นโยบายการคลัง
หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
เศรษฐศาสตร์
นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) 

 

นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) 
หมายถึง เครื่องมือหรือวิธีการที่รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศเพื่อให้เกิดรายได้เพียงพอกับการใช้จ่าย อย่างเหมาะสม                   มีประสิทธิภาพ ทำให้เศรษฐกิจมั่นคง รายได้ประชาชาติสูงขึ้นและประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดี
นโยบายการคลังใช้เครื่องมือ 3 ชนิด
1. นโยบายภาษีอากร (Tax Policy)
2. นโยบายงบประมาณ (Budget Policy)
3. นโยบายบริหารหนี้สาธารณะ (Public Debt  Management Policy)

ประเภทของนโยบายการคลัง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบได้แก่ 
1. นโยบายการคลังแบบขยายตัว 
2. นโยบายการคลังแบบหดตัว 



นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary fiscal policy)
 
คือ การที่รัฐบาลใช้จ่ายมากกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ หรือที่เรียกว่า งบประมาณขาดดุล ซึ่งอาจเลือกใช้ในยามที่เกิดปัญหาเงินฝืด หรือเศรษฐกิจถดถอย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเมื่อรัฐบาลใช้จ่ายมากขึ้นกว่าภาษีที่จัดเก็บ ก็เป็นเสมือนการอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ เช่น การปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เหลือร้อยละ 5 ก็ทำให้คนมีเงินเหลือเพื่อจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เป็นต้น

นโยบายการคลังแบบหดตัว  (Contractionary fiscal policy) 
คือ การที่รัฐบาลใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ หรือที่เรียกว่า งบประมาณเกินดุล ซึ่งอาจจะเลือกใช้ในยามที่เกิดปัญหาเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเมื่อรัฐบาลใช้จ่ายน้อยลง แต่เก็บภาษีมากขึ้น ก็เป็นเสมือนการดูดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ ก็ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวน้อยลงหรือหดตัว ก็จะช่วยให้เงินเฟ้อปรับลดลงได้
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th