เศรษฐศาสตร์มหภาค
หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์มหภาค
macroeconomics

         เศรษฐศาสตร์มหภาค macroeconomics เป็นการศึกษาหน่วยกิจส่วนรวม เช่น การผลิต รายได้ประชาชาติ การบริโภคการออม การลงทุน การจ้างงาน ภาษีอากร การคลังสาธารณะ การค้าระหว่างประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจ

         การศึกษาเศรษฐศาสตร์ระดับมหภาค เป็นการศึกษาที่ได้เน้นด้านการเพิ่มขึ้นของผลผลิตประชาชาติ การเพิ่มรายได้ให้แก่แรงงานและการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ความหมายของเศรษฐศาสตร์มหภาค
         จอห์น เมนารด เคนส์ “ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มิได้ให้ข้อสรุปที่จะนำมาใช้ได้กับนโยบายได้ทันทีโดยทฤษฏี เศรษฐศาสตร์เป็นวิธีการมากกว่าเป็นกฎเกณฑ์ และเป็นเทคนิคในการคิดซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง”
         ลีออลเนล รอบบินส์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในการเลือกหาหนทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน
         โดยทั่วไปแล้วเป็นการศึกษาถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการ มาสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่ไม่จำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการ มาสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่ไม่จำกัด

         เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น ผลิตผลรวมของประเทศ การจ้างงาน การเงินและการธนาคาร การพัฒนาประเทศ การค้าระหว่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นปัญหาที่กว้างขวางกว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาค เพราะว่าไม่ได้กระทบเพียงหน่วยธุรกิจเท่านั้น แต่จะกระทบถึงบุคคล หน่วยการผลิต และ อุตสาหกรรมทั้งหมด และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เศรษฐศาสตร์มหภาคนั้นจะมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบี้องต้น(GNP) และการว่าจ้างงาน จะหาว่าอะไรเป็นสาเหตุให้ผลิตผลรวมและระดับการว่าจ้างงานมีการเคลื่อนไหวขึ้นลง เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่างๆได้ตรงจุด เช่น ภาวะเงินเฟ้อเงินฝืด และ ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น

ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์มหภาค
         เนื่องจากเศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคน ดังนั้นเศรษฐศาสตร์มหภาคจึงมีความสำคัญดังนี้
         1. ประชาชนทั่วไป ในฐานะเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ ถ้ามีความเข้าใจในภาวะเศรษฐกิจ ก็จะสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจได้อย่างทันท่วงที ช่วยให้ประชาชนเข้าใจการบริหารประเทศของรัฐบาลและสามารถที่จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลได้ดียิ่งขึ้น
         2. ผู้ประกอบการ ไม่ว่าผู้ประกอบการอาชีพใดก็ต้องอาศัยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ในการประกอบการตัดสินใจบริหารงานต่างๆ ซึ่งจะสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้ และเป็นการลดความเสียงจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย
         3. เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ สำหรับผู้ที่มีความรู้ในทางเศรษฐศาสตร์ในระดับสูงใน "ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มหภาค" เกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ การเงินการคลัง และการธนาคาร วัฎจักรเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจ จะเป็นเครื่องมือขั้นต้นประกอบการวิเคราะห์เศรษฐกิจในขั้นต่อไป 
 
 
 
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th