ภูมิศาสตร์โลก World Geography | ||
ภูมิประเทศ topography | ||
ทวีปเอเชีย | ||
เอเชีย : ทวีปที่มีภูมิประเทศทุกรูปแบบ ที่กล่าวว่าทวีปเอเชียมีภูมิประเทศทุกรูปแบบพิจารณาจากลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ แม้จะมีความแตกต่างกันไป ตามบริเวณต่าง ๆ แต่โดยภาพรวมของทวีปแล้วมีภูมิประเทศทุกลักษณะมีจุดที่สูงที่สุดของโลกส่วนที่เป็นแผ่นดิน คือยอดเขาเอเวอเรสต์ ในเขตเทือกเขาหิมาลัย มีจุดที่ลึกที่สุดของโลกส่วนที่เป็นมหาสมุทรคือ ร่องลึกบาดาลมาเรียนา ในมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้กับชายฝั่งประเทศฟิลิปปินส์ |
||
3.1 เทือกเขาสูง | ||
ภูมิประเทศเทือกเขาสูงถือเป็นลักษณะเด่นที่ของทวีปเอเชียอีกประการหนึ่ง โดยเทือเขาสูงจะอยู่เกือบใจกลางของทวีป ทำหน้าที่เสมือนเป็นหลังคาโลกที่กล่าวว่าเป็นเสมือนหลังคาโลกเนื่องจากเป็นบริเวณที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางมากที่สุดของโลก ประกอบกับเป็นจุดรวมของเทือกเขาสูงที่สำคัญ ๆ ของทวีปเอเชีย ที่วางตัวแยกย้ายออกไปในทุกทิศทาง รวมทั้งเป็นต้นกำเนิด ของแม่น้ำ สายสำคัญ ๆ ที่มีทิศทางการไหลออกในทุกทิศทางเช่นกัน ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับส่วนประกอบของบ้านแล้ว คล้ายกับหลังคาบ้านซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดของบ้านและปันน้ำฝนให้ไหลไปยังทิศทางต่าง ๆ นั่นเอง เทือกเขาสูงที่สำคัญของทวีปเอเชีย พิจารณาตามทิศทางการวางตัวได้ดังนี้ |
||
เทือกเขาที่วางตัวแยกออกไปทางด้านตะวันตก ซึ่งมี 2 แนวย่อยคือ แนวที่แยกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ คือ มีเทือกเขาฮินดูกูช แนวที่แยกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ มีเทือกเขาสุไลมาน |
||
เทือกเขาที่วางตัวแยกออกไปทางด้านตะวันออก มี 3 แนวย่อยคือ แนวเทือกเขาที่ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาเทียนซาน เทือกเขาอัลไต เทือกเขายาโบลโนวี เทือกเขาสตาโนวอย และเทือกเขาโคลีมา |
||
ขณะที่แนวตะวันออกมีเทือกเขาคุนลุนซานเทือกเขาโคลีมา เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาอาระกันโยมา รวมทั้งที่ต่อเนื่องลงไปเป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย และมีแนวเทือกเขาที่ต่อเนื่องลงมา ทางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากยูนนานนอต ผ่านพม่า ลาว ไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะอินโดนีเซีย เทือกเขาสูงต่าง ๆ ของทวีปเอเชียทำหน้าที่เป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำสำคัญ ๆ หลายสาย เช่น บริเวณหลังคาโลก เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายใหญ่หลายสาย ที่มีทิศทางการไหลออกในทุกทิศทาง ทางเหนือมีแม่น้ำออบ เยนิเซ ลีนา ทางตะวันออกเฉียงเหนือมีแม่น้ำอามูร์ทางตะวันออกมีแม่น้ำฮวงเหอ แยงซี ทาวตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำโขง อิรวดี สาละวัน ทางใต้มีแม่น้ำสินธุ คงคา พรหมบุตร และทางตะวันตกมีแม่น้ำอามูร์ดาร์ยา เป็นต้น |
||
เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียทำหน้าที่เป็นแนวปะทะลม ทำให้เกิดเขตฝนชุกหรือเขตแห้งแล้ง ช่วยลดความรุนแรงจากพายุหมุน เช่น | ||
เทือกเขาหิมาลัยที่วางตัวขวางทิศทางลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้ด้านหน้าภูเขาบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย ซึ่งเป็นด้านรับลมเป็นบริเวณ | ||
ที่มีปริมาณฝนเฉลี่ยต่อปีสูงที่สุดในโลก คือมากกว่า 3,000 มิลลิเมตร | ||
ขณะที่ด้านหลังภูเขาลึกเข้ามาในแผ่นดินเป็นเขตแห้งแล้งหรือเทือกเขาอันนัม ที่วางตัวขนานไปกับชายฝั่งเวียดนาม ช่วยเป็นแนวปะทะพายุใต้ฝุ่น ที่พัดมาจากมหาสมุทรแปซิฟิกให้ได้รับความเสียหายน้อยลง เป็นต้น | ||
เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียมีพื้นที่ป่าไม้ประเภทต่าง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ตามสันเขา ไหล่เขา หรือ หุบเขา เป็นพื้นที่ที่เข้าถึงยากและไม่เหมาะ | ||
ต่อการใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม จึงทำให้หลงเหลือเป็นพื้นที่ป่าที่สำคัญของทวีปเอเชีย | ||
เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียมีแหล่งแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ เช่น แร่ดีบุกที่พบมากบริเวณคาบสมุทรมลายู มีการผลิตดีบุกมาก ตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต เทือเขานครศรีธรรมราช ต่อเนื่องไปถึงเทือกเขาในประเทศมาเลเซีย หรือแม้แต่ธาตุอาหารในดินที่มีประโยชน์ต่อการปลูกพืชก็ได้รับจากพื้นที่เทือกเขาสูงเช่นกัน โดยการผุสลายและถูกพัดพามากับสายน้ำสะสมตัวในที่ต่ำทำให้การปลูกพืชได้ผลดี เป็นต้น | ||
นอกจากนี้เทือกเขาสูงยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของทวีปเอเชีย เช่น เทือกเขาที่มียอกเขาสูงมาก ๆ เทือกเขาเอเวอเรสต์ที่มีระดับสูงถึง 8,888 เมตร จะมีหิมะปกคลุมอยู่ตลอดปีเนื่องจากระดับความสูงเพิ่มขึ้น จะทำให้อุณหภูมิลดลงความแปลกแตกต่างจากเทือกเขาทั่วไปรวมทั้งระดับสูงที่สุด ทำให้นักปีนเขาที่ชอบความท้าทาย มาเยือนเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งของการท่องเที่ยว เป็นต้น เทือกเขาสูงต่าง ๆ มักจะมีสัณฐานย่อยที่ใช้เป็นภูมิทัศน์เพื่อการท่องเที่ยว เช่น มีหน้าผาเป็นจุดชมวิว มีน้ำตก มีโตรกเขา มีพืชพรรณทีหาดูได้ยาก รวมทั้งมีอากาศเย็น เป็นต้น | ||
3.2 ที่ราบสูง (Plateau) คือ พื้นที่ค่อนข้างอยู่สูงกว่าที่ต่ำโดยรอบ จากนิยามดังกล่าวที่ราบสูงจึงเป็นลักษณะของภูมิประเทศรูปแบบหนึ่ง ที่มีขนาดพื้นที่และระดับสูง 180-300 เมตร เช่น แผ่นดินตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่มีระดับสูงส่วนใหญ่เพียง 150-250 เมตร และมีพื้นที่ 169,954 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น เรียกที่ราบสูงโคราชเนื่องจากระดับความสูงไม่มากนักแยกออกจากที่ราบภาคกลางและที่ราบต่ำเขมรอย่างชัดเจน ขณะที่ที่สูงที่อยู่ระหว่างเทือกเขาหิมาลัยกับเทือกเขาคุลุนซาน ซึ่งมีระดับสูงเฉลี่ยถึง 4,500 เมตร และมีพื้นที่ 1.2 ล้านตารางกิโลเมตร ก็เรียกว่า ที่ราบสูงทิเบต เป็นต้น |
||
ดังนั้นลักษณะภูมิประเทศที่ราบสูงของทวีปเอเชียจึงปรากฏกระจายอยู่โดยทั่วไป ซึ่งมีขนาดพื้นที่และระดับสูงแตกต่างกันไป ในที่นี้จะได้กล่าวถึงเฉพาะที่ราบสูงขนาดใหญ่ ได้แก่ | ||
- ที่ราบสูงบริเวณตอนกลางของทวีป ได้แก่ ที่ราบสูงทิเบต ที่เป็นส่วนหนึ่งของหลังคาโลก ถือเป็นที่ราบสูงที่มีระดับสูงที่สุดของโลกและเอเชีย ที่ราบสูงยูนนาน บริเวณจีนตอนใต้ซึ่งเป็นจุดรวมของเทือกเขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | ||
- ที่ราบสูงบริเวณตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป ได้แก่ ที่ราบสูงเดคคาน บริเวณคาบสมุทรอินเดีย ที่ราบสูงอิหร่าน บริเวณประเทศอิหร่านและอัฟกานิสถาน ที่ราบสูงอาหรับ บริเวณคาบสมุทรอาหรับ ที่ราบสูงอนาโตเลีย บริเวณประเทศตุรกี - ที่ราบสูงที่สุดในโลก | ||
-ที่ราบสูงทิเบตเป็นที่ราบผืนใหญ่ที่อยู่ระหว่างเทือกเขาคุนลุนซานทางด้านเหนือกับเทือกเขาหิมาลัยทางด้านใต้มีพื้นที่ประมาณ 1.2 ล้านตารางกิโลเมตร และมีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง เฉลี่ย 4,500 เมตร นับว่าเป็นที่ราบสูงผืนใหญ่ที่สูงที่สุดในโลก ทางทิศตะวันตกขอที่ราบสูงทิเบตมีที่ราบสูงผืนใหญ่ แต่อยู่สูงที่สุดในโลกเรียก หลังคาโลก ซึ่งภาษาพื้นที่เมืองแถบนั้นเรียกว่า ปามีร์ดุนยา (Pamir Dunya) หรือ ปามีร์นอต (Pamir Knot) มีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 8,611 เมตร พื้นที่บริเวณหลังคาโลกจะเป็นจุดรวมของเทือกเขาสูงที่สำคัญของทวีปเอเชีย | ||
- ที่ราบสูงบริเวณตอนเหนือของทวีป ได้แก่ ที่ราบสูงไซบีเรียตอนกลาง บริเวณประเทศรัสเซียที่ราบสูงขนาดใหญ่ของทวีปเอเชียส่วนใหญ่จะเป็นเขตฝนน้อย บางแห่งถึงกับเป็นทะเลทราย เช่น ที่ราบสูงอิหร่าน ที่ราบสูงอาหรับ ที่ราบสูงทิเบต เป็นต้น เนื่องจากอยู่ในเขตอับฝนหรือด้านหลังเขานั่นเอง | ||
3.3 ที่ราบ (Plain) | ||
ที่ราบ เป็นลักษณะภูมิประเทศรูปแบบหนึ่งที่มีความแตกต่างระดับภายในพื้นที่น้อยมากจนดูเหมือนราบเรียบเป็นผืนเดียวต่อเนื่องกัน ทั้งที่ความจริงอาจจะมีความสูง-ต่ำแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยธรรมชาติที่ราบมักจะเป็นพื้นที่รับน้ำและตะกอนวัตถุต้นกำเนิดดินที่ผุสลายแล้ว ถูกพาเคลื่อนย้ายจากที่สูงกว่าทั้งภูเขาสูงหรือที่ราบสูงมาสะสมทับถมกัน ทำให้ที่ราบมีดินดี มีน้ำเพียงพอ ประกอบกับที่ราบมีการเข้าถึง การเดินทางเคลื่อนย้ายได้สะดวกจึงมักจะเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากรมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ที่ราบปรากฏอยู่บนแผ่นดินทวีปเอเชียจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ ที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบชายฝั่ง ซึ่งมีระดับสูงและมีขนาดของพื้นที่แตกต่างกันไป ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่ราบที่สำคัญของทวีปเอเชีย ดังนี้ | ||
1. ที่ราบตอนเหนือ คือ บริเวณที่ราบที่อยู่ถัดจากที่สูงตอนกลางขึ้นไปทางทิศเหนือเป็นดินแดนที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปเอเชียในเขตไซบีเรีย ส่วนใหญ่อยู่ในเขตโครงสร้างแบบหินเก่าที่เรียกว่า แองการาชีลด์ เป็นที่ราบขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย เรียกว่า ที่ราบไซบีเรีย อยู่ในพื้นที่ของประเทศรัสเซีย ในเขตทวีปเอเชีย มีน้ำสายใหญ่ 3 สาย ไหลผ่านกัดเซาะนำเอาตะกอนที่สูงมาสะสมในที่ตำคือ แม่น้ำออบ แม่น้ำเยนิเซ และแม่น้ำลีนา ที่ราบไซบีเรียแบ่งออกเป็น 2 บริเวณ โดยที่ราบสูงไซบีเรียตอนกลาง เป็นแนวแบ่งเขต ได้แก่ ที่ราบไซบีเรียด้านตะวันตกและที่ราบไซบีเรียด้านตะวันออก ซึ่งที่ราบไซบีเรียด้านตะวันออกจะมีระดับสูงมากกว่า โดยภาพรวมที่ราบตอนเหนือ อาณาเขตกว้างขวางมาก แต่ไม่ค่อยมีผู้คนอาศัยอยู่ ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ราบ เนื่องจากมีภูมิอากาศหนาวเย็นมากและทำการเพาะปลูกไม่ได้ จึงมีประชากรอาศัยอยู่เบาบางมาก เนื่องจากอยู่ในละติจูดสูงทำให้มีอากาศหนาวเย็น ซึ่งอากาศที่หนาวเย็นนอกจากจะไม่เหมาะในการอยู่อาศัยแล้วยังทำให้การเพาะปลูกไม่ค่อยได้ผล | ||
