koppen_climate1
หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
climate

ระบบการแบ่งภูมิอากาศของเคิปเปน Köppen มีการนำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวางในการแบ่งลักษณะภูมิอากาศของโลก โดยระบบการแบ่งภูมิอากาศส่วนใหญ่ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันจะอ้างอิงมาจากระบบการแบ่งภูมิอากาศของ ดร. วลาดิเมียร์ เคิปเปน Wladimir Köppen นักภูมิอากาศวิทยาชาวเยอรมัน-รัสเซีย ที่ได้เสนอไว้ ในปี คศ. 1900 เคิปเปนได้แบ่ง เขตภูมิอากาศ บนพื้นผิวโลกโดยอาศัยลักษณะของพืชพรรณธรรมชาติและดินที่เหมือนกัน
ระบบของเคิปเปน มีรูปแบบภูมิอากาศหลักอยู่ 5 แบบ อ้างอิงจากค่าเฉลี่ยรายเดือนและรายปีของอุณหภูมิและปริมาณน้ำจากอากาศ (หยาดน้ำฟ้า: precipitation) เช่น ฝน หิมะ ลูกเห็บ เป็นต้น แต่ละรูปแบบใช้สัญลักษณ์เป็นอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ ดังนี้
A
-หมายถึง ภูมิอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร เป็นเขตที่มีอุณหภูมิสูงและฝนตกชุกตลอดปี
B
-หมายถึง ภูมิอากาศแห้งแล้ง เป็นเขตที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยและมีช่วงอุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุด ที่แตกต่างกันมากในแต่ละวัน มี 2 กลุ่มย่อย คือ S หมายถึง เขตกึ่งแห้งแล้ง หรือ สเต็ปป์ และ W หมายถึง เขตแห้งแล้ง หรือ ทะเลทราย ซึ่งใช้ร่วมกับภูมิอากาศแบบ B
C
-หมายถึง ภูมิอากาศอบอุ่นชื้นแถบละติจูดกลาง มีความแตกต่างมากระหว่างส่วนที่เป็นพื้นดินกับส่วนที่เป็นน้ำ ภูมิอากาศแบบนี้จะมีทั้งฤดูร้อนที่อบอุ่น แห้งแล้ง และฤดูหนาวที่หนาวเย็น และอากาศชื้น
D
-หมายถึง ภูมิอากาศชื้นภาคพื้นทวีป พบในเขตที่มีพื้นที่กว้างภายในทวีป ปริมาณโดยรวมของน้ำจากอากาศ (หยาดน้ำฟ้า: precipitation) ไม่สูงมากนัก และมีอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากระหว่างอุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุด
E
-หมายถึง ภูมิอากาศขั้วโลก ภูมิอากาศแบบนี้ EFพบในบริเวณที่มีน้ำแข็งปกคลุมอย่างถาวร และพื้นที่แบบทุนดรา (tundra) ET ซึ่งในแต่ละปีพื้นที่แบบนี้จะมีระยะเวลาเพียงแค่ 4 เดือนเท่านั้นที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็ง
ลักษณะภูมิอากาศ กลุ่มย่อยอื่นๆ จะใช้สัญลักษณ์เป็นอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก วางไว้ต่อจากกลุ่มหลักทั้ง 5 แบบ ซึ่งหมายถึงลักษณะเฉพาะที่มีความแตกต่างกันของอุณหภูมิและปริมาณน้ำจากอากาศในแต่ละฤดูกาล อาทิ
 f
-หมายถึง เขตที่มีความชื้นสูง มีปริมาณหยาดน้ำฟ้ามากในแต่ละเดือนและไม่มีฤดูแล้ง ตัวอักษรกลุ่มนี้ใช้ร่วมกับภูมิอากาศแบบ A , C และ D
m
-หมายถึง ภูมิอากาศแบบป่าฝน โดยจะมีภูมิอากาศแบบแห้งแล้งเป็นช่วงสั้นๆ ในแต่ละรอบมรสุม ภูมิอากาศแบบนี้ใช้ร่วมกับภูมิอากาศแบบ A เท่านั้น
s
-หมายถึง ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในช่วงฤดูร้อน ในฤดูหนาวอากาศอบอุ่นและมีฝนตกใช้ร่วมกับภูมิอากาศแบบ C เท่านั้น
w
-หมายถึง ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งและไม่มีฝนตกในช่วงฤดูหนาวใช้ร่วมกับภูมิอากาศแบบ A , C และ D 
 กลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งที่ใช้บรรยายภูมิอากาศเพิ่มเติม ซึ่งจะวางจากกลุ่มหลักและกลุ่มรอง ได้แก่
a
-หมายถึง ภูมิอากาศร้อนในฤดูร้อน เดือนที่ร้อนที่สุดจะมีอุณหภูมิสูงกว่า 22 องศาเซลเซียส (72 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งจะพบในภูมิอากาศแบบ C และ D
b
-หมายถึง ภูมิอากาศอบอุ่นในฤดูร้อน เดือนที่ร้อนที่สุดจะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 22 องศาเซลเซียส (72 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งจะพบในภูมิอากาศแบบ C และ D
c
-หมายถึง ภูมิอากาศแบบหนาวเย็น มีฤดูร้อนเป็นช่วงสั้นๆ ซึ่งน้อยกว่า 4 เดือนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 10 องศาเซลเซียส (50 องศาฟาเรนไฮต์) พบในภูมิอากาศแบบ C และ D
d
-หมายถึง ภูมิอากาศแบบหนาวเย็นมากในฤดูหนาว เดือนที่มีอุณหภูมิต่ำที่สุด จะมีอุณหภูมิต่ำกว่า -38 องศาเซลเซียส (-36 องศาฟาเรนไฮต์) พบในภูมิอากาศแบบ D เท่านั้น
h
-หมายถึง ภูมิอากาศแบบร้อนและแห้งแล้งในเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยในแต่ละปีสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส (64 องศาฟาเรนไฮต์) พบในภูมิอากาศแบบ B เท่านั้น
 k
-หมายถึง ภูมิอากาศแบบหนาวเย็นและแห้งแล้งในเขตร้อนอบอุ่น อุณหภูมิเฉลี่ยในแต่ละปีต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส (64 องศาฟาเรนไฮต์) พบในภูมิอากาศแบบ B เท่านั้น
เขตภูมิอากาศ
symbol
zone climate
ลักษณะอากาศเขตร้อน
A
tropical climate
ลักษณะอากาศเขตแห้งแล้ง
B
dry climate
ลักษณะอากาศเขตอบอุ่น
C
warm climate
ลักษณะอากาศเขตหิมะ
D
snow climate
ลักษณะอากาศเขตทุ่งน้ำแข็ง
E
ice climate
ลักษณะอากาศเขตที่สูง
H
high land climate
ชื่อภูมิอากาศ
symbol
climate

ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นฝนชุก

Af
tropical rainforest climate
ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน
Aw
tropical grassland climate
ภูมิอากาศแบบมรสุม
Am
moonsoon climate
ภูมิอากาศแบบทะเลทราย
BW
desert climate
ภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย
BS
semidesert climate
ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน
BWh
tropical desert climate
ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตอบอุ่น
BWk
middle-latitude desert climate
ภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทรายเขตร้อน
BSh
tropical semidesert climate
ภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทรายเขตอบอุ่น
BSk
middle-latitude semidesert climate
ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
Cw
middle-latitude grassland climate
ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น
Cf
humid climate
ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน
Cs
mediterranean climate
ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
Cwa
middle-latitude grassland climate
ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น(กึ่งร้อนชื้น)
Cfa
humid subtropical climate
ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร
Cfb
marine westcoast climate
ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร
Cfc
marine westcoast climate
ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน
Csa
dry summer subtropical climate
ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน
Csb
mediterranean climate
ภูมิอากาศแบบหนาวชื้น
Df

humid continental climate 

ภูมิอากาศแบบหนาวชื้นแห้งแล้งในฤดูหนาว
Dw
continental subarctic climate
ภูมิอากาศแบบหนาวชื้นภาคพื้นทวีป
Dfa
humid continental climate
ภูมิอากาศแบบหนาวชื้นภาคพื้นทวีป
Dfb
continental climate 
ภูมิอากาศแบบกึ่งอาร์กติก
Dwa
continental subarctic climate
ภูมิอากาศแบบไทกา (ป่าสนไทกา)
Dwb
taiga climate
ภูมิอากาศแบบทุนดรา (ภูมิอากาศแบบอาร์กติก)
ET
tundra climate, Arctic climate
ภูมิอากาศแบบทุ่งน้ำแข็ง
EF
icecap climate
ภูมิอากาศแบบเทือกเขาสูง
H
mountain climate
     
 Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Klongtoeay Klongtoeay Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@gmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile