earth4
หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
โลก
ความรู้เกี่ยวกับโลก
earth

          โลกเป็นเทห์วัตถุ ที่หนาแน่นที่สุด ในระบบสุริยะ ดาวเคราะห์พื้นพิภพ (terrestrial planets) ดวงอื่นอาจมีโครงสร้างที่คล้ายคลึง แต่ก็มีองค์ประกอบแตกต่างกันไป ดวงจันทร์ มีแกนขนาดเล็ก ดาวพุธ มีแกนขนาดใหญ่ (เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง) แมนเทิลของ ดาวอังคาร และดวงจันทร์หนามาก เปลือกของดวงจันทร์และดาวพุธมีองค์ประกอบทางเคมีที่คล้ายคลึงกัน โลกอาจจะมีแกนในและแกนนอกเป็นชั้นเดียวกัน ความรู้ของเราเกี่ยวกับภายในของดาวเคราะห์ยังเป็นเพียงทางทฤษฎี แม้กระทั่งโลกของเราก็ตาม
เปลือกโลกไม่เหมือนกับดาวเคราะห์ พื้นพิภพ ดวงอื่น เปลือกโลกเป็นแผ่นของแข็งหลายชิ้นซึ่งลอยอยู่อย่างอิสระ บนแมนเทิลเหลวร้อนซึ่งอยู่ข้างล่าง การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก มีสองลักษณะคือ การขยายและยุบตัว การขยายเกิดขึ้นเมื่อแผ่นทวีปสองแผ่นเคลื่อนที่ออกจากกัน เกิดแผ่นทวีปใหม่แทรกกลางขึ้นมาจากแมกม่าข้างล่าง การยุบตัวเกิดขึ้น เมื่อแผ่นทวีปแผ่นหนึ่งกดขอบของแผ่นทวีปอีกแผ่นหนึ่ง ให้จมลงและถูกทำลายโดยแมกม่าซึ่งอยู่ข้างล่าง เปลือกโลกแบ่งเป็น 8 แผ่นทวีป ดังนี้:
1. แผ่นอเมริกาเหนือ - ทวีปอเมริกาเหนือ แอตแลนติกเหนือซีกตะวันตก และกรีนแลนด์
2. แผ่นอเมริกาใต้ - อเมริกาใต้ และแอตแลนติกใต้ซีกตะวันตก
3. แผ่นแอนตาร์คติก - ทวีปแอนตาร์คติก และ มหาสมุทรใต้
(แอนตาร์กติก)
4. แผ่นยูเรเชีย - แอตแลนติกเหนือซีกตะวันออก ทวีปยุโรป และเอเชีย ยกเว้นอินเดีย
5. แผ่นแอฟริกา - ทวีปแอฟริกา แอตแลนติกใต้ซีกตะวันออก ชายฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย
6. แผ่นอินเดีย-ออสเตรเลีย - อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มหาสมุทรอินเดีย
7. แผ่นนาสคา - ชายฝั่งด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกจรดทวีปอเมริกาใต้
8. แผ่นแปซิฟิก - ครอบคลุมเกือบทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกและชายฝั่งตอนใต้ของแคลิฟอร์เนีย
           มีแผ่นทวีปขนาดเล็กจำนวนมากกว่า 20 แผ่น เช่น แผ่นอาระเบีย แผ่นโคโคส และแผ่นฟิลิปปินส์ การเกิดแผ่นไหวมักเกิดที่บริเวณรอยต่อของแผ่นทวีป
พื้นผิวของโลกในปัจจุบันมีอายุน้อยมาก young เมื่อเทียบกับคาบการเปลี่ยนแปลง ซึ่งโลกจะสร้างและทำลายพื้นผิวทุก ๆ 500 ล้านปี ด้วยเหตุนี้ร่องรอยเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ เช่นหลุมอุกกาบาตตั้งแต่ยุคกำเนิดระบบสุริยะ จึงถูกลบเลือนไม่มีเหลือ แม้ว่าโลกจะมาอายุถึง 4.5 ถึง 4.6 พันล้านปี แต่หินที่เก่าแก่ที่สุดที่เราพบบนพื้นโลก มีอายุเพียง 4 พันล้านปี และหินที่มีอายุเก่ากว่า 3 พันล้านปีก็หายากมาก ซากฟอสซิลสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุน้อยกว่า 3.9 ล้านปี 71 เปอร์เซนต์ของพื้นโลกถูกปกคลุมด้วยน้ำ โลกเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่มีน้ำในสถานะของเหลว อยู่บนพื้นผิว             แม้ว่าอาจมีอีเทนหรือมีเทนเหลวบนพื้นผิวของ ไททัน หรือน้ำในสถานะของเหลวใต้พื้นผิวของ ยูโรปา น้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต น้ำในมหาสมุทรมีความสามารถในการเก็บความร้อน ช่วยรักษาอุณหภูมิของโลกให้คงที่ น้ำระเหยตัวขึ้นกลายเป็นเมฆ และกลั่นตัวกลับเป็นฝนตกลงมาสู่พื้นทวีป กระบวนการเช่นนี้มีแต่บนโลกของเราเท่านั้น ไม่มีบนดาวเคราะห์ดวงอื่น (แม้ว่ามันอาจเคยเกิดขึ้นบนดาวอังคารในอดีต)
             บรรยากาศของโลกเราประกอบด้วย ในโตรเจน 77%, ออกซิเจน 21% และก๊าซเฉื่อย เช่น อาร์กอน, คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ ในยุคที่โลกกำเนิดขึ้นใหม่ ๆ อาจจะมีคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก แต่มันถูกดูดกลืนไปกับหินปูน ( carbonate rocks) บางส่วนก็ละลายไปกับน้ำในมหาสมุทร และถูกบริโภคโดยพืช ปรากฏการณ์การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกและกระบวนการทางชีวะวิทยา ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจุบันมีคาร์บอนไดออกไซด์คงเหลือในบรรยากาศจำนวนเล็กน้อย แต่ก็ยังความสำคัญมาก เพราะมันเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของพื้นโลก โดยอาศัย สภาวะเรือนกระจก เพิ่มอุณหภูมิพื้นผิวให้สูงขึ้นโดยเฉลี่ย 35 องศาเซลเซียส ถ้าไม่มีสภาวะเรือนกระจกจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว น้ำในมหาสมุทรจะแข็งตัว จนสิ่งมีชีวิตไม่สามารถดำรงอยู่ได้
              การดำรงอยู่ของออกซิเจนเป็นสิ่งน่าทึ่งมาก เพราะตามปกติออกซิเจนจะไม่อยู่เพียงลำพัง มันเป็นธาตุที่ไวมาก จะทำปฏิกริยาและผสมกับธาตุอื่น ๆ ที่อยู่แวดล้อมเสมอ ออกซิเจนในบรรยากาศของโลกดำรงอยู่ได้ โดยกระบวนการผลิตและรักษาทางชีวภาพ ถ้าไม่มีสิ่งชีวิตแล้ว ออกซิเจนในบรรยากาศก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้
            แรงดึงดูดโต้ตอบ (interaction) ระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ทำให้โลกหมุนช้าลงประมาณ 2/1000 วินาทีต่อศตวรรษ จากการวิจัยพบว่า เมื่อ 900 ล้านปีมาแล้ว หนึ่งปีมี 481 วัน และหนึ่งวันมี 18 ชั่วโมง
สนามแม่เหล็กของโลกไม่มีความรุนแรง มันกำเนิดจากกระแสไฟในแกนโลก เมื่อสนามแม่เหล็กของโลกปะทะกับ ลมสุริยะ บริเวณบรรยากาศชั้นบน ทำให้เกิดปรากฏการณ์แสงเหนือแสงใต้ หรือ ออโรร่า ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยที่ ขั้วแม่เหล็กโลก เคลื่อนที่สัมพัทธ์กับพื้นผิว ขั้วเหนือแม่เหล็กในปัจจุบันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแคนาดา
สนามแม่เหล็กของโลกปะทะกับลมสุริยะ ทำให้เกิดแนวเข็มขัด แวน อัลเลน รูปร่างคล้ายวงแหวนโดนัทคู่ เป็นประจุก๊าซโคจรรอบโลก โดยมีเข็มขัดวงนอกอยู่ที่ความสูง 19,000 ก.ม. ถึง 41,000 ก.ม. และวงแหวนวงในอยู่ที่ความสูง 13,000 ก.ม. และ 7,600 ก.ม.


 Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Klongtoei Klongtoei Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@gmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile