หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง
ในพระอุปถัมภ์ |
|||||
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
||||||
สารบัญ | ||||||
การเผยแผ่พระพุทธศาสนา |
1. การกำเนิดเป็นอย่างไร ? ...................................................................................................................................................................... 2. ศาสนาเกิดขึ้นได้อย่างไร? ...................................................................................................................................................................... 3. ศาสนา คือ คือ คำสั่งสอนของพระศาสดา หรือระบบปฏิบัติเพื่อให้รอดพ้นจากความทุกข์ 4. ศาสนา เกิดจาก 4.1 ความกลัว 4.2 ความปราศจากความรู้ 4.3 ความต้องการผลสนองตอบแทน 5. ศาสนาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 5.1 เทวนิยม 5.2 อเทวนิยม 6. ศาสนาที่จัดเป็นเทวนิยม ได้แก่ พราหมณ์-ฮินดู คริสต์ อิสลาม ซิกส์ 7. ศาสนาที่จัดเป็นอเทวนิยม ได้แก่ พุทธ เชน 8. ศาสนามีองค์ประกอบ 6 ประการ ได้แก่ 8.1 ผู้ก่อตั้ง ( ศาสดา ) 8.2 คัมภีร์ ( หลักคำสอน ) 8.3 สาวกและผู้นับถือ 8.4 พิธีกรรมทางศาสนา 8.5 ศาสนสถาน 8.6 จุดหมายปลายทาง 9. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยโบราณ นิยมกระทำในลักษณะ พระมหากษัตริย์หรือประมุขของประเทศ ให้ความอุปถัมภ์ ดำเนินการจัดส่งสมณทูตเดินทางไปเผยแผ่ในดินแดนต่าง ๆ 10. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยปัจจุบัน นิยมกระทำในลักษณะ ตามการอพยพของชาวเอเชียที่ นับถือพระพุทธศาสนา 11. พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลกเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช 12. การนับพุทธศักราชในประเทศไทยยึดหลักการนับพุทธศักราช 1 เมื่อ พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน 13. ผู้ให้ความอุปถัมภ์ในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 พระเจ้าอโศกมหาราช 14. การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 กระทำเมื่อ พ.ศ. 236 ณ วัด อโศการาม นคร ปาฏลีบุตร แคว้น มคธ ประเทศ อินเดีย ปัจจุบัน คือ เมือง ปัตนะ รัฐ พิหาร ประเทศ อินเดีย 15. ผู้เป็นประธาน ในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 คือ พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ 16. หลังจากทำการสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 3 เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระโมคคัลลีบุตร ได้จัดคณะธรรมทูต ออกเป็น 9 คณะออกไปเผยแผ่ดังนี้ 16.1 พระมัชฌันติกเถระ เป็นหัวหน้า ไปเผยแผ่ ณ แคว้นกัษมีระ แคว้นคันธาระ 16.2 พระมหาเทวะ เป็นหัวหน้า ไปเผยแผ่ ณ แคว้นมหิสมณฑล 16.3 พระรักขิตเถระ เป็นหัวหน้า ไปเผยแผ่ ณ วนวาสีประเทศ 16.4 พระโยนกธรรมรักขิตเป็นหัวหน้า ไปเผยแผ่ ณ อปรันตกชนบท 16.5 พระมหาธรรมรักขิตเถระ เป็นหัวหน้า ไปเผยแผ่ ณ แคว้นมหาราษฎร์ 16.6 พระมหารักขิตเถระ เป็นหัวหน้า ไปเผยแผ่ ณ เอเชียกลาง ( ประเทศอิหร่านและตุรกี ) 16.7 พระมัชฌิมเถระ เป็นหัวหน้า ไปเผยแผ่ ณ แถบเทือกเขาหิมาลัย ( เนปาล ) 16.8 พระโสณะเถระและพระอุตตรเถระ เป็นหัวหน้า ไปเผยแผ่ ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ 16.9 พระมหินทเถระ เป็นหัวหน้า ไปเผยแผ่ ณ เกาะลังกา 17. พระพุทธศาสนาได้เสื่อมสูญไปจากอินเดียตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 และได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งโดย ท่านธรรมปาละ เป็นชาว ศรีลังกา 18. ปัจจุบันในประเทศเนปาล ภูฏาน และสิกขิม นับถือพุทธศาสนานิกาย มหายาน 19. ผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองทั้งฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักรของทิเบต องค์ดาไล ลามะ 20. พระพุทธศาสนาในธิเบตแบ่งออกเป็น 4 นิกาย ได้แก่ 20.1 นิกายยิงมา 20.2 นิกายศากยะ 20.3 นิกายการคยุปะ 20.4 นิกายเคลุกปะ 21. พระพุทธศาสนาเข้าสู่ดินแดนจีนในสมัยของจักรพรรดิ เม่งเต้ แห่งราชวงศ์ ฮั่น 22. พระเถระจากอินเดีย 2 รูป ที่นำคัมภีร์พระไตรปิฎกไปยังจีนเป็นครั้งแรกคือ 22.1 พระกาศยมาตังคเถระ 22.2 พระธรรมรักษเถระ 23. ผู้แปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาจีนครั้งแรกคือ พระกาศยมาตังคเถระและพระธรรมรักษเถระ 24. พระพุทธศาสนาในจีนที่ถูกฟื้นฟูขึ้นมาใหม่เป็นพระพุทธศาสนาลัทธิ มหายาน 25. ปัจจุบันชาวจีนนับถือพระพุทธศาสนาควบคู่กับการนับถือลัทธิ ขงจื๊อ และลัทธิ เต๋า 26. พระสมณฑูตที่นำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ในประเทศเกาหลี คือ ซุนเตา ซึ่งเป็นสมณฑูต จากประเทศ จีน 27. พระพุทธศาสนาในเกาหลีเป็นมหายานแบบนิกาย เซน 28. ชาวพุทธในเกาหลีใต้นับถือพระพุทธเจ้า 2 องค์ ได้แก่ 28.1 พระอมิตตาภพุทธ 28.2 ศรีอารยเมตไตรย 29. พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านมาทางประเทศ เกาหลี 30. ชาวญี่ปุ่นเริ่มนับถือพระพุทธศาสนาในสมัยของจักรพรรดิองค์ที่ 29 พระนามว่า พระเจ้ากิมเมจิ 31. ผู้วางรากฐานในประเทศญี่ปุ่น ด้านการปกครองพร้อมกับสร้างสรรค์วัฒนธรรมด้วยการ ประกาศเชิดชู พระพุทธศาสนาคือ เจ้าชายโซโตกุ 32. พระพุทธศาสนารุ่งเรืองที่สุดในญี่ปุ่นในยุค โฮโก หรือ ลัทธรรมไพโรจน์ 33. เมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมลง ลัทธิที่ได้รับความนิยมนับถือแทนพระพุทธศาสนาคือ ลัทธิชินโต 34. ศาสนาพุทธในญี่ปุ่น นิกายที่เชื่อว่า เมื่อสิ้นชีวิตจะกำเนิดในดินแดนสุขาวดีคือ โจโด 35. ศาสนาพุทธในญี่ป่น นิกายที่ชาวนักรบ หรือซามูไรนับถือคือ เซน ( ชยานหรือฌาน ) 36. ศาสนาพุทธในญี่ปุ่น นิกายที่เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีพุทธภาวะแฝงอยู่ คือ เซน 37. ผู้สนับสนุนให้ชาวเนปาลนับถือพระพุทธศาสนา คือ พระเจ้าอโศกมหาราช 38. หลังจากที่พระพุทธศาสนา แบบเถรวาท ได้เสื่อมสูญไปจากประเทศเนปาล นิกายที่ได้เป็น ศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาคือ นิกาย มหายาน ตันตระ 39. ปัจจุบันสถานศึกษาในประเทศไทย ที่ พระภิกษุสามเณรชาวเนปาลเข้ามาศึกษาปริยัติธรรม คือ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และ มหามกุฎราชวิทยาลัย 40. ผู้พิมพ์หนังสือศาสนจักรแห่งบูรพาทิศชื่อ สเปนเซอร์ อาร์คี 41. หนังสือที่เผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่ทำให้ชาวอังกฤษเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มากขึ้น คือ ประทีปแห่งเอเชีย 42. ศาสตราจารย์ที ดับเบิลยู ริส เดวิดส์ได้จัดตั้งสมาคมพระพุทธศาสนาชื่อ บาลีปกรณ์ 43. วัดไทยแห่งแรกในอังกฤษชื่อ วัดพุทธประทีป ตั้งอยู่ที่กรุง ลอนดอน 44. ผู้นำกลุ่มชาวพุทธกลุ่มแรกในเยอรมันคือ ดร. คาร์ล ไซเดนสตือเกอร์ 45. สมาคมเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมัน ก่อตั้งขึ้นที่เมือง เลปซิก 46. หนังสือพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงได้รับการพิมพ์เผยแพร่ถึง 6 ชั่วอายุคนในเยอรมัน คือ พระพุทธวจนะ 47. หนังสือพระพุทธวจนะเขียนโดยพระภิกษุชาวเยอรมัน ฉายาว่า ท่านญาณดิลก 48. พุทธสมาคมต่าง ๆ ในเยอรมันต่างก็ประกาศเป็นสาขาของสมาคมมหาโพธิ์ในประเทศ ศรีลังกา 49. มหาวิทยาลัยที่ให้ความสนใจจัดการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในเยอรมัน คือ มหาวิทยาลัยเฮล 50. พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้โดย พ่อค้าชาวดัชต์และชาวพื้นเมืองจาก ประเทศอินโดนีเซียและศรีลังกา 51. พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าไปสู่ทวีปอเมริกาเหนือโดยชาว เอเชีย 52. พันเอก เอช. เอส. ออลคอตต์ ได้เขียนหนังสือชื่อ ปุจฉาวิสัชนาทางพุทธศาสนา 53. พุทธศาสนิกชนในสหรัฐอเมริกาในระยะแรกส่วนใหญ่เป็นชนชาติ จีนและญี่ปุ่น 54. วัดพระพุทธศาสนาแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาเป็นวัดพระพุทธศาสนานิกาย สุขาวดี 55. ประชาชนในรัฐแคลิฟอร์เนีย สามารถเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ปริญญาตรีถึงปริญญาเอก ได้ที่มหาวิทยาลัย พุทธธรรม 56. วัดไทยในสหรัฐอเมริกา นอกจากจะจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาแล้วยังเผยแพร่ความรู้ ในด้าน วัฒนธรรมและประเพณีไทย 57. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคนาดากระทำโดยผู้อพยพจากทวีป เอเชีย 58. พระพุทธศาสนาในแคนาดาส่วนใหญ่เป็นนิกาย สุขาวดี และนิกาย เซน 59. พระภิกษุชาวอังกฤษที่สอนพระพุทธศาสนาในออสเตรเลีย โดยเน้นการพัฒนาจิตใจ มีฉายาว่า พระสาส์นธชะ ( มร. อี สตีเวนสัน ). 60. สหพันธ์พระพุทธศาสนาแห่งออสเตรเลียอยู่ที่กรุง แคนเบอร์รา 61. พระพุทธศาสนาในนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่เผยแผ่โดยพระภิกษุชาว ญี่ปุ่น 62. องค์การที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกคือ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก พ.ส.