เฉลย1เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
  1. มนุษย์มีความต้องการอย่างไร ?
    .........................................................................................................................................
  2. เศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร ?
    .........................................................................................................................................
  3. เศรษฐศาสตร์ หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ เพื่อผลิต บริโภค กระจาย แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยการจัดสรรทรัพยากร ที่เป็นปัจจัยการผลิตอันมีอยู่อย่างจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอย่างไม่จำกัด
  4. เศรษฐศาสตร์จุลภาค หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจในส่วนย่อยหรือศึกษาเฉพาะกรณีเป็นเรื่อง ๆ    เช่น การตัดสินใจของผู้ผลิตว่าจะผลิตสินค้าและบริการอะไรปริมาณเท่าไร พฤติกรรมส่วนบุคคล ครัวเรือน และหน่วยธุรกิจอุปสงค์ผู้บริโภค การขึ้นราคาสินค้า การฟอกเงิน  พฤติกรรมการบริโภค ของบุคคลในสังคม ฯลฯ
  5. เศรษฐศาสตร์มหภาคภาค หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เช่น รายได้ประชาชาติ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ ปัญหาเงินเฟ้อ ปริมาณเงิน ระดับราคาสินค้า การค้าระหว่างประเทศฯลฯ
  6. เศรษฐกิจหมายถึง การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิต การจำหน่ายและการบริโภค
  7. ผู้ประกอบการ หมายถึง  ผู้ดำเนินการผลิตสินค้าและบริการ
  8. ปัจจัยการผลิต ประกอบด้วย
    1. ทุน Capital หมายถึง เงิน  เครื่องจักร
    2. ที่ดิน Land หมายถึง แหล่งผลิตหรือทรัพยากรที่อยู่บนดิน ใต้ดิน และเหนือพื้นดิน
    3. แรงงาน Labour หมายถึง แรงงานของมนุษย์
    4. การประกอบการ Enterpreneurship หมายถึง ผู้ผลิตผู้ดำเนินการผลิตสินค้าและบริการ
  9. ปัญหาพื้นฐานทางการผลิต ได้แก่
    1. จะผลิตอะไร
    2. จะผลิตอย่างไร
    3. จะผลิตเพื่อใคร
  10. อุปสงค์ demand หมายถึง ความต้องการของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าและบริการในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้เพราะจำนวนประชากรรสนิยมในการบริโภค รายได้ที่เปลี่ยนแปลง การโฆษณา หรือปัจจัยอื่น ๆ
  11. อุปทาน supply หมายถึง ความต้องการของผู้ผลิตหรือผู้ขาย ในการขายสินค้าและบริการ ที่ผู้ผลิตเสนอขายในระยะเวลาหนึ่ง
  12. หน่วยธุรกิจ หมายถึง  บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ผลิตและให้บริการโดยการรวบรวมปัจจัยกรผลิต และจัดการบริหารให้ปัจจัยการผลิตแปรไปเป็นสินค้าและบริการ วัตถุประสงค์กำไรสูงสุด
  13. หน่วยเศรษฐกิจประกอบด้วย
    1. หน่วยครัวเรือน
    2. หน่วยธุรกิจ
    3. หน่วยรัฐบาล
  14. หน่วยครัวเรือน หมายถึง หน่วยเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่อาศัยอยู่ด้วยกัน มีการตัดสินใจร่วมกันในการใช้ทรัพยากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด  สมาชิกอาจเป็นผู้ผลิต
    ผู้บริโภคได้ในเวลาเดียวกัน
  15. หน่วยธุรกิจ  หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ผลิตและให้บริการโดยการรวบรวมปัจจัยกรผลิต และจัดการบริหารให้ปัจจัยการผลิตแปรไปเป็นสินค้าและบริการ วัตถุประสงค์กำไรสูงสุด
  16. หน่วยรัฐบาล หมายถึง หน่วยเศรษฐกิจที่ทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรของประเทศให้มีประสิทธิภาพโดย ใช้นโยบายของรัฐเป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากร  วัตถุประสงค์ให้สังคมได้รับประโยชน์
  17. รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาแทรกแซงทางเศรษฐกิจเพราะ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกระจายรายได้  ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง
  18. สินค้าสาธารณะหมายถึง สินค้าที่ทุกคนสามารถบริโภคได้พร้อม ๆ กัน  โดยไม่สามารถกีดกันการบริโภคของบุคคลให้บุคคลหนึ่ง  เช่น การป้องกันประเทศ ประชาชนต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันทุกคน
  19. สินค้าเอกชน หมายถึง สินค้าที่เฉพาะผู้ซื้อหรือผู้ครอบครองได้ประโยชน์  โดยสามารถกีดกันการบริโภคของบุคคลอื่นได้
  20. ต้นทุนค่าเสียโอกาส (opportunity cost) หมายถึง มูลค่าของผลตอบแทนจากกิจกรรมที่สูญเสียโอกาสไปในการเลือกทำกิจกรรมอย่างหนึ่งและไม่ได้ทำกิจกรรมอื่นในเวลาเดียวกัน
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile