ภูมิประเทศ
หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
ภูมิประเทศ
land

ลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือแบ่งออกเป็น 4 ดังนี้
1. เขตเทือกเขาสูงทางตะวันตก
2. เขตที่ราบภาคกลาง
3. เขตหินเก่าแคนาดา
4. เขตเทือกเขาหินเก่าภาคตะวันออก
          1. เขตเทือกเขาสูงทางตะวันตก เกิดจากการโก่งตัวของหินเปลือกโลกที่มีอายุน้อย เป็นแนวเทือกเขาสลับซับซ้อน
จากเหนือสุดบริเวณช่องแคบเบริ่งต่อเนื่องถึงแนวเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้ ประกอบด้วยแนวเทือกเขาชายฝั่ง ได้แก่ เทือกเขาอลาสกา ซึ่งมียอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ ชื่อ “แมกคินเล่ย์ มีความสูงถึง6,190 เมตร เทือกเขาโคสท์เรนจ์ เทือกเขาแคสเคต เทือกเขาเซียร์ราเนวาดา เทือกเขาเซียร์รามาเดรตะวันตก และแนวเทือกเขาตอนใน ได้แก่ เทือกเขายูคอน เทือกเขารอกกี และเทือกเขาเซียร์รามาเดรตะวันออกในเม็กซิโก ระหว่างแนวเทือกเขาชายฝั่งและเทือกเขารอกกี ซึ่งเป็นแนวเทือกเขาภายใน มีที่ราบสูงคั่นอยู่หลายแห่ง เริ่มจากเหนือลงมาใต้ ได้แก่ ที่ราบสูงยูคอน ที่ราบสูงบริติชโคลัมเบีย ที่ราบสูงโคลัมเบียสเนค ที่ราบสูงโคโลราโดและที่ราบสูงเม็กซิโก บริเวณที่ราบสูงโคโลราโด มีลักษณะภูมิประเทศเป็นโกรกธารหุบเหวลึกและมีหน้าผาสูงชันมาก ซี่งเกิดจากการไหลกัดเซาะของ แม่น้ำโคโลราโด ทำให้เกิดเป็นภูมิประเทศที่สวยงาม บริเวณที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ “แกรนแคนยอน” ในรัฐอริโซนาบริเวณเทือกเขาและที่ราบสูงนี้ ส่วนใหญ่รัฐบาลสงวนไว้ให้เป็นวนอุทยานเพื่อการพักผ่อนและยังเป็นการรักษาต้นน้ำลำธารเอาไว้อีกด้วย วนอุทยานที่มีชื่อเสียงมากมากคือ เยลโลสโตน มีพื้นที่กว้างถึง 5.5 ล้านไร่ มีน้ำพุร้อนที่พุ่งสูงมากที่เรียกว่า “กีเซอร์” มีจำนวนมากถึง 120 แห่ง
          2. เขตที่ราบภาคกลาง เป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีอาณาเขตตั้งแต่มหาสมุทรอาร์กติก ทางตอนเหนือลงมาจนถึงอ่าวเม็กซิโกทางตอนใต้และอยู่ระหว่างเทือกเขารอกกี กับ เทือกเขาอัปปาเลเชียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 เขตดังนี้
               2.1 ที่ราบลุ่มแม่น้ำแมกเคนซี อยู่ทางตอนเหนือสุด ระหว่างเขตหินเก่าแคนาดา กับเทือกเขารอกกี เป็นที่ราบแคบ ๆ
ซึ่งมีอากาศหนาวเย็น จึงเป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่น้อย แม่น้ำแมกเคนซีไหลลงสู่มหาสมุทรอาร์กติกบริเวณทะเลโบฟอร์ต
               2.2 เขตที่ราบทุ่งหญ้าแพรรีแคนาดา เป็นที่ราบใหญ่อยู่ทางตอนกลางติดพรมแดนสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้แก่มณฑล ซาสแกตเชวัน อัลเบอร์ตา และมานิโทบาเป็นแหล่งปลูกข้าวสาลีที่สำคัญของแคนาดา
               2.3 เขตที่ราบรอบทะเลสาบเกรตเลกส์และลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ ประกอบด้วยทะสาบน้ำจืด 5 แห่งได้แก่ สุพีเรียมิชิแกน ฮูรอน อีรี และออนแตริโอโดยทะเลสาบทั้ง 5 นี้มีคลองเชื่อมติดต่อกันหมดน้ำในทะเลสาบนี้ไหลลงสู่แม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเนื่องจากระดับน้ำในทะเลสาบทั้ง 5 มีความต่างระดับกันจึงทำให้เกิดน้ำตก เช่น น้ำตกในแอการา ซึ่งอยู่ระหว่างทะเลสาบอีรีและออนแตริโอเป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งของโลก
               2.4 ที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี อยู่ทางตอนใต้ของทะเลสาบเกรตเลกส์จนถึงอ่าวเม็กซิโก แม่น้ำมิสซิสซิปปีมีสาขามากมาย เช่น แม่น้ำมิสซูรี โอไฮโอ เทนเนสซี อาร์คันซอและแม่น้ำแดง แม่น้ำมิสซิสซิปปี ไหลลงสู่อ่าวเม็กซิโก
                2.5 ที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นที่ราบที่อยู่ระหว่างเทือกเขาอัปปาเลเชียนและมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นเขตปลูกยาสูบที่สำคัญ โดยปลูกมากในรัฐแคโรไลนาเหนือ เคนตักกีและเวอร์จีเนีย
               2.6 เขตที่ราบเกรตเพลน เป็นเขตที่มีพื้นที่กว้างขวาง ค่อนข้างแห้งแล้ง เนื่องจากเป็นเขตเงาฝน อยู่ทางตะวันออกของเทือกเขาร็อกกี เป็นเขตที่มีการเลี้ยงวัวเนื้อ โดยปล่อยให้หากินเอง
          3. เขตหินเก่าแคนาดา หรือ
แคนาเดียนชิลด์ Canadian Shield หรือ Laurentian Shieldได้แก่ บริเวณรอบ ๆอ่าวฮัดสันจนถึงเกรตเลกส์ เป็นเขตหินเก่าเช่นเดียวกับบอลติกชิลด์ในทวีปยุโรปประกอบด้วยหินเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่และผ่านการสึกกร่อนมาเป็นเวลาหลายร้อยล้านปี อากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะทางตอนเหนือของเขตนี้ มีธารน้ำแข็งปกคลุม บางแห่งเป็นทะเลสาบที่ตื้นเขิน มีป่าสนขึ้นแทน ทำให้มีประชากรอาศัยอยู่น้อยส่วนใหญ่เป็นพวกเอสกิโม ซึ่งสร้างที่อยู่อาศัยด้วยน้ำแข็งเรียกว่า “อิกลู” Igloo
          4. เขตเทือกเขาหินเก่าทางตะวันออก
หรือ เทือกเขาอัปปาเลเชียน หรือ ประกอบด้วยเทือกเขาเตี้ย ๆ ขนานไปกับชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในเขตนี้พื้นที่มีความต่างระดับกัน ทำให้เกิดแนวน้ำตกมากมาย

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Klongtoeay Klongtoeay Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile