ลักษณะทางการเมืองการปกครองในทวีปอเมริกาใต้
เป็นสังคมการเมืองการปกครองแบบกึ่งประชาธิปไตยกึ่งเผด็จการ
มีความสัมพันธ์กันทางการเมืองระหว่างประเทศในทวีปอเมริกาใต้ค่อนข้างดี
เนื่องจากมีวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ ที่ต้องแยกตัวออกจาก การเป็นเมืองขึ้นของชาวยุโรป
แต่ก็ยังได้รับอิทธิพลรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยจากประเทศสหรัฐอเมริกาและจากประเทศในทวีปยุโรป
ทุกประเทศ หลังจากได้รับเอกราชแล้ว ก็มีการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
แต่การปกครองระบอบประชาธิปไตยมักไม่ค่อยมั่นคง เกิดการปฏิวัติรัฐประหารบ่อย
โดยทหารจะเข้ามามีอำนาจในการปกครอง จนคล้ายกับการปกครองเผด็จการแบบทหารหรือผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีมักจะเป็นทหารมาก่อน
รูปแบบการปกครองของประเทศในทวีปอเมริกาใต้
มี 3 ลักษณะดังนี้
1. ประเทศที่มีการปกครองแบบมีรัฐบาลรวม
ประเทศ |
เมืองหลวง |
จำนวนรัฐ |
บราซิล |
บราซิลเลีย |
23 |
เวเนซุเอลา |
คารากัส |
20 |
2. ประเทศที่มีการปกครองแบบมีรัฐบาลเดียว ส่วนใหญ่มีการปกครองแบบสาธารณรัฐ
มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ได้แก่
ประเทศ |
เมืองหลวง |
สาธารณรัฐโคลัมเบีย |
โบโกตา |
สาธารณรัฐกายอานา |
จอร์จทาวน์ |
สาธารณรัฐซูรินาเม |
ปารานาริโป |
สาธารณรัฐเอกาดอร์ |
คิโต |
สาธารณรัฐเปรู |
ลิมา |
สาธารณรัฐโบลิเวีย |
ลาปาซ |
สาธารณรัฐชิลี |
ซานติเอโก |
สาธารณรัฐปารากวัย |
อะซุนซิโอน |
สาธารณรัฐอุรุกวัย |
มอนเตวิเดโอ |
สาธารณรัฐอาร์เจนตินา |
บูเอโนสไอเรส |
3. ดินแดนที่ยังไม่ได้รับเอกราช ได้แก่
ดินแดน |
เมืองศูนย์กลาง |
อยู่ในการดูแล |
เฟรนซ์กิอานา |
กาเยน |
ฝรั่งเศส |
หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ |
สแตนลีย์ |
อังกฤษ |
|