หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
การสวดมนต์

          การสวดมนต์ เป็นกิจที่จำเป็นและสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชน เป็นประเพณีนิยมที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน เป็นหลักเบื้องต้น อันจะนำไปสู่การเรียนรู้และปฏิบัติตามหลักคำสอนในระดับที่สูงขึ้นไป อย่างไรก็ดี การสวดมนต์มีอานิสงส์และมีคุณประโยชน์ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

  1. เชื่อว่า ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะขณะสวดมนต์อยู่นั้น จิตรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสอน และคุณงามความดีของพระสงฆ์
  2. ขณะที่สวดมนต์อยู่นั้น จิตใจจะสงบ ปราศจาก โลภะ (ความโลภ) โทสะ (ความโกรธ) โมหะ (ความหลง) ทำให้เกิดกุศล
  3. จิตเกิดสมาธิ มีความเข้มแข็งและอดทน
  4. เกิดความรู้ จากบทสวดมนต์ หรือคำประพันธ์ที่นำมาแต่ง เป็นบทสวดมนต์
  5. ได้ปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงถึงสัจธรรมในการดำเนินชีวิต
  6. การสวดมนต์ เป็นการบริหารร่างกายอย่างหนึ่ง  ได้ยกมือ ประนมมือ ก้มกราบ การเปล่งออกเสียง ทำให้ปอดขยาย ระบบทางเดินหายใจดีขึ้น สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยแก่ร่างกาย
  7. ทำให้เกิดความสามัคคี ถ้าสวดเป็นหมู่คณะเพราะต้องมีความพร้อมเพียงกัน เริ่มพร้อมกัน กราบพร้อมกันเลิกพร้อมกัน
บทสวดมนต์
คำบูชาพระ
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง ปูเชมิ
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง ปูเชมิ
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง ปูเชมิ
 
คำบูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบ ได้โดยพระองค์เอง ข้าพเจ้าขออภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ)
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว, ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระธรรม (กราบ)
สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)
 
บทสวดนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ )
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ (กราบ)  
 
พระคาถาไตรสรณคมณ์
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
 
บทสวดพุทธานุสสติ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุขโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ,สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวาติ (กราบ)
เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส และตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษ ที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญ เป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้  (กราบ)
 
บทสวดธัมมานุสสติ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ (กราบ)
พระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษา และปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ (กราบ)
 
บทสวดสังฆานุสสติ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง, จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกสังโฆ อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย, อัญชะลีกะระณีโย, อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบ)
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเป็นผู้ควร แก่สักการะ ที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ (กราบ)

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@gmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th