ล. The World Fellowship of Buddhists : W.F.B. 63. คำว่า อารยะ แปลว่า เจริญ 64. อารยธรรม หมายถึง ความเจริญด้วยธรรมเนียมประเพณีอันดี 65. คำว่า วัฒนธรรม ที่กำหนดไว้ในพจนานุกรรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่แสดงออกถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ ตลอดจนศีลธรรมอันดีของประชาชน 66. แหล่งอารยธรรมของโลก มักเกิดขึ้นบริเวณ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ 67. วัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. วัฒนธรรมทางวัตถุ 2. วัฒนธรรมทางจิตใจ 67.1 วัฒนธรรมทางวัตถุ หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเป็นรูปธรรม 67.2 วัฒนธรรมทางจิตใจหมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเป็นนามธรรม เป็นประเพณี 68. วัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. วัตถุธรรม 2. คติธรรม 3. สหธรรม 4. เนติธรรม 68.1 วัตถุธรรม หมายถึง วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น โดยไม่ได้หมายถึงเฉพาะวัตถุทางศิลปกรรมเท่านั้น ยังรวมถึงบ้านเรือน เครื่องแต่งกาย ข้าวของเครื่องใช้ ถนนหนทาง เครื่องอำนวยความสะดวกทุกชนิด 68.2 คติธรรม หมายถึง วัฒนธรรมทางด้านศีลธรรม เป็นจารีตประเพณีซึ่งถือเป็นหลักของการดำเนินชีวิต ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาซึ่งสอนในเรื่องของกรรม โดยสอนให้เชื่อในเหตุและผลความเป็นไปใน ธรรมชาติ มากกว่าความศรัทธา 68.3 สหธรรม หมายถึง วัฒนธรรมทางสังคม หรือวัฒนธรรมในการติดต่อเกี่ยวข้องกับกลุ่มชน เป็นมารยาทในสังคม เช่น การมารยาทในการพูด การใช้ภาษา มารยาทการรับประทานอาหาร ฯลฯ 68.4 เนติธรรม หมายถึง วัฒนธรรมทางด้านกฎหมาย หรือขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีความสำคัญเสมอด้วยกฎหมายหรือการกระทำบางอย่างที่ไม่มีกฎหมายห้ามไว้ แต่ถ้าใครทำเข้าก็เป็นที่รังเกียจของสังคม เช่น พ่อแม่มีหน้าที่เลี้ยงดูบุตรถ้าพ่อแม่เพิกเฉยละทิ้งหน้าที่ ก็จะถูกกฎหมายลงโทษ แต่เมื่อลูกโตขึ้นไม่เลี้ยงดู พ่อแม่ ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย บ้านเมืองจะลงโทษไม่ได้ แต่จะเป็นที่ครหานินทาของสังคม 69. ในสมัยพุทธกาลมีระบอบการปกครองที่ใช้อยู่ 2 ระบอบคือ 69.1 สมบูรณาญาสิทธิราช 69.2 สามัคคีธรรม 70. ธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์ตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา คือ ทศพิศราชธรรม 71. การปกครองที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์ขาดเพียงผู้เดียว เป็นการปกครองแบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ 72. การปกครองระบอบสามัคคีธรรม คล้ายกับการปกครองระบอบ อภิชนาธิปไตย 73. การปกครองแบบอภิชนาธิปไตย หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ใช้อำนาจอธิปไตยปกครองประเทศแล้วประชาชน มีความสุข 74. การปกครองแบบคณาธิปไตย หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ใช้อำนาจอธิปไตยปกครองประเทศแล้ว คณะผู้ปกครองมีความสุข ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 75. หลักธรรมสำหรับการปกครองที่ปรากฏในพระพุทธศาสนาสอดคล้องกับลัทธิการปกครอง ในปัจจุบัน ซึ่งเรียกว่าการปกครองแบบ ประชาธิปไตย 76. ราชจริยานุวัตร 4 เป็นธรรมสำหรับ พระมหากษัตริย์ 77. ราชจริยานุวัตร 4 ประกอบด้วย 77.1 สัสสเมธะ 77.2 ปุริสเมธะ 77.3 สัมมาปาสะ 77.4 วาจาเปยยะ 78. พระมหากษัตริย์ทรงมี สัสสเมธะ หมายถึง ทรงมีพระปรีชาในการเกษตร 79. พระมหากษัตริย์ทรงมี ปุริสเมธะ หมายถึง ทรงมีพระปรีชาในการปกครองคน 80. พระมหากษัตริย์ทรงมี สัมมาปาสะ หมายถึง ทรงมีวิธีการที่ดีในการคล้องใจคน 81. พระมหากษัตริย์ทรงมี วาจาเปยยะ หมายถึง ทรงมีพระวาจาอ่อนหวาน 82. พระพุทธศาสนา ส่งเสริมการศึกษาทางโลก คือ พาหุสัจจะ 83. พระพุทธศาสนา ส่งเสริมการศึกษาทางธรรม คือ ไตรสิกขา 84. พหุสัจจะ หมายถึง ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมากหรือความเป็นพหูสูต 85. ไตรสิกขา หมายถึง หลักคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นภาคปฏิบัติ (ปฏิบัติธรรม) 86. ไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา 87. คำสอนของพระพุทธเจ้าที่สอดคล้องกับหลักทางวิทยาศาสตร์ คือ อริยสัจจ 4 88. ทศพิธราชธรรม คือ ธรรมทางพระพุทธศาสนาสำหรับพระมหากษัตริย์ 89. ทศพิธราชธรรม ประกอบด้วย 89.1 ทาน 89.2 ศีล 89.3 บริจาค 89.4 อาชวะ 89.5 มัทวะ 89.6 ตบะ 89.7 อักโกธะ 89.8 อวิหิงสา 89.9 ขันติ 89.10 อวิโรธนะ 90. บริจาค หมายถึง ความเสียสละ เวลา ความสุข และกิเลส 91. ทาน หมายถึง การให้ของที่สมควรแก่บุคคลที่สมควร 92. ศีล หมายถึง ความประพฤติเรียบร้อยทั้งกาย วาจา ใจ 93. อาชวะ หมายถึง ความซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่น 94. มัทวะ หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยนทั้งกายวาจา 95. ตบะ หมายถึง ความเพียรอย่างแรงกล้า ไม่ท้อถอย 96. อักโกธะ หมายถึง ความไม่โกรธ 97. อวิหิงสา หมายถึง ความไม่เบียดเบียน 98. ขันติ หมายถึง ความอดทน 99. อวิโรธนะ หมายถึง ความไม่ผิดไปจากทำนองคลองธรรมและประเพณีอันดีงาม 100. คำสอนทางพระพุทธศาสนา ส่งเสริมอารยธรรมทางจิตใจให้เจริญถึงจุดสุดยอดเรียกว่า นิพพาน 101. ลิจฉวีอปริยหานิยธรรม เป็นการปกครองระบอบ สามัคคีธรรม 102. ลิจฉวีอปริยหานิยธรรม มีหลักในการประชุม คือ หมั่นประชุมกันเสมอ พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม 103. ระบอบการปกครองแบบสามัคคีธรรม มีหลักธรรม ลิจฉวีอปริหานิยธรรม เป็นหลักในการปกครองดังนี้ 103.1 หมั่นประชุมกันเสมอ 103.2 พร้อมเพียงกันประชุม พร้อมเพียงกันเลิกประชุม พร้อมเพียงกันทำกิจกรรมส่วนรวม 103.3 ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ได้บัญญัติไว้ ไม่ถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนเดิมตามที่บัญญัติไว้ 103.4 ให้ความเคารพนับถือแก่นักปกครองผู้ใหญ่และฟังคำของท่าน 103.5 ไม่บังคับกดขี่เอากุลสตรีมาเป็นนางบำเรอ 103.6 สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ปูชนียสถานทั่วไป 103.7 ให้การอารักขา คุ้มครองป้องกันอันเป็นธรรมแก่นักบวชผู้มี ศีลาจารวัตร ปรารถนาให้ท่านมาสู่รัฐของตน ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข 104. พิธีกรรมบูชายัญ ในสมัยก่อน