หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
แบบฝึกหัด
พระสงฆ์
หน้าที่ชาวพุทธ
  1. พุทธศาสนิกชนที่ดีมีหน้าที่ดังนี้
    1.1 ศึกษาหาความรู้
    1.2 ปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา
    1.3 เผยแผ่พระพุทธศาสนา
    1.4 ปกป้องพระพุทธศาสนา
  2. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา หมายความว่า เป็นศาสนาที่มีเหตุผลสอนให้รู้จักคิด พิจารณา ไม่งมงาย
  3. ความรู้สามารถแบ่งออกเป็น  2 ประเภทได้แก่ 
    3.1 ความรู้ทางโลก
    3.2 ความรู้ทางธรรม
  4. พุทธศาสนิกชนต้องเป็นคนฉลาดรอบรู้  หมายความว่า   รู้จักแสวงหาความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม
  5. ความรู้ทางโลก เรียกว่า โลกิยะ
  6. ความรู้ทางธรรม เรียกว่า โลกุตระ
  7. ความรู้ทางโลก คือ ความรู้ที่จะช่วยให้เราสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้
  8. ความรู้ทางธรรม คือ ความรู้ที่จะช่วยเราให้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง  ช่วยยึดเหนี่ยวนำใจไม่ให้ทำชั่ว
  9. หลักธรรมโดยย่อในพระพุทธศาสนามี  3 ประการ ได้แก่ 
    9.1 การทำความดี
    9.2 การไม่ทำความชั่ว
    9.3 การทำจิตใจให้ผ่องใส
  10. การทำความดีโดยการปฏิบัติธรรมขั้นต้นคือ เบญจศีล มี  5 ประการ ประกอบด้วย
    10.1 เมตตา กรุณา 
    10.2 สัมมาอาชีวะ หาเลี้ยงชีพโดยสุจริต
    10.3 การสันโดดในคู่ครอง
    10.4 มีสัจจะ พูดจาไพเราะอ่อนหวาน
    10.5    ความมีสติสัมปชัญญะ
  11. การละเว้นความชั่วเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นที่เรียกว่า ศีล  ศีลขั้นต้นคือ เบญจศีล  มี  5 ประการ ประกอบด้วย 
    11.1   ไม่ฆ่าสัตว์
    11.2 ไม่ลักทรัพย์
    11.3 ไม่ประพฤติผิดในกาม
    11.4 ไม่พูดปด
    11.5  ไม่ดื่มสุราเมรัย.
  12. การทำจิตใจให้ผ่องใสปฏิบัติได้โดย การฝึกสมาธิ ทำจิตให้สงบ ไม่ให้เศร้าหมอง
  13. ประเพณีทางศาสนาหรือพิธีกรรมที่เกี่ยวกับพระสงฆ์โดยเฉพาะ ได้แก่ 
    13.1. การลงอุโบสถสวดพระปาฏิโมกข์
    13.2 การเข้าพรรษา
    13.3 การออกพรรษา
  14. ประเพณีทางศาสนาหรือพิธีกรรมที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ ได้แก่ 
    14.1 การบรรพชาอุปสมบท
    14.2 การทอดกฐิน
    14.3 การทอดผ้าป่า
  15. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นหน้าที่ของ พุทธศาสนิกชนทุกคน
  16. ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาโดยตรงคือ พระสงฆ์
  17. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการพูด             ได้แก่
    17.1   การสนทนาธรรมะ
    17.2 การบรรยายธรรม
    17.3 การอภิปรายธรรมะ
  18. การจัดรายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสื่อสารมวลชน ถือว่าเป็นการใช้วิธีการเผยแผ่ตามหลักวิชา นิเทศศาสตร์
  19. การปกป้องพระพุทธศาสนา หมายถึง การป้องกันมิให้ศาสนาถูกทำลาย โดยผู้ไม่หวังดีด้วยวิธีการต่าง ๆ
  20. การปกป้องพระธรรม ปฏิบัติได้โดย ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจถ่องแทจะได้ไม่หลงผิด
  21. ศาสนสถาน คือ สิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุในบริเวณวัด
  22. ศาสนสมบัติ คือ ทรัพย์สินที่มีค่าอยู่ภายในวัด หรือ สมบัติของพระศาสนา
  23. กิจวัตรที่เป็น หลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน เรียกว่า  อุบาสกธรรม
  24. อุบาสกธรรม 7 ประการ ประกอบด้วย
    24.1หมั่นไปวัดตามโอกาสที่เหมาะสม
    24.2 หมั่นฟังธรรม
    24.3 พยายามสนใจศึกษาและรักษาศีลให้ดียิ่งขึ้น
    24.4 มีความเลื่อมใสในพระภิกษุทั้งหลาย
    24.5 ตั้งจิตให้เป็นกุศลในขณะฟังธรรม
    24.6ทำบุญกุศลตามหลักและวิธีการของพระพุทธศาสนาขวนขวายทำนุบำรุงพระศาสนาในทุก ๆ ทาง
        
  25. ธรรมที่รักษาโลกไว้ให้ดีงาม คือ โลกปาลธรรม หรือ ธรรมโลกบาล
    ประกอบด้วย   
    25.1  หิริ  คือความละอายแก่ใจ
    25.2 โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัว

Copyright By Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th