หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
 
พุทธประวัติ
    1. มนุษย์มีความต้องการอย่างไร
      ...................................................................................................................................................................
      ...................................................................................................................................................................
      ...................................................................................................................................................................
      ...................................................................................................................................................................
      ...................................................................................................................................................................
    2. คำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา สนับสนุน ส่งเสริม  ควบคุม ความต้องการของมนุษย์อย่างไร ...................................................................................................................................................................
      ...................................................................................................................................................................
      ...................................................................................................................................................................
      ...................................................................................................................................................................
      ...................................................................................................................................................................
    3. พุทธประวัติ  คือ ประวัติของ ประวัติของพระพุทธเจ้า ( เจ้าชายสิทธัตถะ )
    4. การศึกษาพุทธประวัติทำให้มีความรู้ประวัติศาสตร์บางช่วงของประเทศ อินเดีย
    5. เจ้าชายสิทธัตถะเป็นโอรสของพระเจ้า  สุทโธทนะกับพระนาง สิริมหามายา
    6. เจ้าชายสิทธัตถะประสูติเมื่อ          วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อนพุทธศักราช    80    ปี
    7. เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ  ณ สวนลุ่มพินีวัน  ประเทศ    เนปาล
    8. เจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้    7    วัน พระมารดาก็สิ้นพระชนม์  ผู้ที่เป็นแม่นมคือ  พระนางมหาปชาบดีโคตมี
    9. เจ้าชายสิทธัตถะได้เริ่มการศึกษากับครูคนแรกชื่อ วิศวามิตร
    10. วิชาที่เจ้าชายสิทธัตะได้ศึกษากับครูคนแรกได้แก่ 
      10.1 คัมภีร์พระเวท
      10.2 ศิลปศาสตร์  18  ประการ
    11. โดยทั่วไปผู้ที่จะเรียนคัมภีร์พระเวทจะต้องเป็นชนชั้นในวรรณะ  พราหมณ์
    12. แต่เดิมเจ้าชายสิทธัตถะนับถือศาสนา พราหมณ์
    13. ฤคเวท  ในคัมภีร์พระเวท กล่าวถึงเรื่อง ว่าด้วยการสร้างโลกและบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย
    14. สามเวท ในคัมภีร์พระเวท กล่าวถึงเรื่อง ว่าด้วยการสรรเสริญเทพเจ้าและพิธีกรรม
    15. ยชุรเวท ในคัมภีร์พระเวท กล่าวถึงเรื่อง ว่าด้วยการบูชายัญ
    16. อถรรพเวท ในคัมภีร์พระเวท กล่าวถึงเรื่อง           ว่าด้วยการทำพิธีป้องกันอันตรายต่าง ๆ
    17. ศิลปศาสตร์  18  ประการ เป็นวิชาสำหรับชนชั้นในวรรณะ กษัตริย์
    18. อักษรศาสตร์ ในศิลปศาสตร์  18  ประการ เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ  วิชาหนังสือ สามารถอ่านคัมภีร์ศาสนา ตำราวิชาการและประวัติศาสตร์ที่จารึกไว้แต่โบราณกาลได้
    19. นิติศาสตร์ ในศิลปศาสตร์  18  ประการ เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ                                                                      วิชากฎหมายและจารีตประเพณีต่าง ๆ
    20. นิรุกติศาสตร์ ในศิลปศาสตร์  18  ประการ เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ  วิชาภาษา รู้ภาษาของตนเองดีและรู้ภาษาของชาติอื่นที่ติดต่อเกี่ยวข้องกัน
    21. รัฐศาสตร์ ในศิลปศาสตร์  18  ประการ เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ  วิชาการปกครอง รู้จักบริหารบ้านเมือง ทำให้ราษฎรมีความจงรักภัคดีและมีความสุข
    22. ศาสนศาสตร์ ในศิลปศาสตร์  18  ประการ เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ  วิชาศาสนา รู้ประวัติความเป็นมาของทุกศาสนา และรู้คำสอนในศาสนาต่าง ๆ
    23. โหราศาสตร์ ในศิลปศาสตร์  18  ประการ เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ  วิชาโหร รู้จักการพยากรณ์ เหตุการต่าง ๆ และรูจักทายชะตาราศรีของคน.
    24. คณิตศาสตร์ ในศิลปศาสตร์  18  ประการ เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ  วิชาคำณวน สามารถคิดเลขตั้งแต่จำนวนน้อย ๆ จนถึงเลขหลักสูง ๆ เกี่ยวกับราคาสินค้า พื้นที่ ปฏิทินและยุคต่าง ๆของโลก.
