หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
RAM 9
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
 
รัชกาลที่ 9
1.พระราชประวัติ


2.การปกครอง  
3.เศรษฐกิจ  
4.ศาสนา  
5.การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณ  
6.กวีและวรรณกรรม  
7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  
     
     
ลำดับที่
นายกรัฐมนตรี
1

นายก้อน หุตะสิงห์
2

นายพจน์ พหลโยธิน
3

จอมพลแปลก พิบูลสงคราม
4

นายควง อภัยวงศ์
5

นายทวี บุณยเกตุ
6

มรว. เสนีย์ ปราโมช
7

นายปรีดี พนมยงค์
8

พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
9

นายพจน์ สารสิน
10

จอมพล ถนอม กิตติขจร
11

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
12

นายสัญญา ธรรมศักดิ์
13

มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
14

นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
15

พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
16

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
17

พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
18

นายอานันท์ ปันยารชุน
19

พลเอกสุจิณดา คราประยูร
20

นายชวน หลีกภัย
21

นายบรรหาร ศิลปอาชา
22

พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
23

พ.ต.ท. ทักษิณ ชิณวัตร
24

พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
25

นาย สมัคร สุนทรเวช
26

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
27

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
28

นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

29

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3 เมื่อ 11 มิถุนายน 2489 ลาออกเมื่อ 21 สิงหาคม 2489 เนื่องจากสุขภาพเสื่อมโทรม
23 สิงหาคม 2489 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการเปลี่ยนชื่อพฤฒิสภาเป็นวุฒิสภา กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง พ้นจากตำแหน่งเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 เพราะทหารทำการรัฐประหาร การรัฐประหารในครั้งนี้คณะทหารให้เหตุผลว่า ทำเพื่อพระมหากษัตริย์ที่ถูกลอบปลงพระชนม์และเพื่อประชาชนชาวไทย
10 พฤศจิกายน 2490 นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 3 เป็นเวลา 3 เดือน ลาออกเมื่อ 8 เมษายน 2491 เนื่องจากถูกรัฐประหาร
8 เมษายน 2491 จอมพล ผิน ชุณหะวัณ เชิญ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี นาน 10 ปี
เกิดกบฏวังหลวง เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2492 เกิดกบฏแมนฮัดตัน เมื่อ มิถุนายน 2494
16 กันยายน 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหาร ยุบสภา
21 กันยายน 2500 นายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ลาอกเมื่อ 26 ธันวาคม 2500 เพราะมีการเลือกตั้งทั่วไปภายหลังรัฐประหาร
1 มกราคม 2501 พลโท ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ลาออกเมื่อ 20 ตุลาคม 2501 เพื่อเปิดโอกาสให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติ
9 กุมภาพันธ์ 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และถึงแก่อนิจกรรม ขณะดำรงตำแหน่ง เมื่อ 8 ธันวาคม 2506
9 ธันวาคม 2506 พลเอกถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ลาออกหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 และสมาชิกชุดใหม่เข้ารับหน้าที่แล้ว ต่อมากลับเข้าดำรงตำแหน่งครั้งที่ 3 เมื่อ 7 มีนาคม 2512 และทำการปฏิวัติตัวเองเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2514 กลับเข้าดำรงตำแหน่งครั้งที่ 4 เมื่อ 18 ธันวาคม 2515 พ้นจากตำแหน่งเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 เนื่องจากเหตุการณ์จราจล
14 ตุลาคม 2516 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ 26 มกราคม 2518 เพราะมีการเลือกตั้งทั่วไป
พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงมากที่สุด ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช จึงจัดตั้งรัฐบาล แต่ไม่ได้รับความไว้วางใจเมื่อแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รวบรวมสมาชิกพรรคอื่น จัดตั้งรัฐบาลผสม ซึ่งมีสมาชิกของพรรคกิจสังคมในสภาเพียง 18 เสียง 14 มีนาคม 2518 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี มีการประท้วงและเรียกร้อง
ของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย เกิดการขัดแย้งกันในคณะรัฐบาล นายกรัฐมนตรีจึงประกาศ ยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนเมษายน 2519
21 มีนาคม 2519 ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี
6 ตุลาคม 2519 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ทำการปฏิวัติ มีพลเรือเอกสงัด ชลออยู่เป็นหัวหน้า
22 ตุลาคม 2519 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลดำเนินนโยบายเข้มงวด ควบคุมความคิดเสรีนิยม มีการนำรูปแบบเผด็จการมาใช้อีก กลุ่มปัญญาชนหนีเข้าป่ามากขึ้น ทำให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น
มีนาคม 2520 กบฎ 26 มีนาคม โดยพลเอกฉลาด หิรัญศิริ
20 ตุลาคม 2520 พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐประหารอีกครั้งและประกาศให้พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เมื่อ 22 เมษายน 2522 ในเดือนพฤษภาคม 2522 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 ต่อมาลาออกเพราะประสบปัญหาน้ำมัน ในตลาดโลกมีราคาแพงส่งผลกระทบให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น ค่าครองชีพสูง รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จึงลาออก เดือน มีนาคม 2523
เดือน มีนาคม 2523 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมือง และฝ่ายทหาร
ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นาน 8 ปี เศรษฐกิจไทยเจริญก้าวหน้ามีการลงทุนทำธุรกิจ ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ทำให้เงินตราจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศมากขึ้น
1 เมษายน 2524 “กบฎ 1 เมษา” โดยพลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา
9 กันยายน 2528 “กบฎ 9 กันยา”
การเลือกตั้ง ในปี 2531 พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
23 กุมภาพันธ์ 2534 สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ รสช. ทำการปฏิวัติ โดยมีพลเอกสุนทร คงสมพงษ์เป็นหัวหน้าและมอบหมายให้นายอานันท์ ปัญญาชุน เป็นนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศชั่วคราวและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
22 มีนาคม 2535 มีการเลือกตั้งทั่วไป พรรคที่ได้เสียงข้างมากสนับสนุนให้ พลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี สร้างความไม่พอใจให้แก่นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไป เพราะพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นบุคคลที่รวมอยู่ในคณะรัฐประหารของ สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ จึงมีการเดินประท้วงคัดค้านอันนำไปสู่เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพล อดุลยเดช ได้ขอร้องให้ทุกฝ่ายยุติความขัดแย้งกัน หลังจากนั้น พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ลาออก
ประธานรัฐสภาได้เสนอชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
13 กันยายน 2535 พรรคประชาธิปัตย์ได้เสียงข้างมาก นายชวนหลีกภัยได้เป็นนายกรัฐมนตรี บริหารประเทศได้ 2 ปี ก็เกิดกรณีการจัดสรรที่ดินทำกินแก่ราษฎร และการถอนตัวของพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้รัฐบาลประกาศยุบสภา
กรกฎาคม พ.ศ. 2538 มีการเลือกตั้งใหม่ นายบรรหาร ศิลปอาชาได้เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการขัด
แย้งในพรรคร่วมรัฐบาล นายกประกาศยุบสภา
พฤศจิกายน 2539 มีการเลือกตั้งใหม่ พรรคความหวังใหม่ได้รับชัยชนะ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก จึงประกาศลาออก
พฤศจิกายน 2540 นายชวน หลีกภัย หัวหน้าฝ่ายค้านขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนหมดวาระ
มกราคม 2544 มีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พรรคไทยรักไทยได้คะแนนเสียงมากที่สุด
พต.ท ทักษิณ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ทำการปฏิวัติ เมื่อ19 กันยายน 2549 แล้วมีการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550  ปรากฏว่า พรรคพลังประชาชน ได้เสียงข้างมาก นายสมัคร สุนทรเวช ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญพิพากษานายสมัคร  สุนทรเวช  ว่ากระทำขัดต่อกฏหมายรัฐธรรมนูญคดีจัดรายการชิมไปบ่นไป  เป็นเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นายสมชาย  วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ถูกต่อต้านจากกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย ขณะเดียวกัน ศาลพิพากษายุบพรรคพลังประชาชน  พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตยแล้ว นายสมชาย  วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรี มีการย้ายพรรคของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขณะเดียวกันสมาชิกของพรรคเพื่อไทย จากพรรคพลังประชาชนเดิม สนับสนุนให้พรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (2 ปี 231 วัน)
รัฐบาลอภิสิทธิ์เผชิญการประท้วงใหญ่ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 และเดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2553 อภิสิทธิ์ดำเนินโครงการปรองดองเพื่อสืบสวนเหตุสลายการชุมนุม แต่การทำงานของคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงกลับถูกทหารและหน่วยงานของรัฐขัดขวางกองทัพไทยปะทะกับกัมพูชาหลายครั้งระหว่าง พ.ศ. 2552-2553 ซึ่งเป็นการสู้รบนองเลือดที่สุดในรอบกว่าสองทศวรรษ เหตุความไม่สงบในชายแดนภาคใต้บานปลายขึ้นระหว่างรัฐบาลอภิสิทธิ์
หลังแพ้การเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 แต่ได้รับเลือกใหม่ในเดือนสิงหาคม ปีเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556
นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตร 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557(2 ปี 275 วัน)
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   

ด้านการปกครอง
นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3 เมื่อ 11 มิถุนายน 2489 ลาออกเมื่อ 21 สิงหาคม 2489 เนื่องจากสุขภาพเสื่อมโทรม
23 สิงหาคม 2489 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการเปลี่ยนชื่อพฤฒิสภาเป็นวุฒิสภา กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง พ้นจากตำแหน่งเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 เพราะทหารทำการรัฐประหาร การรัฐประหารในครั้งนี้คณะทหารให้เหตุผลว่าทำเพื่อพระมหากษัตริย์ที่ถูกลอบปลงพระชนม์และเพื่อประชาชนชาวไทย
10 พฤศจิกายน 2490 นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 3 เป็นเวลา 3 เดือน ลาออกเมื่อ 8 เมษายน 2491 เนื่องจากถูกรัฐประหาร
8 เมษายน 2491 จอมพล ผิน ชุณหะวัณ เชิญ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี นาน 10 ปี
เกิดกบฏวังหลวง เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2492 เกิดกบฏแมนฮัดตัน เมื่อ มิถุนายน 2494
16 กันยายน 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหาร ยุบสภา
21 กันยายน 2500 นายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ลาอกเมื่อ 26 ธันวาคม 2500 เพราะมีการเลือกตั้งทั่วไปภายหลังรัฐประหาร
1 มกราคม 2501 พลโท ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ลาออกเมื่อ 20 ตุลาคม 2501 เพื่อเปิดโอกาสให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติ
9 กุมภาพันธ์ 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และถึงแก่อนิจกรรม ขณะดำรงตำแหน่ง เมื่อ 8 ธันวาคม 2506
9 ธันวาคม 2506 พลเอกถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ลาออกหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 และสมาชิกชุดใหม่เข้ารับหน้าที่แล้ว ต่อมากลับเข้าดำรงตำแหน่งครั้งที่ 3 เมื่อ 7 มีนาคม 2512 และทำการปฏิวัติตัวเองเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2514 กลับเข้าดำรงตำแหน่งครั้งที่ 4 เมื่อ 18 ธันวาคม 2515 พ้นจากตำแหน่งเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 เนื่องจากเหตุการณ์จราจล
14 ตุลาคม 2516 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ 26 มกราคม 2518 เพราะมีการเลือกตั้งทั่วไป พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงมากที่สุด ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช จึงจัดตั้งรัฐบาล แต่ไม่ได้รับความไว้วางใจเมื่อแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รวบรวมสมาชิกพรรคอื่น จัดตั้งรัฐบาลผสม ซึ่งมีสมาชิกของพรรคกิจสังคมในสภาเพียง 18 เสียง 14 มีนาคม 2518 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี มีการประท้วงและเรียกร้อง
ของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย เกิดการขัดแย้งกันในคณะรัฐบาล นายกรัฐมนตรีจึงประกาศ ยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนเมษายน 2519
์ 21 มีนาคม 2519 ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี
6 ตุลาคม 2519 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ทำการปฏิวัติ มีพลเรือเอกสงัด ชลออยู่เป็นหัวหน้า
22 ตุลาคม 2519 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลดำเนินนโยบายเข้มงวด ควบคุมความคิดเสรีนิยม มีการนำรูปแบบเผด็จการมาใช้อีก กลุ่มปัญญาชนหนีเข้าป่ามากขึ้น ทำให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น
มีนาคม 2520 กบฎ 26 มีนาคม โดยพลเอกฉลาด หิรัญศิริ
20 ตุลาคม 2520 พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐประหารอีกครั้งและประกาศให้พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เมื่อ 22 เมษายน 2522 ในเดือนพฤษภาคม 2522 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 ต่อมาลาออกเพราะประสบปัญหาน้ำมัน ในตลาดโลกมีราคาแพงส่งผลกระทบให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น ค่าครองชีพสูง รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จึงลาออก ในเดือน มีนาคม 2523
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองและฝ่ายทหารให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นาน 8 ปี เศรษฐกิจไทยเจริญก้าวหน้ามีการลงทุนทำธุรกิจในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ทำให้เงินตราจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศมากขึ้น
1 เมษายน 2524 “กบฎ 1 เมษา” โดยพลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา
9 กันยายน 2528 “กบฎ 9 กันยา”
ต่อมามีการจัดให้มีการเลือกตั้ง ในปี 2531 พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
23 กุมภาพันธ์ 2534 สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ รสช. ทำการปฏิวัติ โดยมีพลเอกสุนทร คงสมพงษ์เป็นหัวหน้าและมอบหมายให้นายอานันท์ ปัญญาชุน เป็นนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศชั่วคราวและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
22 มีนาคม 2535 มีการเลือกตั้งทั่วไป พรรคที่ได้เสียงข้างมากสนับสนุนให้ พลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี สร้างความไม่พอใจให้แก่นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไป เพราะพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นบุคคลที่รวมอยู่ในคณะรัฐประหารของ สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ จึงมีการเดินประท้วงคัดค้านอันนำไปสู่เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพล อดุลยเดช ได้ขอร้องให้ทุกฝ่ายยุติความขัดแย้งกัน หลังจากนั้น พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ลาออก ประธานรัฐสภาได้เสนอชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
13 กันยายน 2535 พรรคประชาธิปัตย์ได้เสียงข้างมาก นายชวนหลีกภัยได้เป็นนายกรัฐมนตรี บริหารประเทศได้ 2 ปี ก็เกิดกรณีการจัดสรรที่ดินทำกินแก่ราษฎร และการถอนตัวของพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้รัฐบาลประกาศยุบสภา
กรกฎาคม พ.ศ. 2538 มีการเลือกตั้งใหม่ นายบรรหาร ศิลปอาชาได้เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการขัด
แย้งในพรรคร่วมรัฐบาล นายกประกาศยุบสภา
พฤศจิกายน 2539 มีการเลือกตั้งใหม่ พรรคความหวังใหม่ได้รับชัยชนะ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก จึงประกาศลาออก
พฤศจิกายน 2540 นายชวน หลีกภัย หัวหน้าฝ่ายค้านขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนหมดวาระ
มกราคม 2544 มีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พรรคไทยรักไทยได้คะแนนเสียงมากที่สุด
พต.ท ทักษิณ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
ู่          การปฏิวัติรัฐประหารที่เกิดขึ้นสดร้อนๆ บรรยากาศแห่งความอึมครึมเกิดขึ้นตลอดทั้งวันอังคารที่ 19 กันยายน 2549 และนับเป็นการปฏิวัติที่แปลกที่สุดในโลกเมื่อประชาชนพากันโทรศัพท์แจ้งข่าวกันตลอดทั้งวันว่า ทหารจะปฏิวัติ แต่สถานการณ์ก็ยังสับสนว่า ฝ่ายไหนจะเป็นผู้กระทำ จนกระทั่งเวลา 22.15 น. กลายเป็นฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ออกอากาศทางช่อง 9 อสมท. ประกาศภาวะฉุกเฉิน รัฐประหารตัวเอง มีคำสั่งปลด พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกออกจากตำแหน่ง พร้อมกับมีคำสั่งให้มารายงานตัวต่อ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการนายกรัฐมนตรี โดยได้แต่งตั้ง พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้รับผิดชอบในสถานการณ์ฉุกเฉิน
เวลา 22.30 น. ทหารจำนวนหนึ่งได้บุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล พร้อมด้วยรถถังประมาณ 10 คัน และรถฮัมวี่ 6 คัน กระจายกำลังเข้าควบคุมตามจุดต่างๆและให้ตำรวจสันติบาลและสื่อมวลชนออกจากทำเนียบรัฐบาล โดยทหารทั้งหมดมีสัญญลักษณ์ปลอกแขนสีเหลือง
เวลา 23.00 น.คณะนายทหารภายใต้การนำของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารทุกเหล่าทัพ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ พล.ต.ประพาส ศกุนตนา อ่านคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉบับที่ 1 ว่า ได้เข้าควบคุมสถานการณ์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครไว้ได้หมดแล้ว และไม่ได้มีการขัดขวางจากฝ่ายทหารที่สนับสนุน พ.ต.อ.ทักษิณ ชินวัตร จึงขอประชาชนให้ความร่วมมือ และนับเป็นประกาศคณะปฏิวัติที่สุภาพที่สุดด้วย เมื่อมีท้ายแถลงการณ์ด้วยว่า "ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ด้วย"
จากนั้นคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้ประกาศกฎอัยการศึกและยกเลิกคำสั่งประกาศภาวะฉุกเฉินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พร้อมเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลรายงานสถานการณ์ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
ทั้งนี้มีรายงานว่า หลังจากที่ประชาชนทราบเหตุการณ์ว่า ทหารได้ทำรัฐประหารซ้อนยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เรียบร้อยแล้ว ประชาชนจำนวนมากได้ออกจากบ้านมาแสดงความยินดี เช่นเดียวกับประชาชนที่ใช้รถสัญจรผ่านไปมาตามเส้นทางที่มีรถถังตั้งอยู่ได้ลงจากรถมาโบกมือ ไชโยโห่ร้องให้กับทหาร พร้อมทั้งขอถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาตินั้นจะนิยมการถ่ายรูปคู่กับทหารเป็นอย่างมาก ส่วนสถานการณ์ใกล้กับบ้านจันทร์ส่องหล้าของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงนั้น ทั้งบริเวณปากซอยจรัญสนิทวงศ์ 69 และ 71 และรวมไปทั้งซอยจรัสลาภ ถนนสิรินธร มีทหารจาก ร.1 พัน 1 รอ.ประมาณ 30 นาย สวมชุดพรางอาวุธครบมือ พร้อมรถยีเอ็มซีจอดอยู่ ได้ตั้งจุดตรวจโดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมตรวจด้วยอีกซอยละ 2 นาย พร้อมกันไม่ให้ผู้สื่อข่าวเข้าไปด้านใน
จากนั้นคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้ออกมาแถลงการณ์ออกมาเป็นระยะๆ ถึงความจำเป็นในการเข้ายึดอำนาจเนื่องจากรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร ได้สร้างความแตกแยกขึ้นในบ้านเมือง มีการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง หน่วยงาน องค์กรอิสระ ถูกครอบงำทางการเมือง ไม่สามารถสนองตอบเจตนารมณ์ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเกิดปัญหาและอุปสรรคหลายประการ ตลอดจนหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่เคารพเทิดทูนของปวงชนชาวไทยอยู่บ่อยครั้ง
นอกจากนั้นคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้ประกาศจะให้มีการปฏิรูปการเมืองเกิดขึ้นโดยเร็ว พร้อมเรียกร้องให้นิสิต นักศึกษา ปัญญาชน ซึ่งเป็นพลังบริสุทธิ์ ร่วมเสนอแนวทางการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมายังสำนักงานเลขานุการกองทัพบก
แล้วมีการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
บริหารประเทศแล้วจัดให้มีการเลือกตั้ง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550  ปรากฏว่า
พรรคพลังประชาชน ที่มี
นายสมัคร สุนทรเวช เป็นหัวหน้า แม้จะได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ก็มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 233 คน
พรรคประชาธิปัตย์ ที่มี
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้า ซึ่งมีจำนวน ส.ส.รวมทั้งระบบสัดส่วนและระบบเขตทั้งสิ้น 165 คน ประกาศอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับพรรคพลังประชาชน
พรรคชาติไทย ที่มีนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นหัวหน้า มี ส.ส. 37 คน
พรรคเพื่อแผ่นดิน ที่มีนายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นหัวหน้า มีจำนวน ส.ส. 24 คน
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ที่มี พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร เป็นหัวหน้า มี ส.ส. 9 คน
พรรคมัชฌิมาธิปไตย ที่มีนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นหัวหน้า มี ส.ส. 7 คน
พรรคประชาราช ที่มีนายเสนาะ เทียนทอง เป็นหัวหน้า ได้ ส.ส. 5 คน
พรรคพลังประชาชน ประกาศจัดตั้งรัฐบาลผสม ประกอบด้วย พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมใจ พรรคมัชฌิมาธิปไตยและพรรคประชาราช โดยมี
นายสมัคร  สุนทรเวช  เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญพิพากษานายสมัคร  สุนทรเวช  ว่ากระทำขัดต่อกฏหมายรัฐธรรมนูญคดีจัดรายการชิมไปบ่นไป  เป็นเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายสมชาย  วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ถูกต่อต้านจากกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย ขณะเดียวกัน ศาลพิพากษายุบพรรคพลังประชาชน  พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตยแล้ว นายสมชาย  วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรี มีการย้ายพรรคของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขณะเดียวกันสมาชิกของพรรคเพื่อไทยจากพรรคพลังประชาชนเดิม สนับสนุนให้พรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile