หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
 
ดุลชำระเงินระหว่างประเทศ

ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ หมายถึง บัญชีบันทึกรายรับและรายจ่ายเงินตราต่างประเทศของประเทศหนึ่งกับประเทศอื่นๆ
อันเกิดจากการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจ Economic transaction ระหว่าง ผู้มีถิ่นฐานในประเทศ Resident กับ ผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ Nonresident ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ประกอบด้วย
      1. ดุลบัญชีเดินสะพัด Current Account
ดุลการค้า Visible Trade
ดุลบริการ Invisible Trade
      2. ดุลบัญชีเงินทุน Capital and Financial Account
การลงทุนทางตรง Direct Invesment
การลงทุนทางอ้อม Indirect Invesment
      3. บัญชีเงินโอนและบริจาค Unrequited Transfer Account
เงินโอนภาครัฐบาล Government Transfer
เงินโอนภาคเอกชน Private Transfer
       4. บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ  International Reserves Account หรือ ทุนสำรองทางการ Official Reserves

1.  ดุลบัญชีเดินสะพัด  Current Account คือผลรวมสุทธิของ ดุลการค้า ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ  ประกอบด้วย
     1.1 ดุลการค้า (Trade Balance) คำนวณจากข้อมูลการส่งออก-นำเข้าที่ได้รับจากกรมศุลกากรกระทรวงการคลัง เป็นรายเดือนในรูปของแฟ้มข้อมูล ดุลการค้า คือ ผลต่างสุทธิระหว่างมูลค่าสินค้าออก เอฟโอ.บี (ราคาที่ไม่รวมค่าระวางและประกันภัยสินค้า) กับมูลค่าสินค้าเข้า เอฟโอบี. ที่
ได้ปรับตามคำนิยามของดุลการชำระเงิน ตามคู่มือการจัดทำสถิติ ดุลการชำระเงินฉบับที่ 6(BPM6) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศแล้ว
รายการที่หักออกจากข้อมูลของกรมศุลกากร
          1.1.1 สินค้าที่เป็นธุรกรรมระหว่างผู้มีถิ่นฐานในประเทศ residents ด้วยกันหรือผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ Nonresidents ด้วยกัน เช่น สินค้าของสถานทูต
          1.1.2 สินค้าที่ไม่เปลี่ยนความเป็นเจ้าของ เช่น สินค้าส่งซ่อม สินค้าส่งออกและนำเข้าเป็นการชั่วคราว สินค้าเช่า และสินค้าตัวอย่าง
          1.1.3 ของส่วนตัวและของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้วซึ่งเจ้าของนำเข้ามาหรือนำออกไปพร้อมกับตนเพื่อใช้เองหรือเนื่องจากการย้าย ภูมิลำเนาและมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ รายการที่บวกเพิ่มจากข้อมูลของกรมศุลกากร
          1.1.4 สินค้าที่ไม่ผ่านพิธีการศุลกากร เช่น ดาวเทียม สินค้าทหารบางรายการ และกระแสไฟฟ้าจาก ประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น
รายการปรับอื่นๆ
           1.1.5 การเหลื่อมเวลาในการบันทึกรายการกับการเปลี่ยนแปลงความเป็นเจ้าของ   เช่น  ธปท.นับการนำเข้าเครื่องบินพาณิชย์ ณ วันที่ บริษัทบันทึก บัญชีเครื่องบินที่นำเข้า ขณะที่กรม ศุลกากรบันทึกการนำเข้าเครื่องบิน ณ วันที่มีการทำพิธีการศุลกากรซึ่งบันทึกหลังจากที่นำเข้า เครื่องบินมาแล้ว
           1.1.6 การใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกันในการแปลงมูลค่าการส่งออกและการนำเข้าจากหน่วย ดอลลาร์ สรอ. เป็นหน่วยบาท โดยกรมศุลกากรใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ประกาศล่วงหน้าให้ผู้ส่งออกหรือนำเข้าใช้เมื่อทำพิธีการศุลกากร โดยใช้อัตราซื้อแปลงมูลค่าการส่งออกและใช้อัตราขาย
แปลงมูลค่าการนำเข้า ขณะที่ ธปท.ใช้อัตรากลางของอัตราซื้อขายเฉลี่ยของแต่ละเดือนในการ
แปลงมูลค่าทั้งการส่งออกและการนำเข้าในเดือนนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการจัดทำ สถิติดุลการชำระเงินตาม B P M 6
     1.2 ดุลบริการ     รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ Services Primary Income & Secondary Income เป็นผลรวมสุทธิของดุลบริการ Services เป็นผลสุทธิระหว่างรายรับและรายจ่ายของบริการระหว่างประเทศ ประกอบด้วยค่าขนส่ง ค่าท่องเที่ยว ค่าบริการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของภาคทางการ ค่าสื่อสาร โทรคมนาคม ค่ารับเหมาก่อสร้าง ค่าประกันภัย ค่าลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้าและสิทธิบัตร เป็นต้น
           1.2.1 รายได้ปฐมภูมิ Primary Income ประกอบด้วย
                    1. ผลตอบแทนการจ้างงาน Compensation of employees หมายถึงรายได้ในรูปของ
ค่าจ้าง เงินเดือน และสวัสดิการทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน และ
                    2. รายได้จากการลงทุน Investment income หมายถึงผลตอบแทนที่ได้รับจากการถือครองทรัพย์สินทางการเงินในต่างประเทศ ได้แก่ ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนโดยตรง การลงทุนในหลักทรัพย์ และการลงทุนอื่นๆ
          1.2.2  รายได้ทุติยภูมิ Secondary Income หมายถึงเงินโอนหรือเงินช่วยเหลือต่างๆ ที่ผู้มีถิ่นฐานในประเทศได้รับจากผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ ซึ่งเป็นธุรกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสิทธิความเป็นเจ้าของในทรัพยากรที่แท้จริงหรือทางการเงิน
ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากระบบการรายงานธุรกรรมต่างประเทศ International TransactionReporting System : ITRS เสริมด้วยข้อมูลรายรับและรายจ่ายท่องเที่ยวจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ข้อมูลจากการสำรวจ ข้อมูลจากหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งข้อมูลจากการคำนวณหรือประมาณการ
2. ดุลบัญชีเงินทุน Capital and Financial Account ประกอบด้วยบัญชีทุน Capital Account และบัญชีการเงิน Financial Account
    2.1 บัญชีทุน Capital Account หมายถึงรายรับและรายจ่ายที่เกิดจาก
       1. ธุรกรรมการโอนย้ายเงินทุนทั้งในรูปตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน เช่น เงินทุนให้เปล่าในรูปของเงินทุน หรือ สินค้าทุน หรือ การโอนสิทธิในทรัพย์สินถาวรและการยกหนี้ให้ Debt forgiveness และ
       2. การซื้อ ขายทรัพย์สินที่ผลิตขึ้นไม่ได้และมิใช่ทรัพย์สินทางการเงินทั้งที่สามารถจับต้องได้ เช่น ที่ดิน และไม่สามารถจับต้องได้เช่น สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้าสำหรับกรณีการซื้อขายที่ดินโดยสถานทูตถือเป็นข้อยกเว้น เนื่องจากเป็นการโอนความเป็นเจ้าของระหว่างระบบเศรษฐกิจ จึงให้ถือเป็นธุรกรรมในบัญชีทุน แต่การซื้อขายที่ดินโดยทั่วไประหว่างผู้มีถิ่นฐานในประเทศและผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ ให้ถือเสมือนว่าผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศที่ซื้อที่ดินนั้น ตั้ง Notional unit ขึ้นในประเทศที่ที่ดินตั้งอยู่ เพื่อเป็นผู้ถือครองที่ดินที่ตนซื้อ และตนมีสิทธิเรียกร้องทางการเงิน Financial claim ต่อ Notional unit นั้นอีกทอดหนึ่ง
จึงให้บันทึกบัญชีกรณีนี้เป็นการลงทุนโดยตรง มิใช่บัญชีทุน (รายละเอียดตามข้อ 2.2)
    2.2 บัญชีการเงิน Financial Account หมายถึงธุรกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ในสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการลงทุนโดยตรง Direct Investment การลงทุนในหลักทรัพย์ Portfolio Investment การลงทุนในอนุพันธ์ทางการเงิน Financial Derivatives และการลงทุนอื่นๆ Other Investment
        2.2.1 การลงทุนโดยตรง Direct Investment เป็นธุรกรรมการลงทุนในระยะยาวที่ผู้ลงทุนที่มีถิ่น
ฐานในประเทศหนึ่งมีต่อธุรกิจที่มีถิ่นฐานในอีกประเทศหนึ่ง ทั้งที่จัดตั้งเป็นนิติบุคคลและส่วน
บุคคล ประกอบด้วยเงินลงทุนในทุนเรือนหุ้น Equity capital ซึ่งหมายถึงการลงทุนด้วยการ
ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ร่วมในการบริหารกิจการตั้งแต่ร้อยละ10 ขึ้นไป การกู้ยืมระหว่างบริษัทในเครือ
และกำไรที่นำกลับมาลงทุน
       2.2.2 การลงทุนในหลักทรัพย์ Portfolio Investment หมายถึงธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายเปลี่ยนมือตราสารทุน Equity securities ตราสารหนี้ Debt securities ทั้งในรูปของพันธบัตร Bonds ตั๋วเงิน Notes และเครื่องมือทางการเงิน Money market instruments ต่าง ๆ
ทั้งนี้ยกเว้นตราสารที่จัดเป็นการลงทุนโดยตรงและเงินสำรองระหว่างประเทศ
       2.2.3 การลงทุนในอนุพันธ์ทางการเงิน Financial Derivatives หมายถึง ธุรกรรมเกี่ยวกับอนุพันธ์
ทางการเงิน ทั้งนี้ จะบันทึกเฉพาะผลกำไรหรือขาดทุนจากสัญญาอนุพันธ์ดังกล่าว
        2.2.4 การลงทุนอื่นๆ Other Investment ประกอบด้วยเงินกู้ สินเชื่อการค้า เงินฝากบัญชีลูกหนี้ และเจ้าหนี้อื่นๆ
3. บัญชีเงินโอนและบริจาค Unrequited Transfer Account
เงินโอนและบริจาค (current transfers) หมายถึง เงินโอนหรือเงินช่วยเหลือต่าง ๆ ที่ผู้มีถิ่นฐานในประเทศได้รับจากผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ ซึ่งเป็นธุรกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสิทธิความเป็นเจ้าของในทรัพยากรที่แท้จริง หรือทางการเงิน
เงินโอนภาครัฐบาล Government Transfer

เงินโอนภาคเอกชน Private Transfer
4. บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ  International Reserves Account หรือ ทุนสำรองทางการ Official Reserves
        ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ Foreign exchange reserves คือ เงินตราต่างประเทศ และ พันธบัตรที่ถือครองโดย ธนาคารกลาง และ หน่วยงานที่ดูแลทางการเงิน รวมไปถึงทองคำ สิทธิพิเศษในการถอนเงิน และ การจัดอันดับเงินสำรองจาก IMF ด้วยความหมายที่กว้างขึ้นนี่เอง จึงมีการใช้คำที่มีความตรงตัวยิ่งขึ้นด้วยคำว่า "ทุนสำรองระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ" หรือ "ทุนสำรองระหว่างประเทศ" ซึ่งหมายถึงสินทรัพย์ของธนาคารกลาง ที่อยู่ในหลายสกุลเงิน โดยมากมักเป็นสกุล ดอลลาร์สหรัฐ รวมไปถึง สกุลเงิน ยูโร ปอนด์สเตอร์ลิง และ เยน ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นหลักประกัน ได้แก่การผลิตเงินในสกุลของประเทศนั้นนั้น และ เป็นทุนสำรองต่างๆที่ฝากไว้ ณ ธนาคารกลาง โดยรัฐบาล หรือ สถาบันการเงิน
          บัญชีการเงิน ยังสามารถจำแนกเป็นธุรกรรมของแต่ละภาคธุรกิจ ได้ดังนี้

1. ธนาคารกลาง ประมวลผลจากรายงานงบดุลของ ธปท. และศูนย์ข้อมูลตราสารการเงินแห่งประเทศไทย
2. รัฐบาล ประมวลผลจากข้อมูลจากสำนักบริหารหนี้สาธารณะ และศูนย์ข้อมูลตราสารการเงินแห่งประเทศไทย
3. สถาบันการเงินที่รับฝากเงิน (นอกจากธนาคารกลาง) ประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และสถาบันการเงินอื่นๆ ที่รับฝาก เงิน ข้อมูลของภาคธุรกิจนี้ ประมวลผลจาก ข้อมูลจากระบบการรายงานธุรกรรมต่างประเทศ
International Transaction Reporting System : ITRS  รายงานการเพิ่มทุนของธุรกิจธนาคาร จากฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. ศูนย์ข้อมูลตราสารการเงินแห่งประเทศไทย ผลสำรวจหนี้ต่างประเทศรายไตรมาส และผลสำรวจฐานะการลงทุนระหว่างประเทศรายปี
4. ภาคอื่นๆ ประกอบด้วย
    4.1 สถาบันการเงินที่ไม่รับฝากเงิน ประกอบด้วยบริษัทหลักทรัพย์ ประกันภัย กองทุนรวม
บริษัทโฮลดิ้ง และองค์กรอื่นๆ ที่ประกอบธุรกิจด้านการเงินแต่ไม่ได้รับฝากเงิน ไม่ว่าจะ
เป็นเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจก็ตาม ข้อมูลของภาคธุรกิจนี้ประมวลผลจากแหล่งข้อมูล
เดียวกับข้อ 3
    4.2 ธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ครัวเรือน และองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ประกอบด้วย
บริษัทเอกชนและรัฐวิสาหกิจที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจด้านการ
เงิน บุคคลธรรมดา และองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ข้อมูลของภาคธุรกิจนี้ประมวลผล
จากแหล่งข้อมูลเดียวกับข้อ 2 และ 3 เสริมด้วยข้อมูลจากการสำรวจสินเชื่อการค้ารายปี
และรายงานสินเชื่อน้ำมันจากบริษัทน้ำมัน
ข้อมูลในบัญชีการเงิน จะปรับด้วยผลสำรวจหนี้ต่างประเทศทุกไตรมาส ผลสำรวจฐานะ
การลงทุนระหว่างประเทศรายปี และผลสำรวจสินเชื่อการค้ารายปี
ความคลาดเคลื่อนสุทธิ เป็นความคลาดเคลื่อนจากการจัดเก็บสถิติ คำนวณจากความแตกต่างของ
ดุลการชำระเงิน กับผลรวมของดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลบัญชีเงินทุน
ดุลการชำระเงินเป็นการเปลี่ยนแปลงของยอดคงค้างสินทรัพย์ฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศ ที่เกิดจาก
ธุรกรรมเท่านั้น ไม่นับรวมผลจากการตีราคาและการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยน
ดุลการชำระเงิน ลงบัญชีโดยยึดหลักระบบการลงบัญชีคู่ Double entry system        โดยในแต่ละธุรกรรมจะต้องลงบัญชีทั้งด้านเครดิตและเดบิตและในจำนวนที่หักล้างกันพอดี
การประเมินราคา ใช้ราคาตลาด Market price เป็นหลัก ในกรณีที่ธุรกรรมนั้นไม่มีราคาตลาด ใช้ราคาตลาดที่อยู่ในเงื่อนไขใกล้เคียงกัน
       การแปลงมูลค่าธุรกรรมจากหน่วยสกุลเงินหนึ่งเป็นมูลค่าเทียบเท่าดอลลาร์ สรอ. จะใช้อัตราปิดซื้อขายเฉลี่ยรายเดือนในตลาดนิวยอร์กและเทียบเป็นเงินบาท โดยใช้อัตรากลางของอัตราซื้อขายเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในเดือนนั้น
การบันทึกบัญชีใช้หลักตามเกณฑ์คงค้าง ณ เวลาที่เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ Accrual basis คือเมื่อเกิดธุรกรรมการเปลี่ยนแปลงสิทธิความเป็นเจ้าของ Change of ownership ระหว่างผู้มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศกับผู้มีถิ่นฐานอยู่ในต่างประเทศ
แม้ว่าจะยังไม่มีการชำระเงินก็ตาม แต่เนื่องจากข้อมูลบางส่วนมาจากระบบ ITRS การจัดเก็บข้อมูลบางส่วนจึงเป็นเกณฑ์เงินสด Cash basis กล่าวคือ จะบันทึกรายการเมื่อธุรกรรมนั้นมีการชำระเงิน ดังนั้นจึงมีการนำข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ที่เป็นข้อมูลตามเกณฑ์คงค้างมาปรับใช้ด้วย

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th