earth6
หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
ภูมิศาสตร์เบื้องต้น
โลก
earth

          โลก earth เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 3 จากดวงอาทิตย์ เรียงลำดับ ดาวพุธ ดาวศุกร์ และดาวโลก
วงโคจร: 149,600,000 ก.ม. (1.00 หน่วยดาราศาสตร์) จากดวงอาทิตย์
          โลกมีมวล : 5.9736 x 1024 ก.ก.
          เส้นผ่านศูนย์กลาง : 12,757 ก.ม. ลากตามแนวนอน( ตะวันตก-ตะวันออก)
          เส้นผ่านศูนย์กลาง : 12,714 ก.ม. ลากจากขั้วโลกเหนือสู่ขั้วโลกใต้
          โลกเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่มิได้ถูกตั้งชื่อตามเทพนิยายกรีกและโรมัน คำว่า "Earth" มาจากภาษาอังกฤษและเยอรมันโบราณ และยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกหลายร้อยชื่อใน ภาษาต่าง ๆ ในเทพนิยายโรมัน เทพเจ้าแห่งโลกเป็นเพศหญิงชื่อ เทลลุส แปลว่าดินซึ่งอุดมสมบูรณ์ (กรีก : กาเอีย )
  
          ลักษณะรูปทรงของโลก(Earth) จากการศึกษาของนักดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ และนักสำรวจ พบว่าโลกมีรูปทรงแบบ ทรงรีที่ขั้วทั้งสองยุบตัวลง (Oblate Ellipsoid) หรือเราเรียกว่าทรงรีแห่งการหมุน เนื่องมาจากสภาวะของโลกที่หนืด เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองทำให้เกิดแรงเหวี่ยง และทำให้เกิดการยุบตัวบริเวณขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้ และป่องตัวออกบริเวณส่วนกลางหรือเส้นศูนย์สูตร สามารถสังเกตได้จากความยาวของเส้นศูนย์สูตร ที่มีความยาว 12,757 กิโลเมตร (7,927 ไมล์) และระยะทางจากขั้วโลกเหนือมาขั้วโลกใต้มีความยาว 12,714 กิโลเมตร (7,900 ไมล์) ซึ่งมีความแตกต่างกัน 43 กิโลเมตร (27 ไมล์) รูปทรงแบบ ยีออยด์ (Geoid) เป็นไปตามสภาพพื้นผิวโลกที่มีความขรุขระสูงต่ำดังนั้นส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปจะมีลักษณะนูนสูงจึงต้องมีการปรับลักษณะพื้นผิวโลกเสียใหม่ โดยใช้แนวของพื้นผิวของระดับน้ำทะเลตัดผ่านเข้าพื้นดินที่มีระดับเท่ากันกับรูปทรงโลก เรียกว่า รูปทรงของโลกแบบยีออยด์ (Geoid)
มนุษย์เราเพิ่งจะรู้ว่าโลกเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในสมัยของ โคเปอร์นิคัส (คริสต์ศตวรรษที่ 16) มนุษย์ทำการศึกษาโลกมานานแล้ว แต่เราเพิ่งจะทำแผนที่รอบโลกได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้เอง การส่งยานอวกาศหรือดาวเทียม ออกไปโคจรรอบโลก ทำให้ได้ข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มเติมอีกมากมาย เช่นการสำรวจทรัพยากร การศึกษาและพยากรณ์สภาพอากาศ การติดตามพายุเฮอริเคน
             เราทำการศึกษาภายในของโลก โดยแบ่งออกเป็นชั้นตามความลึก ตามองค์ประกอบทางเคมี และการเคลื่อนตัว

 
หน่วยเป็น ก.ม.
โลก : ชั้นเปลือกโลก  
0
-
16
ไซอัล (sial layer) เปลือกโลก(crust)
16
40 ไซมา (sima layer)

ชั้นแนวแบ่งเขตมอฮอรอวีชีช (Mohorovicic Discontinuity)
เนื้อโลกตอนบนสุด (Uppermost sphere)   มีสถานะเป็นของแข็ง เป็นฐานรองรับเปลือกโลกทวีป และเปลือกโลกมหาสมุทร อยู่ใต้แนวแบ่งเขตมอฮอรอวิชีช  Mohorovicic Discontinuity เรียกโดยรวมว่า ธรณีภาค (Lithosphere) มีความหนาโดยรวมประมาณ 30 – 100 กิโลเมตร

40
-
700
แมนเทิลชั้นบน (Uppermost sphere)  ชั้นเนื้อโลก(mantle)
700
-
2900
แมนเทิลชั้นล่าง (Lower mantle)
2900
-
5150
แกนนอก (outter core) แกนโลก(core)
5150
-
6378
แกนใน (inner core)

     
โครงสร้างของโลก   แบ่งออกเป็น 3 ชั้น หลัก ได้แก่
1.เปลือกโลก crust
2.เนื้อโลก mantle และ
3.แก่นโลก core
        1.เปลือกโลก (Crust)  เป็นผิวโลกชั้นนอก มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นซิลิกาไดออกไซด์ และอะลูมิเนียมออกไซด์ ประกอบด้วยเปลือกโลกทวีปและเปลือกโลกมหาสมุทร
        1.1 เปลือกโลกทวีป (Continental crust)  เป็นส่วนชั้นนอกสุดของโลก ส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิต มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น ซิลิกอน อะลูมิเนียม และออกซิเจน มีความหนาเฉลี่ย 35 กิโลเมตร  ความหนาแน่น 2.7 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร 
        1.2 เปลือกโลกมหาสมุทร (Oceanic crust)  ส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น มีเหล็ก แมกนีเซียม ซิลิกอน และออกซิเจน ความหนาเฉลี่ย 5 กิโลเมตร ความหนาแน่น 3  กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร มากกว่าเปลือกทวีป  ดังนั้นเมื่อเปลือกโลกทั้งสองชนกัน เปลือกโลกทวีปจะถูกยกตัวขึ้น ส่วนเปลือกโลกมหาสมุทรจะจมลง และหลอมละลายเป็นแมกมาอีกครั้ง

         เปลือกโลกมีความหนาไม่เท่ากัน ใต้ท้องมหาสมุทรจะบาง และหนาตรงบริเวณที่เป็นแผ่นดิน ตรงแกนในและเปลือกเป็นของแข็ง แกนนอกและชั้นแมนเทิลเป็นวัตถุหลอมละลาย ในสถานะกึ่งของเหลว ชั้นต่าง ๆ ถูกแบ่งเป็นสัดส่วนโดยมิต่อเนื่องกัน (discontinuities) ซึ่งเราทราบได้จากข้อมูลแผ่นดินไหว เช่น Mohorovicic ซึ่งอยู่ระหว่างเปลือกโลกกับแมนเทิลชั้นบน มวลส่วนมากของโลกจะเป็นแมนเทิลเหลวร้อนถัดมาก็คือแกนโลก ส่วนเปลือกโลกที่เราอยู่อาศัยนั้น มีมวลเล็กน้อยมากถ้าเทียบกับมวลทั้งหมด

                                                    ข้อมูลข้างล่าง มีหน่วยคูณด้วย 10 ยกกำลัง 24 ก.ก.

บรรยากาศ
=
0.0000051
มหาสมุทร
=
0.0014
เปลือก
=
0.026
แมนเทิล
=
4.043
แกนนอก
=
1.835
แกนใน
=
0.09675