ที่พระพุทธเจ้าจะยกเลิกไปนั้น มี 4 ประเภทได้แก่ 104.1 อัศวเมธะ 104.2 โคเมธะ 104.3 ราชสูยะ 104.4 นรเมธะ 105. อัศวเมธะ หมายถึง การฆ่าม้าบูชายัญ ในพิธีปล่อยมาอุปการ เพื่อประกาศความเป็นพระจักรพรรดิเมื่อม้าผ่านไปในประเทศต่าง ๆ โดยไม่มีใครจับกุมขัดขวางครบปีแล้ว นำกลับมาฆ่าบูชายัญ 106. โคเมธะ หมายถึงการฆ่าโคบูชายัญ เลือกโคที่มีลักษณะดี ไม่มีตำหนิมาฆ่าบูชาเทวดา 107. ราชสูยะ หมายถึงพิธีราชาภิเษก มีการเชิญกษัตริย์ในประเทศใกล้เคียงมาร่วมพิธีและ ฆ่าช้างบูชายัญในพิธี 108. นรเมธะ หมายถึง การฆ่าคนบูชายัญ นำเชลยศึกมาฆ่า บูชาเทพเจ้าที่ตนนับถือ แสดงความขอบคุณเทพเจ้าที่ช่วยให้ชนะในสงคราม 109. ประติมากรรม ในพระพุทธศาสนาส่วนใหญ่ คือ การหล่อ การปั้น การแกะสลัก พระพุทธรูป 110. คำสอนทางพระพุทธศาสนา มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยดังนี้ 110.1 ทางด้านคติธรรม มีความเชื่อในกฎแห่งกรรม คือทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว คนไทยจึงมีความอดทน รักความเป็นอิสระ แต่ก็ยอมรับสภาพความทุกข์ได้รับ โดยถือว่าเป็นผลแห่งกรรมเก่าของตน แต่ก็มีความหวังว่าชีวิตใหม่จะดีขึ้น ถ้าทำแต่ความดี ผลแห่งความดีก็จะสนองให้เห็นทันตา 110.2 ทางด้านเนติธรรม มีความเคารพในสิทธิของผู้อื่น มีระเบียบวินัย เพราะมีหลักคำสอนทางพุทธศาสนา ที่ห้ามลักทรัพย์ ห้ามประพฤติผิดทางเพศ ห้ามโกหก ฯลฯ หลักกฎหมายต่าง ๆ ที่คนไทยบัญญัติขึ้นก็ใช้หลักทางพุทธศาสนา 110.3 ทางด้านสหธรรม มีคุณธรรมต่าง ๆ ที่ทำให้อยู่ร่วมกันได้ด้วยความสงบสุข เช่นมีจิตใจโอบอ้อมอารี ไม่ผูกพยาบาทนอบน้อมถ่อมตน มีความเกรงใจผู้อื่น เชื่อฟังเคารพนับถือบุคคลตามลำดับอาวุโสและ ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ 110.4 ทางด้านวัตถุธรรม มีศรัทธามั่นคงในการทำบุญและให้ทาน ด้วยเหตุนี้คนไทยนิยมสร้างวัดวาอาราม พระเจดีย์ พระพุทธรูป ดังนั้นศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรมต่าง ๆ จึงเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ 111. ภาพวาดบนฝาผนังในโบสถ์และวิหาร จัดเป็นศิลปกรรมด้าน จิตรกรรม 112. ให้นักเรียนยกตัวอย่างวรรณกรรม ของไทยที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา ทศชาติ (พระเตมีย์ พระมหาชนก พระสุวรรณสาม พระมโหสถ พระภูริทัตต์ พระจันทกุมาร พระพรหมนารท พระวิวิธุรบัณฑิต พระเวสสันดร ) เตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) 113. คำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่องชั้นวรรณะคือ มนุษย์เราไม่ได้ดีหรือเลวเพราะวรรณ แต่ดีหรือเลว เพราะการกระทำ ใครจะเกิดในตระกูลใด ยากดีมีจนอย่างไรไม่สำคัญ ถ้าตั้งอยู่ในศีลธรรมแล้ว ก็เชื่อได้ว่าเป็นคนดีควรที่จะได้รับการยกย่องสรรเสริญ 114. หัวใจของพระพุทธศาสนาคือ การทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส (โอวาท 3) 115. พระพุทธเจ้าสอนให้ทำอย่างไรแทนการบูชายัญ การทำบุญ 10 ประการ( บุญกิริยาวัตถุ 10 ) |
Copyright By Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |