การเจริญปัญญา หมายถึง การพัฒนาปัญญา
ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ในสิ่งที่ควรรู้ คนเราทุกคนต้องอาศัยปัญญาเป็นเสมือนแสงสว่างส่องทางในการดำเนินชีวิต หมายถึง ความสามารถในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ให้ลุล่วงได้เป็นอย่างดี ซึ่งมนุษย์หรือที่เกิดมาในโลกนี้จะมีพื้นฐานทางปัญญามาแต่กำเนิดหรือสัญชาติญาณ หรือสามัญสำนึก เรียกว่า สชาติกปัญญา คือปัญญาที่เกิดมาพร้อมกับชาติ จะเรียกว่า ไอคิว ก็ได้ แต่เป็นปัญญาที่มีอยู่ในระดับปกติทั่ว ๆไป ไม่แก่กล้า บางคนที่มี สชาติกปัญญาน้อยหรือมีไอคิวต่ำ ก็เรียกว่า ปัญญาอ่อน ซึ่งต่ำกว่าคนปรกติ ตามธรรมดามนาย์ที่เกิดมาโดยทั่ว ๆ ไปนั้นย่อมมีปัญญาติดตัวมาทุกคน แต่ถ้าจะพัฒนาให้มีปัญญาอยู่ในระดับสูงขึ้นไป มีปัญญาความรอบรู้ในสิ่งต่าง ๆ รอบรู้ ถึงอุบายวิธีที่จะละเว้นความชั่วหันมาประพฤติความดี จนมีความบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา ใจ จะต้องอาศัย การฝึกฝนอบรมปัญญาเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ ด้วยการปฏิบัติ กัมมัฏฐาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. สมถกัมมัฏฐาน คืออุบายสงบใจหรือวิธีฝึกอบรมจิตให้เป็นสมาธิ เพื่อเป็นการระงับนิวรณ์อันเป็นสิ่งปิดกั้นจิตไว้ไม้ให้บรรลุความดี
2. วิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ อุบายเรืองปัญญาหรือวิธีฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้ ตามที่เป็นจริงโดยการพิจารณา ขันธ์ 5 ให้เห็นถึงนามรูป เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง โดยอาศัยหลักไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ) ประกอบการพจารณาซึ่งจะสามารถทำลายอวิชชาลงได้
สมถะและวิปัสสนาต่างก็เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันกล่าวคือ เมื่อปฏิบัติสามธิจนสงบจิตใจไม่ฟุ้งซ่าน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานให้อบรมปัญญาได้ เมื่อเกิดปัญญารู้แจ้งก็จะกำจัดอวิชชาลงได้ ซึ่งจะส่งผลมายังจิตให้สงบ เยือกเย็นมากยิ่งขึ้น
ปัญญา แปลได้หลายอย่าง เช่น ความรอบรู้เหตุผล รู้ชัด รู้ทัน รู้ประจักษ์ และรู้ถึงทั้งภายในและภายนอก เป็นต้น ปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. โลกิยปัญญา เป็นปัญญาของโลกิยชน เป็นปัญญาของปุถุชนทั่ว ๆ ไป ที่ใช้ปัญญาในการดำรงชีพ
2. โลกุตตรปัญญา เป็นปัญญาของพระอริยบุคคล ปัญญามีไว้สำหรับปราบปรามกิเลสอย่างละเอียด คือ อวิชชา (ความหลง ความไม่รู้เท่า ความเห็นผิดว่า สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งทั้งหลายเป็นสุข)
บ่อเกิดแห่งปัญญา มี 3 ทาง ประกอบด้วย
สุตมยปัญญา หรือปัญญาอันเกิดจากการฟัง
จินตมยปัญญา หรือปัญญาอันเกิดจากการคิด
ภาวนามยปัญญา หรือปัญญาอันเกิดจากการกระทำ
|