          2. เนื้อโลก (Mantle)  
คือส่วนซึ่งอยู่อยู่ใต้เปลือกโลกลงไปจนถึงระดับความลึก 2,900 กิโลเมตร   มีองค์ประกอบหลักเป็นซิลิคอนออกไซด์ แมกนีเซียมออกไซด์ และเหล็กออกไซด์ แบ่งออกป็น 3 ชั้น ได้แก่
        2.1 เนื้อโลกตอนบนสุด (Uppermost sphere)  มีสถานะเป็นของแข็ง เป็นฐานรองรับเปลือกโลกทวีป และเปลือกโลกมหาสมุทร อยู่ใต้แนวแบ่งเขตโมโฮโรวิชิก เรียกโดยรวมว่า ธรณีภาค (Lithosphere) มีความหนาโดยรวมประมาณ 30 – 100 กิโลเมตร 
        2.2 เนื้อโลกตอนบน (Upper mantle) หรือบางครั้งเรียกว่า ฐานธรณีภาค (Asthenosphere) อยู่ที่ระดับลึก 100 – 700 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อน  อุณหภูมิที่สูงมากทำให้แร่บางส่วนหลอมละลายเป็นหินหนืด (Magma) เคลื่อนที่หมุนวนด้วยการพาความร้อน (Convection) 
        2.3 เนื่อโลกตอนล่าง (Lower mantle) มีสถานะเป็นของแข็งที่ระดับลึก 700 – 2,900 กิโลเมตร มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเหล็ก แมกนีเซียม และซิลิเกท
แมกมา magma   เป็นสารเหลวร้อนที่เกิดตามธรรมชาติอยู่ใต้ผิวโลก สามารถเคลื่อนตัวไปมาได้ในวงจำกัด อาจมีของแข็ง อาทิ ผลึกเศษหินแข็งและแก้สรวมอยู่ด้วย หรืออาจไม่มีก็ได้ เมื่อแมกมาแทรกหรือดันขึ้นมาสู่ผิวโลกแล้วไหลลามออกมาจากปล่องภูเขาไฟหรือจากรอยแยกของเปลือกโลก ขณะทียังร้อนมีลักษณะเหนียวหนืด เรียกว่า ลาวา lava เมื่อเย็นตัวลงเราเรียก หินอัคนีภายนอก extrusive igneous  rock
หรือ อัคนีพุ

        3. แก่นโลก (Core) 
คือส่วนที่อยู่ใจกลางของโลก มีความหนาประมาณ 3,500 กิโลเมตร มีความหนาแน่นมากที่สุด มีองค์ประกอบหลักเป็นเหล็ก แบ่งออกเป็น 2 ชั้น 
        3.1 แก่นโลกชั้นนอก (Outer core) เป็นเหล็กในสถานะของเหลว มีความหนาแน่นมาก เคลื่อนที่หมุนวนด้วยการพาความร้อน (Convection) ที่ระดับลึก 2,900 – 5150 กิโลเมตร เหล็กร้อนเบื้องล่างบริเวณที่ติดกับแก่นโลกชั้นในลอยตัวสูงขึ้น เมื่อปะทะกับแมนเทิลตอนล่างที่อุณหภูมิต่ำกว่าจึงจมตัวลง การเเคลื่อนที่หมุนวนเช่นนี้เหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กโลก 
        3.2 แก่นโลกชั้นใน (Inner core) เป็นชั้นที่มีความหนาแน่นมากที่สุด ระดับลึก 5,150 กิโลเมตร จนถึงใจกลางโลกที่ระดับลึก  6,378 กิโลเมตร ความดันมหาศาลกดทับทำให้เหล็กและนิเกิลมีสถานะเป็นของแข็ง

 

           แกนโลกอาจมีองค์ประกอบหลักเป็นเหล็ก (หรือเหล็กนิเกิล) และอาจมีธาตุอื่น ๆ ซึ่งเบากว่าปะปนอยู่ด้วย อุณหภูมิที่ใจกลางอาจสูงถึง 7500 เคลวิน, ร้อนกว่าบริเวณพื้นผิวของ ดวงอาทิตย์ แมนเทิลชั้นล่างอาจมีองค์ประกอบหลักเป็น ซิลิคอน, แมกนิเซียม และออกซิเจน ปะปนด้วย เหล็ก แคลเซียม และอะลูมิเนียม แมนเทิลชั้นบนส่วนใหญ่เป็น เหล็ก แมกนิเซียม ซิลิเกท แคลเซี่ยม และอะลูมิเนียม เราเรียนรู้องค์ประกอบเหล่านี้ จากข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหว เช่น ลาวาจากปล่องภูเขาไฟ เท่านั้น หนทางที่จะได้มาซึ่งข้อมูลภายในที่แท้จริงนั้นยังไม่มี
         องค์ประกอบหลักของเปลือกโลกคือ ผลึกควอทซ์ (ซิลิกอนไดออกไซด์) และสารประกอบรูปแบบอื่นของซิลิคอน เช่น แร่เฟลด์สปาร์ เราแบ่งองค์ประกอบทางเคมีของโลกได้ดังนี้ (โดยมวล)

เหล็ก
34.6
%
ออกซิเจน
29.5
%
ซิลิคอน
15.2
%
แมกนิเซียม
12.7
%
นิเกิล
2.4
%
กำมะถัน
1.9
%
ไททาเนียม
0.05
%
 Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Klongtoei Klongtoei Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@gmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile