หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
 
บริหารจิตและการเจริญปัญญา
  1. การยกจิตใจให้สูงขึ้นทำได้ด้วยวิธี การบริหารจิต
  2. การบริหารจิต3 คือ การฝึกอบรมให้เกิดสมาธิ
  3. จิตที่รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลคือจิตที่ถูกฝึกให้เกิด ปัญญา
  4. พุทธศาสนิกชนควรฝึกสมาธิให้เกิดปัญญาเพื่อ ประโยชน์สุขในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสงบสุข
  5. สมาธิชั่วขณะหรือชั่วคราว เรียกว่า ขณิกสมาธิ
  6. สมาธิที่ให้จิตตั้งมั่นเฉียดฌาน เรียกว่า อุปจารสมาธิ
  7. สมาธิที่ทำให้จิตสงบตั้งมั่นแน่วแน่ในฌานเรียกว่า อัปปนาสมาธ
  8. สมาธิแบ่งเป็น 2 พวก ได้แก่
    1. สัมมาสมาธิ
    2. มิจฉาสมาธิ
  9. กิเลสประกอบด้วย
    1. ความโลภ
    2. ความโกรธ
    3. ความหลง
  10. นิวรณ์ หมายถึง สิ่งที่ขวางกั้นจิตทำให้สมาธิไม่อาจเกิดขึ้นได้ มี 5 อย่าง ประกอบด้วย
    10.1 กามฉันทะ หมายถึง ความพอใจ ยินดีในกามคุณ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ(สัมผัส)
    10.2 พยาปาทะ
    หมายถึง ความโกรธ พยาบาท
    10.3 ถีนมิทธะ
    หมายถึง ความหดหู่ หงอยเหงา เซื่องซึม
    10.4 อุทธัจจกุกกุจจะ
    หมายถึง ความฟุ้งซ่านของจิต ความรำคาญใจ เลื่อนลอย
    10.5 วิจิกิจฉา
    หมายถึง ความลังเล สงสัย ไม่แน่ใจ
  11. อนุสสติ แปลว่า การระลึกถึงเนืองๆ หรืออารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนืองๆ เป็นอารมณ์สมถกรรมฐานเพื่อทำใจให้สงบจากนิวรณ์ 5
  12. การฝึกสมาธิด้วยการตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธคุณ เรียกว่า พุทธานุสสต
  13. การฝึกกรรมฐานโดยการระลึกพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา เรียกว่า ธัมมานุสสติ
  14. การนำพระสงฆ์มาเป็นอารมณ์ในการฝึกสมาธิ เรียกว่า สังฆานุสสต
  15. การนำศีลของตัวเองที่ได้ปฏิบัติแล้วมาเป็นอารมณ์ในการฝึกกรรมฐาน เรียกว่า สีลานุสสต
  16. การระลึกถึงทานที่ได้ทำไว้ดีแล้วมาเป็นอารมณ์ของสมาธิ เรียกว่า จาคานุสสติ
  17. การระลึกถึงผลบุญของเทวดาเพื่อสร้างสมาธิ เรียกว่า เทวตานุสสติ
  18. การระลึกถึงความตายของบุคคลที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เรียกว่า มรณัสสติ
  19. การทำจิตให้สงบโดยการระลึกถึงองค์ประกอบของร่างกาย เรียกว่า กายคตาสติ
  20. การระลึกโดยการกำหนดลมหายใจเข้า – ออก เรียกว่า อานาปานสติ
  21. อุปสมานุสสติเป็นการฝึกกรรมฐานด้วยการระลึกถึง พระนิพพาน
  22. การตัดความห่วงวิตกกังวลให้หมดในระหว่างการฝึกสมาธิเรียกว่า ตัดปลิโพธ
  23. การชำระศีลให้บริสุทธิ์ หมายความว่า ให้ตั้งใจรักษาศีล 5 หรือศีล 8 อย่างเคร่งครัด
  24. การตั้งใจรักษาศีลให้เคร่งครัด เรียกว่า สมาทานศีล
  25. การแผ่เมตตาในโอกาสต่าง ๆ เพื่อจุดประสงค์คือให้จิตใจอ่อนโยนไม่มีความโกรธแค้นพยาบาท
  26. การเจริญปัญญา คือ การฝึกปฎิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา
  27. ปัญญา คือ ความรอบรู้ในสิ่งที่ควรรู้
  28. ไตรสิกขาประกอบด้วยหลักธรรมอะไรบ้าง
    28.1 ศีล
    28.2 สมาธิ
    28.3 ปัญญา
  29. การอบรมภาวนาจิตมี 2 ประเภท คือ
    29.1 สมถภาวนา
    29.2 วิปัสนาภาวนา
  30. การอบรมภาวนาเพื่อให้จิตใจสงบ เรียกว่า สมถภาวนา
  31. การอบรมเพื่อให้จิตใจสงบจนเกิดปัญญา เรียกว่า วิปัสนาภาวนา
  32. ปัญญามี 2 ระดับ ได้แก่
    32.1 ระดับโลกียะ คือปัญญาของปุถุชนทั่วไป
    32.2 ระดับโลกุตระคือ ปัญญาระดับพระอริยบุคคล
  33. ปัญญาในระดับโลกิยะมีบ่อเกิด 3 ทาง คือ
    33.1 สุตมยปัญญา
    33.2 จินตามยปัญญา
    33.3 ภาวนามยปัญญา
  34. พหูสูต หมายถึง ผู้ได้ยิน ได้ฟังมากจดจำได้มาก
  35. บ่อเกิดของปัญญาที่เรียกว่าสุตมยปัญญา คือ การเรียนรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสโดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่านและการฟัง
  36. การอ่านและการฟังที่จะเกิดปัญญาต้องเริ่มด้วยความสนใจ เรียกว่า ฉันทะ
  37. การรวบรวมข้อมูลและจัดระบบของข้อมูลจากการฟังและอ่านทำให้เกิดปัญญา ในระดับ สุตมยปัญญา
  38. ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการอบรมลงมือปฎิบัติจนเกิดปัญญาด้วยตนเอง
  39. คนที่ใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วยดีเรียกว่าการใช้ปัญญาแบบ ภาวนามยปัญญา
  40. การฝึกอบรมจิตจนเกิดญาณความรู้ภายใน เรียกว่า อัชฌัตติกญาณ

Copyright By Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khongteay Khongteay Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile