วันออกพรรษา เป็นวันที่พุทธบริษัท
ได้พร้อมใจกันกระทำบุญกุศลต่าง ๆ ตามคติประเพณี
ที่เคยประพฤติปฏิบัติสืบ
ๆ กันมาแต่โบราณกาล เช่นมีการตักบาตรเทโว หรือเรียกตักบาตรดาวดึงส์ เป็นต้น
"วันออกพรรษา" มีสาเหตุเนื่องมาจาก "วันเข้าพรรษา"
ที่มีมาแล้วเมื่อวันแรม 1 ค่ำเดือน 8
อันเป็นวันที่พระภิกษุทั้งหลายอธิษฐานใจเข้าอยู่พรรษาครบ
3 เดือน ตามพระพุทธบัญญัติ
โดยไม่ไปค้างแรมค้างคืนนอกสถานที่ที่ท่านตั้งใจอยู่ไว้
เมื่อมีวันเข้าพรรษาก็จำเป็นต้องมีวันออกพรรษา
ซึ่งวันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น
15 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี วันออกพรรษา เป็นวันสุดท้าย
แห่งการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์
หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ได้จำพรรษาครบกำหนดไตรมาส
ตามพระพุทธบัญญัติแล้ว ท่านมีสิทธิ์ที่จะจาริกไปพักค้างคืนที่อื่นได้
ไม่ผิดพระพุทธบัญญัติและยังได้รับอานิสงส์
อนุโมทนากฐิน วันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งว่า " วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา"
มีความหมายว่าพระภิกษุทั้งหลายทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อยต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกัน
ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้พิธีกรรมของฆราวาสที่เกี่ยวเนื่องกันในวันออกพรรษา
การบำเพ็ญบุญกุศลต่าง
ๆ เช่น การทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังธรรม ณ วัดที่อยู่ใกล้เคียง
มีการทำบุญอันเป็นประเพณีที่นิยมกระทำกันมานานแล้วในวันออกพรรษา
ซึ่งเรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือเรียกชื่อเต็มว่า เทโวโรหณะ แปลว่าการหยั่งลงจาก
เทวโลก
หรือการตักบาตรนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตักบาตรดาวดึงส์
และการตักบาตรเทโวนี้
จะกระทำในวันขึ้น 15 เดือน
11 หรือวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ก็ได้สุดแท้แต่จะเห็นพร้อมกัน
การทำบุญตักบาตรเทโวนี้
ท่านจัดเป็นกาลนาน คือ หนึ่งปีมีหนึ่งครั้ง
โดยยึดถือว่าเป็นวันคล้ายกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจาก
เทวโลก ตามตำนานกล่าวว่า
พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษา ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เพื่อทรงเทศนา พระสัตตปรณาภิธรรม คือพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ โปรดพระพุทธมารดา
ครั้นครบกำหนดการจำพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าทรงปวารณาพระวัสสาแล้ว
เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกมาสู่มนุษย์โลก
ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11
โดย เสด็จลงทางบันไดแก้วทิพย์ ซึ่งตั้งระหว่างกลางของบันไดทองทิพย์
อยู่เบื้องขวาบันไดเงินทิพย์
อยู่เบื้องซ้ายและหัวบันไดทิพย์ที่เทวดาเนรมิตขึ้นทั้ง
3 พาดจากยอดเขาพระสิเนรุราช
อันเป็นที่ตั้งแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนเชิงบันไดตั้งอยู่บนแผ่นศิลาใหญ่ใกล้ประตูเมือง สังกัส
และสถานที่นั้นประชาชนถือว่าเป็น ศุภนิมิตร สร้างพระเจดีย์ขึ้นเป็นพุทธบูชานุสาวรีย์
เรียกว่า อจลเจดีย์ อ่านว่า อะ-จะ-ละ-เจ-ดี
อนึ่งในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาสู่มนุษย์โลกนั้นประชาชนพร้อมกันไปทำบุญตักบาตร
เป็นจำนวนมากสุดจะประมาณ
พิธีที่กระทำกันในการตักบาตรเทโว ซึ่งถือตามประวัตินี้ก็เท่ากับ
ทำบุญตักบาตร
รับเสด็จพระพุทธเจ้าในคราวเสด็จลงมาจากเทวโลกนั่นเอง
บางวัดจึงเตรียมการ
ให้คฤหัสถ์แต่งตัวเป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้างแล้วอัญเชิญพระพุทธรูป
ขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่มีล้อเคลื่อนและมีบาตรตั้งอยู่ข้างหน้าพระพุทธรูปใช้คนลากนำหน้าพระสงฆ์
พวกทายกทายิกาตั้งแถวเรียงรายคอยใส่บาตรเป็นการกระทำให้ใกล้กับความจริงเพื่อเป็นการระลึกถึง
พระพุทธเจ้า
ส่วนอาหารที่นำมาทำบุญตักบาตรในวันนั้น มีข้าว กับข้าวต้มมัดใต้ ข้าวต้มลูกโยนที่ห่อด้วย
ใบมะพร้าวหรือใบตาลไว้หางยาวและข้าวต้มลูกโยนนี้มี
ประวัติมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะตั้งใจอธิษฐาน
แล้วโยนไปให้ลงบาตรของพระพุทธเจ้า
เนื่องจากมีคนมากเข้าไปใส่บาตรไม่ได้
ความมุ่งหมายของการปวารณากรรม
ปวารณากรรม มีความมุ่งหมายชัดเจนปรากฏอยู่ในคำที่สงฆ์ใช้ปวารณาซึ่งกันและกัน
ดังนี้
1. เป็นกรรมวิธีลดหย่อนผ่อนคลายข้อขุ่นข้องคลางแคลงที่เกิดจากความระแวงสงสัย
ให้หมดไปในที่สุด
2. เป็นทางประสานรอยร้าว ที่เกิดจากผลกระทบกระทั่งในการอยู่ร่วมกันให้มีโอกาสกลับคืนดีด้วยการให้โอกาสได้ปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน
3. เป็นทางสร้างเสริมความสามัคคีในหมู่ให้กลมเกลียวอยู่ร่วมกันอย่างสนิทใจ
4. เป็นแนวปฏิบัติให้เกิดความเสมอภาคกันในการแสดงความคิดว่ากล่าวตักเตือนได้โดยไม่จำกัดด้วย
ยศ ชั้น พรรษา วัย
5. ก่อให้เกิด "ภราดรภาพ" รู้สึกเป็นมิตรชิดเชื้อปรารถนาดี เอื้อเฟื้ออาทรเป็นพื้นฐานนำไปสู่พฤติกรรมอันพึงประสงค์ที่ดีงานคล้าย
ๆ กัน เรียกว่า ศีล สามัญญุตา
พิธีตักบาตรเทโว มีปรากฏในอรรถกถาธรรมบทว่าในขณะนั้นพระพุทธเจ้าจำพรรษาอยู่ในนครสาวัตถี
พรรษาที่ 25 ผู้คนในชมพูทวีปหันมาเลื่อมในพระพุทธศาสนาทำให้นักบวชนอกศาสนา
อิจฉาเพราะเขาเหล่านั้นเดือดร้อนในการขาดผู้ค้ำจุนดูแลและขาดลาภสักการะจึงทำการกลั่นแกล้ง
พระพุทธศาสนาโดยประการต่าง ๆ โดยเฉพาะในเรื่องอิทธิฤทธิ์พระองค์และเหล่าสาวกของพระองค์เองศาสนาอื่นปลุกปั่นจนพระองค์ทรงห้ามเหล่าสาวกทั้งหลายแสดงอิทธิฤทธิ์
พระองค์ก็งดแสดงอิทธิฤทธิ์เช่นกัน จึงทำให้ศาลามีจุดที่จะทำให้ศาสนาอื่น
เช่น อาจารย์ทั้ง ๖ และศาสนาเชน ทำการโฆษณาชวนเชื่อว่าพระพุทธศาสนานั้นมีพระพุทธเจ้าและสาวกสิ้นฤทธิ์หมดแล้วอย่าไปนับถือเลยสู้พวกตนไม่ได้ยังมีฤทธิ์เหนือกว่าควรจะมานับถือพวกตนดีกว่าพระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าขืนปล่อยเฉยต่อไป
โดยไม่ตอบโต้บ้าง อาจเป็นผลเสียต่อพระพุทธศาสนา
ดังนั้นวันเพ็ญอาสาฬหะ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์
คือแสดงฤทธิ์เป็นคู่ ๆ ซึ่งก็มีปรากฏเพียงครั้งเดียวในครั้งนั้นทำให้ผู้คนที่เคลือบแครงสงสัยหันมานับถือศาสนาอย่างมั่นคงอีกครั้ง
ในวันรุ่งขึ้นแรม 1 ค่ำ เดือนอาสาฬหะ เป็นวันอธิฐานเข้าพรรษา พระพุทธเจ้าทรงประกาศจำพรรษาที่สรรค์ชั้นดาวดึงส์
ตามธรรมเนียมที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงลาบริษัทแล้วก็เสด็จไป
ณ ดาวดึงส์เทวโลก เพื่อโปรดพุทธมารดาด้วยพระอภิธรรม 7 พอครบเวลา 3 เดือนของการโปรดพระพุทธมารดาด้วยพระอภิธรรมทั้ง
7 ในวันเพ็ญเดือน 11 ก็เสด็จกลับลงมายังโลกมนุษย์ ณ ที่ประตูเมือง สังกัสสนคร
ท้าวสักกเทวราชพร้อมด้วยบริวารตามลงมา เสด็จทางบันใดสวรรค์จนถึงขั้นพิภพ
พระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธิฤทธิ์บันดาลให้โลกทั้ง 3 มี เทวโลก มนุษย์โลก สัตว์นรก
มองเห็นกันทั้งหมด จึงเรียกวันนั้นว่า วันพระเจ้าเปิดโลกพอวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรม
1 ค่ำเดือน 11 ผู้คนในชมพูทวีปพากันมาใส่บาตรพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
การตักบาตรในครั้งนั้นมิได้นัดหมายกันมาก่อนเลยต่างคนก็ต่างมาด้วยศรัทธาจึงทำให้คนมามากมาย
เมื่อมีมามากทำให้ไม่ถึงบาตรพระภิกษุสงฆ์ จึงเอาข้าวของตนห่อหรือปั้นเป็นก้อน
โยนใส่บาตรพระด้วยเหตุนี้ต่อมาภายหลังจึงนิยมทำข้าวต้มลูกโยนใส่บาตรพระในวันเทโวโรหณะ
พิธีตักบาตรเทโวโรหณะในสมัยปัจจุบัน ตอนรุ่งอรุณของวันตักบาตรเทโว พระภิกษุสามเณร
ลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่า พระลงมาจากบันใดสวรรค์
บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมุติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่ง
พระพุทธเจ้า และยังมีการแต่งตัวสมมุติเป็น พระพรหม พระอินทร์ เทวดา นางฟ้า
เทพธิดา พวกยักษ์ นำหน้าขบวนพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วย ข้าวต้มมัด
ข้าวต้มลูกโยน จึงเป็นสัญลักษณ์ของประเพณีวันออกพรรษานี้
|