climate
หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
ภูมิศาสตร์เบื้องต้น
การได้รับแสงจากดวงอาทิตย์
climate

อะนาเลมมา Analemma

          อนาเลมมา (analemma)  เกิดจากแกนเอียงของโลกและวงโคจรที่มีความรีมาก ถ้าแกนโลกไม่เอียงและวงโคจรเป็นวงกลม  โลกจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะมาถึงจุดเดิมในเวลาเดียวกัน หรือที่เก่าเวลาเดิมทุกวัน  แต่เพราะแกนหมุนของโลกเอียงไป 23.5 องศา ทางเดินปรากฏของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าหรือสุริยวิถี (ecliptic) เทียบกับเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าที่(solstice) (โซลสติช) เดือนมิถุนายนหรือ(summer solstice)(ซัมเมอร์โซลสติช)  ดวงอาทิตย์อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 23.5 องศา และเดือนธันวาคมหรือ(winter solstice)(วินเตอร์โซลสติช) ดวงอาทิตย์อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรไป 23.5 องศา    การเดินทางของดวงอาทิตย์ที่ไปทางเหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตรอธิบายความยาวของรูปแบบอนาเลมมาได้ว่า
          วงโคจรของโลกมีความรีไม่เป็นวงกลม  ระยะทางที่โลกห่างจากดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งปี
โลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดต้นมกราคมและอยู่ไกลที่สุดต้นกรกฎาคม
          
ดังนั้นคนที่ซีกโลกเหนือ เห็นดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ตามสุริยวิถีได้เร็วกว่าค่าเฉลี่ยในฤดูหนาวแต่ช้ากว่าค่าเฉลี่ยในฤดูร้อน   เกิดความไม่สมมาตร   บ่วงทางใต้ในฤดูหนาวจะกว้างและเป็นบ่วงแคบในฤดูร้อนทางซีกเหนือ ดังแสดงจากภาพ ด้านบน
            เนื่องจากดวงอาทิตย์ไม่ได้เดินข้ามท้องฟ้าด้วยอัตราเร็วคงที่ตลอดทั้งปี  มันมาถึงเมอริเดียน(ครึ่งวงกลมสมมุติที่ผ่านทิศเหนือและใต้และจุดเหนือศีรษะ) ในเวลาเที่ยงวันท้องถิ่นไม่ตรงทุกวันคือไม่ตรงกับค่าเฉลี่ย   ฤดูใบไม้ร่วงของซีกโลกเหนือ ดวงอาทิตย์ปรากฏเดินเร็ว นั่นคือมันข้ามเมอริเดียนหลายนาทีก่อนถึงเวลาเที่ยงท้องถิ่นค่าเฉลี่ย  ในฤดูหนาวดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ช้าหรือมาล่าช้ากว่าค่าเฉลี่ย    ความแตกต่างระหว่างเวลาเที่ยงวันท้องถิ่นเฉลี่ยและเวลาที่ดวงอาทิตย์ผ่านเมอริเดียนเรียกว่า สมการของเวลา ที่ผู้ใช้นาฬิกาแดดเข้าใจดี

 Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Klongtoei Klongtoei Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@gmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile