องค์การการค้าโลก
หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
 
องค์การการค้าโลก

องค์การการค้าโลก World Trade Organization -WTO
        เป็นองค์การนานาชาติสังกัดองค์การสหประชาชาติทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงทางด้านการค้าระหว่างชาติ เป็นเวทีสำหรับการเจรจาต่อรอง ตกลงและขจัดข้อขัดแย้งในเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางการค้า และการบริการระหว่างประเทศสมาชิก
องค์การการค้าโลกจัดตั้งขึ้นแทน "ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร" หรือ แกตต์ (GATT) เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ปัจจุบันมีสมาชิก 150 ประเทศ         ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 28 ธันวามคม พ.ศ. 2538 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 59 ประเทศล่าสุดคือประเทศตองกา มีงบประมาณปี พ.ศ. 2549 เป็นเงิน175 ล้านฟรังก์สวิส (5,170 ล้านบาท) มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสำนักเลขาธิการ 635 คน เลขาธิการคนปัจจุบันชื่อนายปาสกัล ลามี สืบต่อจากนายศุภชัย พานิชภักดิ์ที่ดำรงตำแหน่งต่อจาก นายไมค์ มัวร์ 
องค์การการค้าโลก จะทำหน้าที่ดูแลข้อตกลงย่อย 3 ข้อตกลง คือ
   1. ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร (General Agreement on Tariff and Trade; GATT) ที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้
   2. ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services; GATS)
   3. ความตกลงว่าด้วยการค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา (The agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights; TRIPS)
        องค์กรขององค์การค้าโลกทำหน้าที่กำหนดนโยบายตลอดจนควบคุมการดำเนินงานของสมาชิกในเรื่องต่างๆ เรียงลำดับความสำคัญคือ
        ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี
Ministerial Conference
        คณมนตรีทั่วไป
General Council
        คณะมนตรี
Council
        และคณะกรรมการต่างๆ Committee
ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของสมาชิกองค์การการค้าโลก โดยมีฝ่ายเลขานุการช่วยด้านการบริหารงานทั่วไป องค์การการค้าโลก กำหนดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีอย่างน้อยทุกๆ 2 ปี เพื่อทบทวนปัญหา ในการปฏิบัติตามข้อผูกพันของสมาชิกและวางแนวทางในการเปิดเสรีภายใต้องค์การการค้าโลก
หน้าที่ขององค์การการค้าโลก มีหน้าที่หลักดังต่อไปนี้
        1. บริหารความตกลงและบันทึกความเข้าใจในความดูแล 28 ฉบับ โดยผ่านคณะมนตรี COUNCIL และคณะกรรมการ COMMITTEE ต่าง ๆ ตลอดจนดูแลให้มีการปฏิบัติตามพันธกรณี
        2. เป็นเวทีกลางเพื่อเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในรูปของมาตรการภาษีศุลกากรและที่มิใช่ภาษีศุลกากร
        3. เป็นเวทีกลางเพื่อให้ภาคีสมาชิกหันหน้ามาเจรจากันเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้า และถ้าหากไม่สามารถตกลงกันได้ องค์การการค้าโลกก็จะจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณา PANEL ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และให้ข้อเสนอแนะแก่ประเทศคู่กรณี
        4. ติดตามดูแลสถานการณ์ทางการค้าระหว่างประเทศ IMF และจัดให้มีการทบทวนนโยบายทางการค้าของประเทศสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ
        5. ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านข้อมูล ข้อแนะนำ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีได้ ตลอดจนศึกษาประกันการค้าที่สำคัญ ๆ
        6. ประสานงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลก เพื่อให้การดำเนินนโยบายมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th