หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง
ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|||||
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
||||||
สารบัญ | ||||||
เศรษฐศาสตร์ | การคลัง |
การคลัง Public Finance หมายถึง การจัดหารายได้ การใช้จ่ายและการจัดการเกี่ยวกับหนี้สินของรัฐบาล รัฐบาลมีหน้าที่ในการบริหารกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ ให้มีความเจริญก้าวหน้า โดยทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเศรษฐกิจมีการขยายตัว รัฐบาลก็สามารถกระจายรายได้ให้กับประชาชนได้อย่างเป็นธรรม เพื่อที่รัฐจะมีรายได้เป็นค่าใช้จ่าย ในการพัฒนาประเทศในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งการป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ดังนั้นภาครัฐจึงเป็นหน่วยเศรษฐกิจ ที่มีรายได้และรายจ่าย ประกอบกันเป็นบัญชีของหน่วยรัฐบาล ในแต่ละปีของการบริหารประเทศ รัฐบาลจะต้องวางแผนในการใช้จ่ายเงิน เรียกว่า งบประมาณ การใช้จ่ายเงินของรัฐอาจมีการใช้จ่ายเงินเกินรายได้หรือน้อยกว่ารายได้ก็ได้ เราเรียก รายได้สุทธิ ซึ่งเท่ากับ รายได้ของรัฐบาลหักด้วยรายจ่ายของรัฐบาลว่า "ดุลงบประมาณ" ซึ่งมีลักษณะดังนี้ |
1. ดุลงบประมาณสมดุล เกิดขึ้นเมื่อ รายได้ของรัฐบาล เท่ากับ รายจ่ายของรัฐบาล |
2. ดุลงบประมาณเกินดุล เกิดขึ้นเมื่อ รายได้ของรัฐบาล มากกว่า รายจ่ายของรัฐบาล |
3. ดุลงบประมาณขาดดุล เกิดขึ้นเมื่อ รายได้ของรัฐบาล น้อยกว่า รายจ่ายของรัฐบาล |
ในการบริหารประเทศของรัฐบาลเกี่ยวกับงบประมาณของประเทศ ที่เกิดขึ้น อาทิ |
ดุลงบประมาณขาดดุล แสดงว่ารัฐบาลมีรายจ่ายเกินรายได้ รัฐต้องหาเงิน อาจทำได้โดย รองบประมาณปีหน้า หรือ ต้องกู้เงินจากแหล่งต่างๆ เช่น กู้จากประชาชน โดยออกพันธบัตรมาขายกับประชาชน ซึ่งดุลงบประมาณที่เกิดขึ้นนี้ มีผลโดยตรงต่อหนี้รัฐบาล ซึ่งเรียกว่า หนี้สาธารณะ ถ้ารัฐบาลประสบปัญหาขาดดุลงบประมาณอยู่เรื่อยๆ หนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้น รัฐบาลก็ต้องหาเงินมาใช้หนี้อีกจะทำให้เกิดปัญหาในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ แต่ถ้ารัฐบาลมีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้ ที่เรียกว่า ดุลงบประมาณเกินดุล รัฐบาลจะมีเงินเหลือสะสมไว้เป็นเงินออม เรียกว่า เงินคงคลัง |
ในการบริหารประเทศเกี่ยวกับการใช้จ่าย เกิดหนี้สาธารณะมากเกินไปก็ไม่ดี หรือ มีเงินเหลือเก็บเข้าคงคลังมากไปก็ไม่ดีเพราะไม่ได้ใช้จ่ายเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศ |
รัฐบาลมีทางเลือกอะไรบ้างเมื่อเกิดภาวะงบประมาณเกินดุลมาก 1. เพิ่มรายจ่ายเป็นงบประมาณเพิ่มเติมในปีงบประมาณถัดไป 2. ลดภาษี เพื่อไม่ให้รายรับของรัฐมีมากเกินไป 3. เก็บออมไว้ สำหรับใช้ในอนาคต 4. จ่ายคืนหนี้เงินกู้ของรัฐบาล เพื่อลดภาระของประชาชนในอนาคต |
รัฐบาลมีทางเลือกอะไรบ้างเมื่อเกิดภาวะงบประมาณขาดดุลมาก 1. ชะลอการใช้จ่าย หรือลดงบประมาณรายจ่ายที่ไม่จำเป็นมากนักในปีถัดไป 2. เพิ่มภาษี เพื่อให้รัฐมีรายได้เพียงพอกับการจ่าย 3. นำเงินคงคลังบางส่วนมาใช้ถ้ามีความจำเป็น 4. ก่อหนี้เพิ่ม เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ถ้าประชาชนในอนาคตมีความสามารถในการเสียภาษีสูง |
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |