หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง
ในพระอุปถัมภ์ |
|||||
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
||||||
สารบัญ | ||||||
โลก
|
โลกและบรรยากาศ |
earth |
พื้นผิวโลกแบ่งออกเป็น
2 ส่วน ส่วนที่เป็นพื้นดิน มี 29 เปอร์เซนต์ เราเรียกว่า ทวีป ประกอบด้วย |
|||
1. ทวีปเอเชีย 2. ทวีปแอฟริกา 3. ทวีปอเมริกาเหนือ 4. ทวีปอเมริกาใต้ 5. ทวีปแอนตาร์กติกา 6. ทวีปยุโรป 7. ทวีปออสเตรเลีย |
|||
พื้นผิวของโลกถูกปกคลุมด้วยน้ำ
71 เปอร์เซนต์ เราเรียกว่ามหาสมุทร ได้แก่ 1. มหาสมุทรแปซิฟิก 2. มหาสมุทรแอตแลนติก 3. มหาสมุทรอินเดีย 4. มหาสมุทรอาร์กติก 5. มหาสมุทรแอนตาร์กติก |
|||
โลกเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่มีน้ำในสถานะของเหลว
อยู่บนพื้นผิว แม้ว่าอาจมีอีเทนหรือมีเทนเหลวบนพื้นผิวของไททัน(Titan) หรือ น้ำในสถานะของเหลวใต้พื้นผิวของ ยูโรปา (Europa) น้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต น้ำในมหาสมุทรมีความสามารถในการเก็บความร้อน ช่วยรักษาอุณหภูมิของโลกให้คงที่ น้ำระเหยตัวขึ้นกลายเป็นเมฆ และกลั่นตัวกลับเป็นฝนตกลงมาสู่พื้นทวีป กระบวนการเช่นนี้มีแต่บนโลกของเราเท่านั้น ไม่มีบนดาวเคราะห์ดวงอื่น (แม้ว่ามันอาจเคยเกิดขึ้นบนดาวอังคารในอดีต) |
|||
บรรยากาศ คือ ชั้น ของ อากาศที่ล้อมรอบโลกและด้วยแรงดึงดูดของโลกทำให้บรรยากาศคง สภาพอยู่ได้ บรรยากาศ มีความหนา 310 ไมล์ และ มีถึง 4 ชั้น นักวิทยาศาสตร์ แบ่งบรรยากาศ ออกเป็น 4 ชั้นตามอุณหภูมิ
|
|||
exosphere |
|||
4. Thermosphere |
400-500 ก.ม. |
||
3. Mesosphere |
80 ก.ม. |
||
2. Stratosphere |
50 ก.ม. |
||
1. Troposphere |
10-12 ก.ม. |
||
อากาศในบรรยากาศแต่ละชั้นจะ แตกต่างกันแต่ในทุก ๆ ชั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญ ของสิ่งแวดล้อมของโลกบรรยากาศ 1. โทรโพสเฟียร์ troposphere เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะดังนี้ 1.1 เริ่มตั้งแต่ผิวโลกขึ้นไปถึงระยะ 10 กิโลเมตร 1.2 อุณหภูมิจะเปลี่ยนไปตามระดับความสูง โดยระดับอุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูง โดยทั่วไปจะลดลงประมาณ 6.5 องศาเซลเซียสต่อความสูงหนึ่งกิโลเมตร และมีลักษณะเฉพาะ คือ บริเวณที่อยู่เหนือภาคพื้นทวีปในฤดูร้อน บริเวณที่อยู่เหนือภาคพื้นมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิจะลดลงตามความสูงอย่างรวดเร็ว 1.3 ในส่วนของโทรโพสเฟียร์ที่เป็นส่วนแคบๆ จะเกิดการผันกลับของอุณหภูมิ โดยอุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูง การผันกลับของอุณหภูมิจะเกิดขึ้นเหนือภาคพื้นทวีปในฤดูหนาวและเหนือมหาสมุทรในฤดูร้อน เนื่องจากการเย็นตัวของผิวดินด้วยการแผ่รังสี หรือจากการที่อากาศที่มีอุณหภูมิสูงสัมผัสกับผิวดินที่เย็นกว่า 1.4 มีปรากฏการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้ เช่น ลมพายุ ฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เป็นต้น 2. สตราโทสเฟียร์ stratosphere เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงถัดจากบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปอีก 50 กิโลเมตร มีลักษณะเฉพาะที่ชัดเจน เช่น 2.1 จะมีอุณหภูมิคงที่ในส่วนที่อยู่ติดกับชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไป 20 กิโลเมตร ถัดจากความสูง 20 กิโลเมตรนี้ไปอีก 10-15 กิโลเมตร หรือที่ความสูงจากชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไป 30-35 กิโลเมตรอุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น และต่อจากนั้นอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยอัตรา 0.5 องศาเซลเซียสต่อความสูง 1 กิโลเมตร 2.2 สตราโทสเฟียร์เป็นชั้นบรรยากาศที่มีความชื้นในระดับ ต่ำมาก มีปริมาณของฝุ่นละอองน้อย 2.3 เป็นชั้นบรรยกาาศที่มีปริมาณก๊าซโอโซน (O3) เข้มข้นมาก 3. มีโซสเฟียร์ mesophere เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัดจากสตราโทสเฟียร์ขึ้นไปอีกเป็นระยะความสูงประมาณ 80 กิโลเมตร มีลักษณะเฉพาะก็คือ อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศจะลดลงตามระดับของความสูงที่เพิ่มขึ้น มีโซสเฟียร์ Mesosphere สูงจากพื้นดิน 50 - 80 กิโลเมตรเหนือชั้นโอโซน อุณหภูมิจะลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้น โดยอาจต่ำได้ถึง 83 องศาเซลเซียส อุกกาบาตหรือชิ้นส่วนหินจากอวกาศที่ตกลงมามักถูกเผาไหม้ในชั้นนี้ การส่งคลื่นวิทยุทั่วๆ ไปก็ส่งในชั้นนี้เช่นกัน โดยอุณหภูมิจะลดลงตามความสูง มีอากาศเบาบางมาก แต่ก็มากพอที่จะทำให้ดาวตกเกิดการเผาไหม้ได้ 4. เทอร์โมสเฟียร์ thermosphere เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัดจากมีโซสเฟียร์ขึ้นไปเป็นระยะความสูง 400-500 กิโลเมตร บางครั้งเรียกบรรยากาศชั้นนี้ว่า ไอโอโนสเฟียร์ Ionosphere มีลักษณะเฉพาะ มีสิ่งที่สำคัญคือ อิออน มีอากาศเบาบางมากกว่าชั้นมีโซสเฟียร์ แต่เป็นชั้นหลักที่ช่วยดูดซับรังสี UV จากดวงอาทิตย์ ทำให้มีอุณหภูมิในชั้นนี้มากถึง 2,000 องศาเซลเซียส ที่ระดับความสูง 700 กม. อนุภาคในชั้นนี้เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าที่เรียกว่า "อิออน" ที่เกิดจากการแตกตัว เมื่ออนุภาคในสภาวะปกติถูกกระตุ้นด้วยรังสี อัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี Ultraviolet หรือในชื่อภาษาไทยว่า รังสีเหนือม่วง UV จากดวงอาทิตย์ อิออน เหล่านี้จะมีคุณสมบัติสะท้อนคลื่นวิทยุได้ จึงเป็นชั้นที่ใช้ส่งสัญญาณวิทยุสื่อสาร รวมถึงการเกิดแสงเหนือและแสงใต้ หรือ "ออโรรา" Aurora ลักษณะเด่นของบรรยากาศชั้นนี้คือ 4.1 ในระยะความสูง 100 กิโลเมตรแรก ระดับอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และถัดจาก 100 กิโลเมตรแรกขึ้นไปอีกระดับ อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศจะลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้น 4.2 ระดับอุณหภูมิของบรรยากาศชั้นนี้จะร้อนมาก โดยจะมีระดับอุณหภูมิสูงถึง 227-1,727 องศาเซลเซียส 4.3 ปริมาณของอนุภาคต่างๆ มีความหนาแน่นน้อยมาก 4.4 บรรยากาศชั้นนี้จะเป็นบริเวณที่บรรยากาศเปลี่ยนไปเป็นก๊าซระหว่างดวงดาวที่มีความเบาบางมาก ซึ่งเรียก เอกโซสเฟียร์ exosphere |
|||
บรรยากาศของโลกเราประกอบด้วย ไนโตรเจน 77% ออกซิเจน 21% และก๊าซเฉื่อย เช่น อาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ ปรากฏการณ์การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกและกระบวนการทางชีววิทยา ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจุบันมีคาร์บอนไดออกไซด์คงเหลือในบรรยากาศจำนวนเล็กน้อย แต่ก็ยังความสำคัญมาก เพราะมันเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของพื้นโลก โดยอาศัย สภาวะเรือนกระจก เพิ่มอุณหภูมิพื้นผิวให้สูงขึ้นโดยเฉลี่ย 35 องศาเซลเซียส ถ้าไม่มีสภาวะเรือนกระจกจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว น้ำในมหาสมุทรจะแข็งตัว จนสิ่งมีชีวิตไม่สามารถดำรงอยู่ได้ การดำรงอยู่ของออกซิเจนเป็นสิ่งน่าทึ่งมาก เพราะตามปกติออกซิเจนจะไม่อยู่เพียงลำพัง มันเป็นธาตุที่ไวมาก จะทำปฏิกิริยาและผสมกับธาตุอื่น ๆ ที่อยู่แวดล้อมเสมอ ออกซิเจนในบรรยากาศของโลกดำรงอยู่ได้ โดยกระบวนการผลิตและรักษาทางชีวภาพ ถ้าไม่มีสิ่งชีวิตแล้ว ออกซิเจนในบรรยากาศก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ แรงดึงดูดโต้ตอบ (interaction) ระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ทำให้โลกหมุนช้าลงประมาณ 1/500 วินาทีต่อศตวรรษ จากการวิจัยพบว่า เมื่อ 900 ล้านปีมาแล้ว หนึ่งปีมี 481 วัน และหนึ่งวันมี 18 ชั่วโมง สนามแม่เหล็กของโลกไม่มีความรุนแรง มันกำเนิดจากกระแสไฟในแกนโลก เมื่อสนามแม่เหล็กของโลกปะทะกับลมสุริยะ บริเวณบรรยากาศชั้นบน ทำให้เกิดปรากฏการณ์แสงเหนือแสงใต้ หรือ ออโรร่า ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยที่ ขั้วแม่เหล็กโลก เคลื่อนที่สัมพัทธ์กับพื้นผิว ขั้วเหนือแม่เหล็กในปัจจุบันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแคนาดา |
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Klongtoei Klongtoei Thailand e-mail address : chalengsak.ch@gmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|