หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
แบบฝึกหัด
พระสงฆ์
หน้าที่ชาวพุทธ
  1. ทำไมต้องยึดมั่น

  2. ถ้าไม่มีพระสงฆ์จะส่งผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาอย่างไร 

  3. พระรัตนตรัย แปลว่า แก้วสามดวง หรือ แก้วสามประการ
  4. พระรัตนตรัย ประกอบด้วย
    4.1พระพุทธ
    4.2 พระธรรม
    4.3 พระสงฆ์
  5. พระสงฆ์  หมายถึง นักบวชในพระพุทธศาสนา
  6. พระสงฆ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย  
    6.1 สมมุติสงฆ์
    6.2 พระอริยสงฆ์ 
  7. สมมุติสงฆ์ หมายถึง  พระสงฆ์ที่กำลังศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอยู่ในพระพุทธศาสนา
  8. พระสงฆ์ที่ประเสริฐปฏิบัติธรรมจนบรรลุเกิดดวงตาเห็นธรรมชั้นสูง์  หมายถึง พระสงฆ์ที่ประเสริฐปฏิบัติธรรมจนบรรลุเกิดดวงตาเห็นธรรมชั้นสูง
  9. พระอริยสงฆ์ มี  4  ระดับประกอบด้วย
    9.1 พระโสดาบัน
    9.2 พระสกทาคาม
    9.3 พระอนาคามี
    9.4 พระอรหัตน์ 
  10. พระโสดาบัน หมายถึง พระสงฆ์ผู้บรรลุโสดาปฏิมรรค เกิดดวงตาเห็นธรรม สามารถตัดกิเลสได้หนึ่งในสี่ส่วน
  11. พระสกทาคามี หมายถึง พระสงฆ์ผู้สามารถขัดเกลากิเลสได้ละเอียดยิ่งขึ้น ตัดกิเลสได้หนึ่งในสองส่วน
  12. พระอนาคามี หมายถึง พระสงฆ์ผู้สามารถทำให้กิเลสเบาบางลงอย่างมาก ตัดกิเลสได้สามในสี่ส่วน
  13. พระอรหัตน์  หมายถึง พระสงฆ์ผู้รู้แจ้ง เห็นจริงในสัจธรรม บริสุทธิ์ปราศจากกิเลส ไม่มีความเศร้าหมอง
  14. พระอรหัตน์ มี  4 จำพวก ได้แก ่ 
    14.1 สุกขวิปัสสกะ 
    14.2 เตวิชชะ
    14.3 ฉฬภิญญะ 
    14.4 ปฏิสัมภิทัปปัตตะ
  15. สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ   แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  ผู้ปฏิบัติดีแล้ว  ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์
  16. พระสงฆ์ มีหน้าที่ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ มี  4 อย่างรวมเรียกว่า จาตุปาริสุทธิศีล
  17. จาตุปาริสุทธิศีล มี 4 อย่างประกอบด้วย
    17.1ปาฏิโมกขสังวรศีล
    17.2 อินทรียสังวรศีล
    17.3 อาชีวปาริสุทธิศีล
    17.4 ปัจจยสันนิสิตศีล
  18. การรักษาศีลของพระสงฆ์ให้บริสุทธิ์ โดยสำรวมในพุทธบัญญัติ เรียกว่า ปาฏิโมกขสังวรศีล
  19. พุทธบัญญัติของพระสงฆ์ในปาฏิโมกข์มี 227  ข้อ
  20. การรักษาศีลของพระสงฆ์ให้บริสุทธิ์ โดยสำรวมในอินทรีย์ ไม่ยินดียินร้าย  เมื่อเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส      สัมผัสด้วยกายและรู้อารมณ์ด้วยใจ เรียกว่า อินทรียสังวรศีล
  21. การรักษาศีลของพระสงฆ์ให้บริสุทธิ์ด้วยความบริสุทธิ์ในอาชีพโดยการดำรงชีวิตอยู่ตามวิธีที่          พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเรียกว่า   อาชีวปาริสุทธิศีล
  22. การรักษาศีลของพระสงฆ์ให้บริสุทธิ์ โดยการดำรงชีวิตให้อยู่ได้โดยปัจจัย 4   เรียกว่า ปัจจยสันนิสิตศีล
  23. หน้าที่ของพระสงฆ์ที่ต้องทำเป็นประจำได้แก่
    23.1 การบิณฑบาต
    23.2 การทำวัตรเช้าเย็น
    23.3 การรักษาความสะอาดเครื่องนุ่งห่มและเสนาสนะ
    23.4 การศึกษาเล่าเรียน
    23.5 การทำความสะอาดลานวัด
  24. หน้าที่ของพระสงฆ์ที่ต้องทำเป็นครั้งคราว ได้แก ่
    24.1 การลงอุโบสถ
    24.2 การรับกฐิน 
    24.3 การรับผ้าป่า 
    24.4 การต้อนรับอาคันตุกะ
  25. เสนาสนะ หมายถึง ที่อยู่อาศัยของพระภิกษุ
  26. เครื่องนุ่งห่มของสงฆ์ ประกอบด้วย สบง  จีวร  สังฆาฏ
  27. ข้าวของเครื่องใช้ของพระสงฆ์ ที่เรียกว่า อัฐบริขาร ประกอบด้วย
    27.1 สบง
    27.2 จีวร
    27.3 สังฆาฏิ
    27.4 บาตร
    27.5 ประคตเอว
    27.6 ที่กรองน้ำ
    27.7 เข็มด้าย    
    27.8 มีดโกน
  28. ลาสิกขา  หมายความว่า การสละเพศนักบวชออกมาเป็นบุคคลธรรมดา
  29. ผู้ที่จะอุปสมบทจะต้องมีอายุอย่างน้อย  20   ปี
  30. ผู้ที่จะบรรพชา จะต้องมีอายุอย่างน้อย 7 ปี
  31. การอุปสมบทคือ การบวชเป็นพระสงฆ์
  32. การบวชเป็นพระสงฆ์ในอดีตถึงปัจจุบัน มี 3 แบบ ได้แก่
    32.1 เอหิภิกขุอุปสัมปทา
    32.2 ติสรณคมนูอุปสัมปทา   
    32.3 ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา
  33. การศึกษาของพระสงฆ์ในสมัยพุทธกาล โดยใช้วิธีการ ท่องจำ เรียกว่า มุขปาฐะ
  34. พุทธวจนะ คือ คำสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
  35. สาวกของพระพุทธเจ้า ได้รวบรวม พุทธวจนะ ภายหลังเรียก  “พุทธวจนะ" ว่า คัมภีร์พระไตรปิฎก
  36. พระธรรมคือ คำสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
  37. พระธรรม  แบ่งออกเป็น  3  ประเภท ได้แก่
    37.1 ปริยัติธรรม  
    37.2 ปฏิบัติธรรม 
    37.3 ปฏิเวธธรรม
  38. คำสอนของพระพุทธเจ้าประเภทที่ว่าด้วยความรู้ความเข้าใจ เรียกว่า ปริยัติธรรม  
  39. คำสอนของพระพุทธเจ้าประเภทที่เกี่ยวกับการนำไปใช้ เรียกว่า ปฏิบัติธรรม 
  40. คำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนที่เป็นผลจากการปฏิบัติ  เรียกว่า ปฏิเวธธรรม
  41. คัมภีร์ ของพระพุทธศาสนา เรียกว่า พระไตรปิฎก
  42. พระไตรปิฎกประกอบด้วย
    42.1 พระอภิธรรมปิฎก
    42.2 พระวินัยปิฎก
    42.3 พระสุตตันตปิฎก
  43. พระปริยัติธรรม คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าส่วนที่เป็นภาคความรู้หรือภาคทฤษฎี
  44. ปฏิบัติธรรม     คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ศึกษามาแล้วนำไปประพฤติปฏิบัติ
  45. การนำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไปปฏิบัติ ที่เรียกว่า  ไตรสิกขา ประกอบด้วย
    45.1 ศีล 
    45.2 สมาธิ 
    45.3 ปัญญา
  46. ศีล  แปลว่า ปรกติ
  47. การรักษาศีล ( สีลสิกขา ) คือ การรักษากาย  วาจา  ใจ ให้เป็นปรกติ
  48. การบำเพ็ญสมาธิ ( จิตตสิกจขา ) คือ การปฏิบัติเพื่อทำจิตใจให้มั่นคงแน่วแน่ การทำจิตให้สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน
  49. การเจริญปัญญา ( ปัญญาสิกขา ) คือ การปฏิบัติให้เกิดการรู้แจ้ง สามารถใช้ความรู้แก้ปัญหาให้ลุล่วงได้
  50. ปฏิเวธธรรม ( โลกุตตรธรรม ) คือ การรู้แจงแทงตลอด เป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม
  51. ปฏิเวธธรรม แบ่งออกเป็น  3 อย่าง ได้แก่
    51.1 มรรค 
    51.2 ผล
    51.3 นิพพาน
  52. มรรค คือ ทางปฏิบัติเพื่อทำลายกิเลสให้หมดไป  หรือการปฏิบัติให้พ้นทุกข์
  53. ผล    คือ รู้ว่ากิเลสหมดไปแล้ว
  54. นิพพาน คือ ความสิ้นกิเลส นิพพานเป็นจุดหมายปลายทางสุดท้ายของพระพุทธศาสนา
  55. พระสงฆ์ที่ศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์ หรือศึกษา พระพุทธวจนะ  เรียกตามศัพท์ศาสนาว่า คันถธุระ
  56. พระสงฆ์ที่ศึกษาเล่าเรียนโดย การปฏิบัติ เรียกตามศัพท์ศาสนาว่า วิปัสสนาธุระ
  57. พิธีกรรม หมายถึง งานที่จัดขึ้นตามลัทธิ เพื่อความขลัง เป็นสิริมงคล วิธีปฏิบัติเพื่อให้ก่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง
  58. ศาสนพิธี หมายถึง งานพิธีที่จัดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับศาสนา
  59. ศาสนพิธี จะมีงาน  2 ประเภท
    59.1 มงคล
    59.2 อวมงคล ( อัปมงคล )
  60. งานมงคล หมายถึง งานที่ทำขึ้นเพื่อเป็นศรี เป็นสิริ
  61. งานอวมงคลหรืองานอัปมงคล หมายถึง งานที่เกี่ยวข้องกับการตาย
  62. ก่อนที่พุทธศาสนิกชน จะใส่บาตรทุกครั้ง เขาจะตั้งจิตอธิษฐานแล้วกล่าวเป็นภาษาบาลีว่าว่า  สุทินนัง   วะตะเม  ทานัง อาสวักขะ  ยาวะหัง  โหตุ แปลว่า   ทานที่เราถวายดีแล้วนี้ จงนำมาซึ่งความสิ้นอาสวะกิเลสเทอญ
  63. เมื่อพุทธศาสนิกชนใส่บาตรเสร็จแล้ว จะกล่าวคำกรวดน้ำเป็นภาษาบาลีว่า    อิทังเม   ญาตินัง   โหตุ   สุขิตา   โหนตุ   ญาตะโย  แปลว่า  ขอผลบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า  ขอให้ญาติของข้าพระเจ้าจงมีความสุข  
  64. อาสน์สงฆ์ หมายถึง ที่นังสำหรับพระสงฆ
  65. ผ้าปูบนอาสนะ ให้พระสงฆ์นั่งเรียกว่า นิสีทนะ  
  66. การถวายสังฆทาน หมายถึง การถวายข้างของเครื่องใช่แด่พระสงฆ์โดยไม่เจาะจงพระสงฆ์ที่จะรับ.
  67. “ปาฏิคลิกทาน”    หมายถึง ทานที่เจาะจงผู้รับสิ่งของ.
  68. เครื่องรับรองพระสงฆ์ตามแบบประเพณีนิยม ประกอบด้วย
    68.1 น้ำร้อน
    68.2 น้ำเย็น 
    68.3 กระโถน
  69. เครื่องรับรองพระสงฆ์ จะต้องวางไว้ทางด้าน      ขวามือ  ของพระสงฆ์
  70. ในงานพิธีที่มีการทำบุญเลี้ยงพระเราจะถวายภัตราหารเมื่อ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว
  71. ในงานพิธีจะถวายเครื่องไทยธรรมเมื่อ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว
  72. ในงานพิธี เราจะกรวดน้ำเมื่อพระเริ่มกล่าวคำว่า ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะณิ โชติระโส ยะถา
  73. น้ำที่เรากรวดแล้วควรนำไป เทบริเวณพื้นดินที่สะอาดอุทิศส่วนกุสลฝากพระแม่ธรณีไปให้ผู้รับ
  74. โต๊ะหมู่บูชา ควรตั้งไว้ ทางด้าน    ขวามือ    ของพระสงฆ์
  75. โต๊ะหมู่บูชา ควรตั้งหันหน้าไปทางทิศ ตะวันออก
  76. เครื่องบูชา ประกอบด้วย ดอกไม้    ธูป     เทียน
  77. บนโต๊ะหมู่บูชา นิยมใช้พระพุทธรูปปาง มารวิชัย     หรือ ปางสมาธ
  78. ธูป เป็นสัญลักษณ์ ใช้บูชา องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
  79. เทียน เป็นสัญลักษณ์ ใช้บูชา พระธรรม
  80. ดอกไม้ เป็นสัญลักษณ์ ใช้บูชา พระสงฆ์
Copyright By Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th