หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง
ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|||||
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
||||||
สารบัญ | ||||||
นโบายการคลัง |
1. ทำไมต้องมีรัฐบาล ? . . 2. ถ้างบประมาณของประเทศขาดดุล จะมีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยอย่างไร ? . . 3. รายได้สุทธิของรัฐบาลซึ่งคิดจากรายได้ของรับบาลหักด้วยรายจ่ายของรัฐบาลเรียกว่า ดุลงบประมาณ 4. ดุลงบประมาณเกินดุล เกิดจาก รายรับของรัฐบาล มากกว่า รายจ่ายของรัฐบาล 5. ดุลงบประมาณขาดดุล เกิดจาก รายรับของรัฐบาล น้อยกว่า รายจ่ายของรัฐบาล 6. ดุลงบประมาณสมดุล เกิดจาก รายรับของรัฐบาล เท่ากับ รายจ่ายของรัฐบาล 7. เงินคงคลัง เกิดจาก รับบาลมีงบประมาณเกินดุล รายรับมีมากกว่ารายจ่าย มีเงินออมเหลือเก็บสะสมไว้ 8. หนี้สาธารณะ หมายถึง หนี้ที่เกิดจากรับบาลมีรายจ่ายมีมากกว่ารายรับ ทำให้ขาดดุลงบประมาณ 9. รัฐบาลมีทางเลือกอะไรบ้างเมื่อเกิดภาวะงบประมาณเกินดุลมาก 9.1 เพิ่มรายจ่ายเป็นงบประมาณเพิ่มเติมในปีงบประมาณถัดไป 9.2 ลดภาษี เพื่อไม่ให้รายรับของรัฐมีมากเกินไป 9.3 เก็บออมไว้ สำหรับใช้ในอนาคต 9.4 จ่ายคืนหนี้เงินกู้ของรัฐบาล เพื่อลดภาระของประชาชนในอนาคต 10. รัฐบาลมีทางเลือกอะไรบ้างเมื่อเกิดภาวะงบประมาณขาดดุลมาก 10.1 ชะลอการใช้จ่าย หรือลดงบประมาณรายจ่ายที่ไม่จำเป็นมากนักในปีถัดไป 10.2 เพิ่มภาษี เพื่อให้รัฐมีรายได้เพียงพอกับการจ่าย 10.3 นำเงินคงคลังบางส่วนมาใช้ถ้ามีความจำเป็น 10.4 ก่อหนี้เพิ่ม เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ถ้าประชาชนในอนาคตมีความสามารถในการเสียภาษีสูง 11. เศรษฐกิจชะลอตัว หรือ หดตัว หมายถึง ประเทศประสบกับปัญหาการว่างงานหรือธุรกิจซบเซา 12. เศรษฐกิจขยายตัว หรือ เฟื่องฟู หมายถึง ประเทศมีสภาพการใช้จ่ายเกินควร แรงงานขาดแคลน ทรัพยากรและกำลังการผลิตไม่เพียงพอหรือประชาชนกำลังประสพปัญหาภาวะเงินเฟ้อ 13. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หมายถึง อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวไม่มากเกินไปหรือ ต่ำเกินไป หรือมีความผันผวนทางเศรษฐกิจน้อย 14. รัฐบาล มีรายได้จากภาษีทางตรง ได้แก่ ภาษีที่รัฐจัดเก็บโดยตรงจากรายได้ของผู้เสียภาษี เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล 15. รัฐบาล มีรายได้จากภาษีทางอ้อม ได้แก่ ภาษีทีรัฐเก็บจากสินค้าและบริการ ซึ่งจะเป็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ เช่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีการค้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร 16. รัฐบาล มีรายจ่าย 2 ประเภท ได้แก่ 16.1 รายจ่ายประจำ 16.2 รายจ่ายเพื่อลงทุน 17. นโยบายการคลัง หมายถึง การใช้มาตรการทางการคลังในการบริหารประเทศ ซึ่งประกอบด้วย การจัดเก็บภาษี รายจ่ายของรัฐบาลและหนี้สาธารณะ เพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ 18. นโยบายการคลังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 18.1 นโยบายการคลังแบบหดตัว 18.2 นโยบายการคลังแบบขยายตัว 19. นโยบายการค้าระหว่างประเทศ หมายถึง นโยบายที่วางไว้เพื่อปฏิบัติต่อประเทศอื่น ๆ ในการนำเข้าสินค้าหรือส่งออกสินค้า 20. นโยบายการค้าเสรี คือ นโยบายที่เปิดโอกาสให้มีการค้าขายระหว่างประเทศ โดยไม่มีการเก็บภาษีศุลกากรในอัตราที่สูง และขจัดข้อบังคับต่าง ๆ ที่กีดกันการค้าระหว่างประเทศ โดยสนับสนุนให้ แต่ละประเทศผลิตสินค้าตามที่ตนถนัด 21. นโยบาย คุ้มกัน ทางการค้าเพื่อกีดกันสินค้าต่างประเทศ ที่รัฐบาลนิยมนำมาใช้ได้แก่ 21.1 การตั้งกำแพงภาษี Protective Policy 21.2 การควบคุมสินค้า Orotection Trade Wall 21.3 การให้ความอุดหนุน Subsidies 21.4 การทุ่มตลาด Dumping 21.5 การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ Exchange Control |
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan
Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongteay Khlongte Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|