มขาว ผู้ครองเมือง
หลวงพระบาง
ได้ส่งกองทัพมาช่วยตีเวียงจันทน์ด้วย
ขุนนางเขมรที่เข้ามาขอพึ่งไทยในสมัยกรุงธนบุรี คือ.
พระรามราชา ( นักองค์นนท์ )
เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบเขมรได้ในปี พ.ศ. 2314 แล้วได้แต่งตั้งให้
นักองค์นนท์
ขึ้นเป็นกษัตริย์ และให้
นักองค์ตน
เป็นพระมหาอุปโยราช และให้
นักองค์ธรรม
เป็นอุปราช
ตอนปลายสมัยกรุงธนบุรี ( พ.ศ. 2323 ) ผู้ที่เป็นกษัตริย์เขมร คือ
นักองค์เอง
โดยมี
ฟ้าทะละหะ ( มู )
เป็นผู้สำเร็จราชการ
ประเทศตะวันตกที่เข้ามาทำสัมพันธไมตรีในสมัยกรุงธนบุรีได้แก่
80.1
อังกฤษ
80.2
ฮอลันดา ( เนเธอร์แลนด์ )
80.3
โปรตุเกส
กัปตันฟรานซีส ไลท์ ชาว
อังกฤษ
ได้เข้ามาสร้างสัมพันธไมตรีโดยนำปืนนกสับ มาถวาย 14000 กระบอก
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระราชนิพนธ์ วรรณคดีเรื่อง
รามเกียรติ์
หลวงสรวิชิต ( หน ) ได้ประพันธ์วรรณคดีไว้ 2 เรื่องในสมัยกรุงธนบุรี คือ
ลิลิตเพชรมงกุฎ และ อิเหนาคำฉันท์
ผู้ที่แต่งโคลงยอพระเกียร์ติพระเจ้ากรุงธนบุรี คือ
นายสวนมหาดเล็ก
พระยามหานุภาพ ได้ประพันธ์วรรณคดีเรื่อง
นิราศกวางตุ้ง
แต่นักประวัติศาสตร์และนักวรรณคดีมักเรียกวรรณกรรมเรื่องนี้ว่า
นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน
ละครหลวงที่นิยมเล่นกันในสมัยกรุงธนบุรีคือเรื่อง
รามเกียรติ์ และ อิเหนาคำฉันท์
Copyright By
Chalengsak Chuaorrawan
Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khongteay Khongteay Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th
http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak