โอเปค Organization of Petroleum Exporting Countries OPEC
อำนาจที่ทรงพลังต่อระบบเศรษฐกิจโลกนั้น คือ น้ำมันดิบ หรือ ที่มีการเปรียบกันว่าเป็น ทองสีดำ Black Gold หมายถึงกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก เป็นองค์การนานาชาติ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือทางด้านนโยบายน้ำมัน และช่วยเหลือด้านเทคนิคและเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิก
ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือน มกราคม พ.ศ.2503 มีสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศอันประกอบด้วย ประเทศซาอุดิอาระเบีย ประเทศอิรัก ประเทศอิหร่าน ประเทศคูเวต และประเทศเวเนสุเอลา เดิมมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต่อมีสมาชิกเพิ่มอีก 8 ประเทศ ได้แก่ กาตาร์ อินโดนีเซีย ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แอลจีเรีย ไนจีเรีย เอกวาดอร์ และกาบอง รวมมีสมาชิก 13 ประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ.2535 ประเทศเอกวาดอร์ได้ลาออก และในปี พ.ศ.2538 ประเทศกาบองได้ลาออก ปัจจุบันจึงเหลือสมาชิกเพียง 11 ประเทศ ตามทวีปต่างๆ ดังนี้
ตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย 7 ประเทศ ได้แก่
1. ประเทศซาอุดิอาระเบีย
2. ประเทศอิรัก
3. ประเทศอิหร่าน
4. ประเทศคูเวต
5. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
6. ประเทศกาตาร์
7. อินโอนีเซีย
ตั้งอยู่ในทวีปอัฟริกา 3 ประเทศ ได้แก่
1. ประเทศไนจีเรีย
2. ประเทศแอลจีเรีย
3. ประเทศแองโกลา
อยู่ในทวีปอเมริกาใต้ 1 ประเทศ ได้แก่ ประเทศเวเนสุเอลา
รวมเป็น 11 ประเทศ ในปีพ.ศ. 2508 ได้ย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
ในระยะเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มโอเปค การขุดเจาะน้ำมันในประเทศสมาชิกต่างเป็นการลงทุนและดำเนินการโดย บริษัทน้ำมันต่างชาติ ประเทศเจ้าของบ่อน้ำมันได้รับค่าภาคหลวงตอบแทน ซึ่งเป็นผลประโยชน์ส่วนน้อย การร่วมมือของกลุ่มโอเปคในช่วงนี้ จึงมี
จุดมุ่งหมายสำคัญ 3 ประการ คือ
1. เพื่อเจรจากับบริษัทน้ำมันผู้ได้รับสัมปทานในการตั้งกองทุนน้ำมันดับให้เท่ากันทุกประเทศ
2. เพื่อนำราคาน้ำมันดิบที่เป็นผลมาจากการเจรจาใช้เป็นฐานในการคำนวณเป็นรายได้ของประเทศ
3. เพื่อเป็นอำนาจต่อรองในการยึดครองหรือโอนกิจการน้ำมันเป็นของรัฐต่อไป |