2. ที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นบริเวณที่ราบที่ได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำสายใหญ่และสาขาในการปรับระดับพื้นที่ โดยการนำพาเอาตะกอนวัตถุต้นกำเนิดดินที่อุดมสมบูรณ์มาสะสมทับถม ทำให้ดินมีสภาพดี เมื่อมีดินดี มีน้ำบริบูรณ์ จึงเป็นเขตเพาะปลูกที่สำคัญที่สุดของทวีปเอเชีย บางแห่งอาจจะมีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูน้ำหลากจึงเรียก ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบลุ่มแม่น้ำของทวีปเอเชียส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ทางด้านตะวันออก ด้านใต้ และด้านตะวันออกเฉียงใต้ ดังนี้ |
||
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงเหอ ในประเทศจีน - ที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน - ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศปากีสถานและอินเดีย - ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาในประเทศอินเดีย - ที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ในประเทศบังกลาเทศ และอินเดีย - ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส หรือดินแดนเมโสโปเตเมีย ในประเทศอิรัก - ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างในประเทศกัมพูชา และเวียดนาม - ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงในประเทศเวียดนาม - ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย - ที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวินในประเทศพม่า - ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า |
||
3. เขตที่ราบชายฝั่งทะเล เป็นลักษณะภูมิประเทศรูปแบบหนึ่งที่มีความแตกต่างระดับภายในพื้นที่น้อยจนดูราบเรียบและติดชายฝั่งทะเล ทำให้ได้รับอิทธิพลจากการกระทำของทะเลจนเกิดเป็นสัณฐานย่อยประกอบชายฝั่ง เช่น สันทราย เนินทราย ชายหาด หัวแหลม เป็นต้น ซึ่งที่ราบชายฝั่งที่ระดับน้ำทะเลมีการขึ้น-ลง ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ในบางช่วงเวลาเรียกว่า ที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล หรือ ที่ราบลุ่มน้ำกร่อย โดยปกติที่ราบชายฝั่งมักจะเป็นแนวเชื่อมต่อกันระหว่างน้ำจืดจากแผ่นดินกับน้ำเค็มในทะเล ทำให้เกิดลักษณะที่พิเศษบางอย่างของที่ราบแถบนี้ เช่น เกิดน้ำกร่อย ทำให้พืชพรรณต้องปรับตัวเฉพาะเพื่อให้อยู่รอด เป็นต้น ที่ราบชายฝั่งของทวีปเอเชียจะปรากฏอยู่ทั้งในมหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอาร์กติก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปเป็นชายฝั่งที่กว้างบ้างแคบบ้าง เว้า ๆ แหว่ง ๆ หรือราบเรียบ เป็นหาดทราย หาดโคลน หรือหาดเลนซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะทางธรณีในเรื่องของหินและแร่ที่อยู่เบื้องหลังชายฝั่งทำให้เกิดตะกอนทรายหรือดินเหนียว ชายฝั่งบางช่วงป่าชายเลนถูกทำลายด้วยการกระทำของมนุษย์ เช่น ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นนากุ้ง หรือเป็นท่าเรือขนส่งสินค้า เป็นต้น |
||
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Klongtoei Klongtoei Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|