เงินเฟ้อ
เงินเฟ้อคือภาวะที่ระดับที่ราคาสินค้าโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องโดยทั่วไปในที่นี้มิได้หมายความว่า
ราคาสินค้าทุกชนิดจะต้องสูงขึ้นในอัตราเท่ากันหมด เเละสินค้าบางชนิดอาจลดลง
เเต่เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วราคาสินค้าทั้งหมดโดยเฉลี่ยสูงขึ้น ดัชนีราคา
price index เป็นตัวบ่งชี้ว่าระบบเศรษฐกิจเกิดภาวะเงินเฟ้อหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ดัชนีราคาผู้บริโภค
consumer price index เป็นตัววัด
ประเภทของเงินเฟ้อ
1. เงินเฟ้ออย่างอ่อน
ระดับราคาทั่วไปสูงขึ้นโดยเฉลี่ยไม่เกิน 5%ต่อปีซึ่งอาจถือว่าเป็นภาวะปกติหรือเงินเฟ้อเเบบอ่อนๆ
ในบางครั้งอาจเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ เพราะ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งถือว่าเป็นภาวะปกติและไม่มีผลเสียหายต่อภาวะเศรษฐกิจ ทำให้มีการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจทางด้านการลงทุน การผลิต การจ้างงาน และรายได้ประชาชาติ
2. เงินเฟ้อปานกลาง คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเกินร้อยละ 5 -20 % รัฐบาลจะยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ไขโดยใช้มาตรการทางการเงินและการคลัง
3. เงินเฟ้ออย่างรุนแรง
เป็นปรากฎการณ์ทางเศรษกิจเมื่อระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นไปอย่างกว้างขวางโดยระดับราคาจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 20 % ต่อปี ทำให้อำนาจการซื้อของเงินลดลงอย่างรวดเร็วมาก อย่างเช่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
สาเหตุของเงินเฟ้อ
เงินเฟ้อที่เกิดจากเเรงดึงอุปสงค์เป็นเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเนื่องจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยที่ผลผลิตมวลรวมเพิ่มขึ้นไม่ทันกับความต้องการหรือผลผลิตมวลรวมไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้อีกแล้ว
อาจเป็นเพราะนำปัจจัยการผลิตเเละบริการเต็มที่เเล้ว ไม่สามารถขยายการผลิตเพิ่มได้อีกแล้ว
เมื่ออุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้นอย่างมากในขณะที่อุปทานของสินค้ามีอยู่จำกัด
excess demand และระดับราคาสินค้าจะปรับตัวสูงขึ้น
สาเหตุที่ทำให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้นจนเกิดเงินเฟ้ออธิบายได้ 2 ทฤษฎี
1. ทฤษฎีปริมาณเงิน
Quantity Theoryof Money กล่าวว่า "การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินจะมีผลโดยตรงทำให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น
และจะนำไปสู่ภาวะที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้น หรือเกิดภาวะเงินเฟ้อ"
2. ทฤษฎีขอเคนส์
Keynesian theory กล่าวว่า "เมื่อปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจลดลงมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลงทำให้การลงทุนเพิ่มขึ้น
นั่นคืออุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นในที่สุด
การแก้ไขภาวะเงินเฟ้อ
นโยบายการคลัง ควรใช้นโยบายแบบเกินดุล เพื่อลดการใช้จ่ายมวลรวมของเศรษฐกิจ
ในกรณีที่รัฐดำเนินนโยบายแบบขาดดุลรัฐบาลก็ควรลดอัตราการขาดดุลให้ต่ำลงโดยการลดรายจ่ายเเละเพิ่มอัตราภาษีเงินได้
นโยบายการเงิน ธนาคารกลางต้องพยายามลดการใช้จ่ายมวลรวมโดยการลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจลง
อาจทำได้โดยการเพิ่มอัตตราเงินสำรองตามกฎหมาย
ความสัมพันธ์ระหว่างเงินเฟ้อกับคนว่างงาน
การมีงานทำหรือการว่าจ้างงาน(employment) หมายถึงบุคคลที่อยู่ในวัยทำงาน
มีความสามารถในการทำงานและต้องการทำงาน ได้รับการว่าจ้างให้ทำงาน ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงจะทำให้อัตราการจ้างงานสูง
|