    25. คันธัพพศาสตร์ ในศิลปศาสตร์  18  ประการ เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ  วิชาคนธรรพ์ คือวิชาร้องรำที่เรียกว่า นาฏยศาสตร์ และวิชาดนตรีปี่พาทย์ที่เรียกว่าดุริยางคศาสตร์.
    26. เหตุศาสตร์ ในศิลปศาสตร์  18  ประการ เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ  วิชารู้เหตุว่าจะเกิดผลดีหรือร้าย.
    27. เวชศาสตร์ ในศิลปศาสตร์  18  ประการ เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ  วิชาหมอยา รู้จักสมุนไพรและวิธีปรุงยาแก้โรคต่าง ๆ.
    28. เจ้าชายสิทธัตถะได้อภิเษกสมรสกับนางยโสธราพิมพาณะนั้นมีพระชนมายุได้       16   พรรษา
    29. เจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกบรรพชาเมื่อพระชนมายุได้         29   พรรษา
    30. เจ้าชายสิทธัตถะมีโอรสชื่อ ราหุล
    31. เจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกบรรพชาโดยมุ่งหน้าสู่แคว้น มคธ
    32. เจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกบรรพชาโดยหนีไปกับมหาดเล็กชื่อ นายฉันนะ .
    33. เจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกบรรพชาโดยหนีไปเวลา ยามสอง ( เที่ยงคืน )
    34. เจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกบรรพชาโดยอธิฐานเปลี่ยนเป็นบรรพชิต ณ ริมฝั่งแม่น้ำ  อโนมา
    35. โยคีสิทธัตถะได้เสด็จออกบรรพชาแล้วได้ไปศึกษากับครูคนแรกชื่อ    อาฬารดาบส
    36. โยคีสิทธัตถะได้เสด็จออกบรรพชาแล้วได้ไปศึกษากับครูคนที่สองชื่อ  อุทกดาบส
    37. โยคีสิทธัตถะได้เสด็จออกบรรพชาแล้วได้ไปศึกษากับครูคนแรก ความรู้ที่ได้รับคือ         การบำเพ็ญฌานจนบรรลุรูปฌาน 4 และอรูปฌาน 3
    38. โยคีสิทธัตถะได้เสด็จออกบรรพชาแล้วได้ไปศึกษากับครูคนที่สอง ความรู้ที่ได้รับคือ      การบำเพ็ญฌานจนบรรลุอรูปฌาน 4
    39. โยคีสิทธัตถะ ทรงทรมานร่างกายตามลัทธิ     เชน เจ้าลัทธิคือ พระมหาวีระ ( นิครนถนาฏบุตร )
    40. การทรมานอย่างยิ่งยวดมี  3  วิธี ได้แก
      40.1 การควบคุมอวัยวะบางส่วนของร่างกายอย่างเข้มงว
      40.2 กลั้นลมหายใจ โดยกลั้นให้ถึงที่สุดแล้วผ่อนหายใจทีละน้อยแล้วกลั้นต่อสลับกันไป
      40.3 การอดอาหารโดยบริโภคอาหารเพียงวันละเล็กน้อย พอให้มีชีวิตอยู่ได้ แล้วพยายามอดทนต่อความหิว
    41. อานาปานสติ หมายถึง การบำเพ็ญสมถภาวนาโดยกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์
    42. อวิชา  หมายถึง ความไม่รู้อริยสัจ 4
    43. อวิชา  เป็นต้นตอให้เกิด กิเลสและความทุกข์ทั้งปวง
    44. โยคีสิทธัตถะทรงตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อ     วันขึ้น  15 ค่ำเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช  45 ปี
    45. พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เรื่องอริยสัจ 4
    46. วันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นวันสำคัญทาง ศาสนาพุทธซึ่งเรียกว่าวัน วิสาขบูชา
    47. พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
    48. สังเวชนียสถานบริเวณที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้คือ     พุทธคยา
    49. ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้  ผู้ที่นำข้าวมธุปายาสมาถวายคือ        นางสุชาดา.
    50. การรู้วิธีดับกิเลส อย่างสิ้นเชิงด้วยตนเองเรียกว่า       การตรัสรู้              
    51. ผู้ที่ดับกิเลสอย่างสิ้นเชิงเรียกว่า       พระอรหันต์
    52. อริยสัจ 4  แปลว่า             ความจริงอันประเสริฐ  4 ประการ
    53. อริยสัจ 4  ประกอบด้วย     1.    ทุกข์          2.  สมุทัย        3. นิโรธ    4.   มรรค
    54. ทุกข์ ในอริยสัจ 4 หมายถึง ปัญหา ความไม่สบายกาย  ไม่สบายใจ
    55. สมุทัย ในอริยสัจ 4 หมายถึง ทุกข๋ที่เกิดจากความทยานอยากของจิต สาเหตุของทุกข์ที่เกิดจากตัญหา
    56. นิโรธ ในอริยสัจ 4 หมายถึง      ความดับทุกข์   รู้จักการดับสิ้นไปแห่งทุกข์  สภาพการสิ้นกิเลส
    57. มรรค ในอริยสัจ 4 หมายถึง       การปฏิบัติให้หมดทุกข์  หนทางการดับกิเลส
    58. เทวทูต 4 ประกอบด้วย                                1. คนแก่     2. คนเจ็บ        3. คนตาย     4.  สมณะ
    59. วิธีการสอนหลักธรรมจากง่ายไปหายาก เรียกว่า  อนุปุพพิกถา
    60. การคิดแบบวิทยาศาสตร์ คือการคิดแบบ         การพิสูจน์ทดลอง
    61. วิธีคิดแบบอริยสัจ 4 สามารถเปรียบเทียบกับ วิธีทางวิทยาศาสตร์ดังนี้
      61.1 ขั้นกำหนดทุกข์             เป็น        ขั้นกำหนดปัญหา.
      61.2 ขั้นสืบสาวสมุทัย           เป็น        ขั้นกำหนดปัญหา.
      61.3 ขั้นเก็งนิโรธ                 เป็น        ขั้นตั้งสมมุติฐาน.
      61.4 ขั้นเฟ้นหามรรค            
      -    เอสนา              เป็น        ขั้นทดลองและเก็บข้อมูล                                           
      -    วิมังสา              เป็น        ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
      -     อนุโพธ            เป็น        ขั้นสรุปผล.
    62. พระพุทธเจ้าได้จำแนกบุคคล ที่จะเทศนาสั่งสอนออกเป็น 4 จำพวกซึ่งเปรียบเสมือนดอกบัว  4  เหล่า ได้แก่
      62.1 ขั้นอุคฆติตัญญู  หมายถึง   ผู้ที่ได้ฟังธรรมจากองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสรู้ตาม เปรียมเสมือนดอกบัวโผ่พ้นน้ำ    เมื่อได้รับแสงอาทิตย์ก็บานทันที
      62.2 วิปจิตัญญู     หมายถึง    ผู้ที่ได้ฟังธรรมจากองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างละเอียดก็ตรัสรู้ตาม เปรี ยมเสมือน   ดอกบัวปิ่มน้ำ เมื่อโผ่พ้นน้ำได้รับแสงอาทิตย์ก็บาน
      62.3 เนยยะ           หมายถึง ผู้ที่ได้ฟังธรรมจากองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างละเอียดแล้วนำไปท่องจำ    ฝึกปฏิบัติอยู่เสมอ  ก็จะตรัสรู้ตาม    เปรียมเสมือนดอกบัวกลางน้ำ ก็บานจะบานในวันต่อไป
      62.4
      ปทปรมะ        หมายถึง  ผู้ที่ได้ฟังธรรมจากองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างละเอียดแล้วนำไปท่องจำ     ฝึกปฏิบัต      ก็ไม่สามารถตรัสรู้    เปรียมเสมือนดอกบัวใต้น้ำ เป็นอาหารของเต่าปลา
    63. พระคุณของพระพุทธเจ้าในบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณมี  9 ประการ ซึ่งสรุปโดยย่อได้  3 ประการ ดังนี้คือ
      63.1 พระบริสุทธิคุณ ( วิสุทธิคุณ)
      63.2 พระปัญญาคุณ
      63.3 พระกรุณาคุณ
    64. ก่อนที่องค์สัมมามัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้นั้น คำว่า  อรหันต์  มีใช้มานานแล้วในความหมายว่า อาจารย์ใหญ่
    65. พระพุทธเจ้าทรงนำคำว่า  อรหันต์  มาใช้ในความหมายว่า      ผู้ไกลจากกิเลส    ผู้สิ้นกิเลส
    66. ปัจเจกพุทธ  หมายถึง              ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแต่ไม่สามารถสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้
    67. พระสัมมาสัมพุทโธ  หมายถึง   ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสามารถสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้
    68. สัมมาสัมพุทธเจ้า  หมายถึง     เจ้าชายสิทธัตถะผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสามารถสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้
    69. สุตตันตะพุทธะ หมายถึง         ผู้ที่ตรัสรู้ตามคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า.
    70. สุคโต   หมายถึง           ผู้เสด็จไปดี
    71. พระพุทธเจ้า ได้เล่าว่า ก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้ ได้มี ปัจเจกพุทธ 5 องค์คือ
      71.1 พระศรีอารยเมตไตรย
      71.2 พระกกุสันธะ
      71.3 พระโกนาคมนะ
      71.4 พระโคตมะ
      71.5 พระกัสสปะ
    72. พระพุทธเจ้าทรงประกาศว่า พระองค์เป็นสัมมาสัมพุทโธ  ณ            ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
    73. พระพุทธเจ้าทรงประกาศว่า พระองค์เป็นสัมมาสัมพุทโธ เมื่อวันขึ้น  15 ค่ำ  เดือน  8  เรียกว่าวัน  อาสาฬหบูชา
    74. พระพุทธเจ้าทรงประกาศว่า พระองค์เป็นสัมมาสัมพุทโธ แก่พวก   ปัญจวัคคีย์
    75. ปัญจวัคคีย์ ประกอบด้วย 
      75.1 โกณฑัญญะ
      75.2 วัปปะ
      75.3 ภัททิยะ
      75.4 มหานามะ
      75.5 อัสสชิ
    76. ผู้ที่ยอมรับว่าโยคีย์สิทธัตถะ เป็นสัมมาสัมพุทโธ คนแรก คือ        โกณฑัญญะ
    77. พระอริยสงฆ์ มี  4  จำพวก ได้แก่             
      77.1 พระโสดาบัน
      77.2 พระสกทาคามี
      77.3 พระอนาคามี
      77.4 พระอรหันต์
    78. ผู้จะเป็นอริยบุคคลชั้นโสดาบัน  ต้องบรรลุ         โสดาปฏิผล
    79. วิปัสสนาญาณ  เป็นความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติ    วิปัสสนากรรมฐาน
    80. มโนยิทธิ  เป็นผู้มีฤทธิ์ทาง         ใจ
    81. เป้าหมายของอริยมรรค คือ        พระนิพพาน
    82. โลกวิทู หมายถึง                        ผู้รู้แจ้งโลก 
    83. รู้แจ้งโลก คือการรู้แจ้งเรื่อง       รู้แจ้งสภาวะแห่งโลก รู้ความเป็นไปในธรรมชาติทั้งปวง สังขารทั้งหลาย
    84. พระอัครสาวกเบื้องขวา ของพระพุทธเจ้า คือ        พระสารีบุตร ( อุปติสสะ )
    85. พระอัครสาวกเบื้องซ้าย ของพระพุทธเจ้า คือ       พระโมคคัลลานะ ( โกลิตะ )
    86. ในระบบวรรณะ ของศาสนาพราหมณ์ แบ่งออกเป็น  4  ชั้นได้แก่
      86.1 พราหมณ์ 
      86.2 กษัตริย์
      86.3 แพศย์        
      86.4 ศูทร
    87. ในระบบวรรณะ ของศาสนาพราหมณ์ ผู้จะมาเป็นครู จะต้องอยู่ในวรรณะ       พราหมณ์
    88. กลุ่มคนที่ถูกเหยียดหยาม เป็นที่รังเกียจ ในสังคมระบบวรรณะ คือ จัณฑาล
    89. พุทโธ  หมายถึง              
      เป็นผู้รู้ ( รู้ในธรรมชาติทั้งปวง )
      เป็นผู้ตื่นแล้ว ( ตื่นจากความงมงาย )
      ผู้เบิกบาน ( ไม่เศร้าหมอง )
    90. ภควา  หมายถึง เป็นผู้มีโชค
    91. อิทธิปาฏิหารย์  หมายถึง      สิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นเกินวิสัยที่มนุษย์ธรรมดาสามัญจะทำได
    92. ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึง อิทธิปาฏิหารย์ ไว้ในส่วนที่เรียกว่า คัทภีร์เกวัฏฏสูตร
    93. ปาฏิหารย์แบ่งออกเป็น  3 พวกเรียกว่า                                   
      93.1 อิทธิปาฏิหารย์
      93.2 อาเทสนาปาฏิหารย์
      93.3 อนุสานีปาฏิหารย์
    94. พระพุทธเจ้าทรงรังเกลียจปาฏิหารย์ประเภท    อิทธิปาฏิหารย์ อาเทสนาปาฏิหารย์
    95. พระพุทธเจ้าทรงยกย่องปาฏิหารย์ประเภท     อนุสานีปาฏิหารย์
    96. ปาฏิหารย์จะเกิดขึ้นได้ถ้าผู้นั้นได้ฝึกฝนทาง จิต
    97. อรรถกถาจารย์ คือ ผู้เขียนคำอธิบายพระไตรปิฎก
    98. อุปมาอุปไมย  หมายถึง     การเปรียบเทียบเป็นเชิงโวหาร.
    99. ผู้ที่ให้คำอธิบายอย่างมีเหตุผลเกี่ยวกับอิทธิปาฏิหารย์ ในพุทธประวัติเรื่อง วันประสูติ และเมื่อตอน  อสิตดาบสมาเยี่ยมพระกุมาร คือ กรมพระวชิรญาณวโรรส
    100. ปาฏิหารย์ครั้งแรก ของเจ้าชายสิทธัตถะ เชิงอุปมาอุปไมย คือ การประสูติจากพระครรภ์มารดาแล้วเดิน 7 ก้าว
    101. ปาฏิหารย์ครั้งแรก ของเจ้าชายสิทธัตถะ เชิงอุปมาอุปไมย มีความหมายว่า   เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะสำเร็จ เป็นพระพุทธเจ้าแล้วจะเผยแผ่ศาสนาไป 7 แคว้น
    102. พุทธจริยาหมายถึง       พระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้า
    103. การบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้าแยกออกเป็น          3        ประการ
    104. การบำเพ็ญประโยชน์ต่อชาวโลกโดยส่วนรวม เรียกว่า โลกัตถจริยา
    105. การบำเพ็ญประโยชน์ต่อพระญาติ เรียกว่า ญาตัตถจริยา
    106. การบำเพ็ญประโยชน์ต่อพุทธศษสนิกชน เรียกว่า        พุทธัตถจริยา
    107. สัตว์โลกในพระพุทธศาสนา  หมายถึง       โลกสวรรค์  โลกมนุษย์ โลกนรก
    108. เวไนยสัตว์ หมายถึง                    สัตว์ที่สอนได้
    109. สัตว์โลกที่สอนไม่ได้ ตามหลักทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า        อเวไนยสัตว์  หรือ  เดรัจฉาน
    110. หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเน้นเพื่อประโยชน์ต่อชาวโลกคือ    ความเมตตากรุณา
    111. พระญาติฝ่าย ศากยะ คือ         ฝ่ายพระบิดา
    112. พระญาติฝ่าย โกลิยะ คือ         ฝ่ายพระมารดา
    113. พระพุทธเจ้า ได้เสด็จไปสอนพระญาติฝ่ายพระพุทธบิดา  ณ   กรุง  กบิลพัสดุ์
    114. ผู้ที่ได้รับบรรพชา เป็นสามเณรองค์แรก ในพระพุทธศาสนาคือ       พระราหุล
    115. ภิกษุณีองค์แรกในพระพุทธศาสนา คือ          พระนางมหาปชาบดีโคตมี
    116. เดียรถีร์  หมายถึง         นักบวชนอกพระพุทธศาสนา
    117. เหตุที่เดียรถีย์  ต้องอยู่ปริวาส 4 เดือน ก่อนที่จะบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อทดลองว่าจะปฏิบัติตามพระธรรมวินัยได้หรือไม่
    118. พระเจ้าวิฑูฑภะ เป็นกษัตริย์แคว้น            โกศล
    119. เหตุที่พระเจ้าวิฑูฑภะจะยกทัพไปรบกับ พวกศากยะ เพราะ  โกรธแค้นที่พระเจ้าศากยดูหมิ่นพระองค์
    120. พระพุทธเจ้าต้องเสด็จไปห้ามทัพพระเจ้าวิฑูฑภะ ถึง         3       ครั้ง
    121. การที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปห้ามทัพพระเจ้าวิฑูฑภะ เป็นการบำเพ็ญพุทธกิจในเรื่อง    ญาตัตถจริยา
    122. กิจวัตรที่พระพุทธเจ้า ทรงปฏิบัติเป็นประจำทุกเช้า คือ       ออกบิณฑบาตและโปรดสัตว์
    123. พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมสั่งสอนพุทธบริษัทที่เป็นฆราวาสในเวลา          เย็น
    124. ในตอนกลางคืนพระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทแก่               พระภิกษุสงฆ์
    125. พระพุทธเจ้าทรงแก้ปัญหาให้แก่เทวดาที่มาทูลถามในเวลา               กลางคืน
    126. พระพุทธเจ้าทรงลุกจากบรรทมมาเข้าสมาธิแผ่พระญาณตรวจดูสัตว์โลกในเวลา          ใกล้รุ่ง
    127. ข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ปฏิบัติเพื่อความเหมาะสมและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขเรียกข้อบัญญัตินี้ว่า      พระวินัย
    128. เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วทรงมอบให้          พระธรรม               เป็นศาสดาแทนพระองค์      

Copyright By Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th