หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง
ในพระอุปถัมภ์ |
|||||
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
||||||
สารบัญ | ||||||
องค์การสหประชาชาติ |
องค์การสหประชาชาติ The United Nations Organizion -UN สหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง มีเจตนาเพื่อเป็นองค์การรักษาสันติภาพของชาวโลก ยุติข้อขัดแย้งและสงคราม โดยความร่วมมือของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา นายแฟรงคลิน ดี รูสเวท์ และนายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษคือ นายวินสตัน เซอร์ชิล (ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น) เดิมสหประชาชาติใช้ชื่อเต็มในภาษาอังกฤษว่า United Nations Organization หรือ UNO แต่มักถูกเรียกว่า United Nations หรือ UN คำว่า สหประชาชาติ ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2485 ในเอกสาร "คำประกาศโดยสหประชาชาติ" ซึ่งมีประเทศมหาอำนาจ 4 ประเทศ ลงนามในประกาศฉบับนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีน และ สหภาพโซเวียต การประชุมเพื่อจัดตั้งสหประชาชาติได้จัดขึ้น 5 ครั้ง ได้แก่ 1. การประชุมบนเรือออกุสตา ในมหาสมุทรแอตแลนติก เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2484 2. การประชุมที่กรุงมอสโก ประเทศสหภาพโซเวียต เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 3. การประชุมที่คฤหาสน์ลัมเบอร์ตันโอคส์กรุงวอชิงตันดี.ชี. ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ.2487 4. การประชุมที่แหลมไครเมีย เมืองยัลตา ประเทศสหภาพโซเวียต เมื่อปี พ.ศ. 2488 5. การประชุมที่เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 ได้มีการประชุมครั้งสุดท้าย และมีการตกลงก่อตั้งสหประชาชาติขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีสำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาและสมาชิกเริ่มต้นทั้งสิ้น 51 ประเทศ ส่วนประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 1946 โดยเป็นสมาชิกลำดับที่ 54 ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ มีสมาชิกทั่วโลก 191 ประเทศ (เมษายน 2548) วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ 1. ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ 2. การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน 3. การเคารพในหลักความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ 4. การส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของประชากรโลกตลอดจนส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี ระหว่างประเทศ |
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |