การแจ้งการเกิด
เมื่อมีเด็กเกิดใหม่ ผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งเกิดให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะสูติบัตรเป็นหลักฐานที่ทาง
ราชการออกให้เพื่อให้พิสูจน์ทราบตัวบุคคล
และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเรื่องสิทธิต่าง ๆ หากผู้มีหน้าที่ไม่แจ้งการเกิดต้องมีความผิดตามกฎหมาย
มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
หน้าที่ของผู้แจ้งการเกิด
1. เมื่อมีคนเกิดในบ้านให้เจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งท้องที่ที่เกิดภายใน
15 วัน
2. เมื่อมีคนเกิดนอกบ้าน ให้บิดา หรือมารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่เกิด
หรือท้องที่ที่พึ่งแจ้งได้ใน 15
วันเกิด นับแต่วันเกิด หรือในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนด ให้แจ้งภายหลังได้
แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน (เฉพาะในเขตทุรกันดาร)
สถานที่รับแจ้งการเกิด และผู้มีหน้าที่รับแจ้งการเกิด
1. กรณีคนเกิดนอกเขตเทศบาล ณ ท้องที่ใดให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการเกิดแจ้งต่อนายทะเบียน
ผู้รับแจ้งคือ กำนัน หรือผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้น
หรือ ปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือ กิ่งอำเภอนั้น
2. กรณีคนเกิดในเขตเทศบาลใด ให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนท้องถิ่น
ณ สำนักงานเทศบาลนั้น
3. กรณีมีคนเกิดในกรุงเทพมหานคร ให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนท้องถิ่น
ณ สำนักงานเขตนั้น
การแจ้งการเกิด
ผู้แจ้งการเกิดควรดำเนินการดังนี้
1. ให้แจ้งชื่อของเด็กเกิดใหม่พร้อมกับการแจ้งเกิดและแจ้งชื่อสกุลด้วย
พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็ก
2. แจ้งวัน เดือน ปี และสถานที่เกิด ถ้ามีหนังสือรับรองการเกิดจาก สถานพยาบาลให้นำไปแสดงด้วย
3. แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ และที่อยู่ของบิดาและมารดาเด็ก
4. แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้แจ้งการเกิดตามหลักฐาน สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวที่นำไปแสดง
วิธีการแจ้งการเกิด
เมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการเกิดจากผู้มีหน้าที่แล้ว จะตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดง
เมื่อเห็นว่าถูกต้อง
จะส่งรายการต่าง ๆในสูติบัตร (ตอนที่ 1) ให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน
วิธีการแจ้งการเกิดเกินกำหนด
หมายถึง กรณีมีคนเกิด แต่ไม่ได้แจ้งการเกิดภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด กรณีนี้
ให้ผู้แจ้งการ เกิดยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอ
หรือนายทะเบียนท้องถิ่น แห่งท้องที่ที่มีการเกิด
วิธีการรับแจ้งการเกิดเกินกำหนดเวลา
1. เมื่อนายทะเบียนได้รับคำร้องแล้ว จะตรวจสอบคำร้องและเอกสารที่ผู้แจ้งนำไปแสดง
และดำเนินการเปรียบเทียบคดีความผิด
ตามที่กฎหมายกำหนด
2. สอบสวนสาเหตุจากพยานบุคคลเพื่อให้ทราบสาเหตุที่ไม่แจ้งการเกิดภายในเวลาที่กำหนด
การแจ้งการตาย
ความตายเป็นเรื่องที่คุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และไม่ทราบได้ว่าตนเองจะตายเมื่อไร
ฉะนั้น เพื่อความรอบคอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ และถือเป็นหน้าที่
จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย จึงควรทราบขั้นตอนเกี่ยวกับการแจ้งการตาย
เพราะฝ่าฝืนมีความผิดมีโทษไม่เกิน 1,000 บาท
หน้าที่ของผู้แจ้งการตาย
เมื่อมีคนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายใน
24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย
|