หน้าแรก | ||||||
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
||||||
สารบัญ | ||||||
มรรค 8 | หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา |
มรรค 8
มรรค คือ วิถีทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์ หมายถึง ไม่กลับเวียนว่ายตายเกิดอีก คือนิพพาน ซึ่งมีอยู่ทางเดียวคือวิธีการที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์หรือดับตัณหาในที่นี้ก็คือ มรรคแปด อันได้แก่ 1. สัมมาทิฎฐิ ความเห็นชอบ การเข้าใจเรื่องราวอย่างถูกต้อง มีปัญญาเห็นชอบในสิ่งที่ถูกทั้งทางโลกและธรรมะ อาทิ 1.1 การเข้าใจว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือสาเหตุแห่งทุกข์ อะไรคือการดับทุกข์ อะไรคือสิ่งที่จะนำไปสู่การดับทุกข์ 1.2 เห็นอริยสัจสี่ เห็นว่าอะไรคือความดี อะไรคือความชั่ว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เห็นความไม่เที่ยงของสังขาร 1.3 การเข้าใจกระบวนการเกิดขึ้นและการดับแห่งทุกข์โดยเป็นปัจจัยอาศัยกัน เป็นสังสารวัฏ (กิเลส กรรม วิบาก ) เป็นต้น 2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ การคิดที่จะทำในเรื่องที่ดีงาม ไม่คิดโกรธ เบียดเบียน รักใคร่ ยึดธรรมะ คิดให้หลุดพ้นจากกามจากโลภ อาทิ 2.1 ความคิดที่ปลอดโปร่งไม่หมกมุ่นอยู่ในกามคุณ 5 (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ) 2.2 ความคิดที่ไม่พยาบาท อาฆาต ริษยา ให้มีความเมตตา กรุณา เป็นต้น 3. สัมมาวาจา วาจาชอบ ไม่พูดปด พูดส่อเสียด พูดหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระ พูดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ 4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ ปฏิบัติชอบ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ขโมย ไม่ประพฤติผิดในกาม 5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ ประกอบอาชีพสุจริต ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย ยาเสพติด เป็นต้น 6. สัมมาวายามะ เพียรชอบ ทำความเพียรทั้งทางโลกและทางธรรม 7. สัมมาสติ ระลึกชอบ มีความระลึกชอบ รู้ถูกรู้ผิดทางธรรมโดยมุ่งตัดกิเลสทั้งปวงให้มีสติระลึกในอนุสสติ 10 ประการ สามารถปฏิบัติได้ด้วยการเจริญสมาธิ อาทิ 7.1 พุทธานุสสติ เป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้า พิจารณาถึงพุทธคุณ 9 ประการ 7.2 ธัมมานุสสติ เป็นการระลึกถึงพระธรรม พิจารณาถึงธรรมคุณ 6 ประการ 7.3 สังฆานุสสติ เป็นการระลึกถึงพระสงฆ์ พิจารณาถึงสังฆคุณ 9 ประการ 7.4 สีลานุสสติ เป็นการระลึกถึงศีล พิจารณาถึงศีลที่เรารักษาอยู่ให้บริสุทธิ์ 7.5 จาคานุสสติ เป็นการระลึกถึงทาน พิจารณาถึงคุณธรรมที่เราเสียสละ มีใจเอื้อเฟื้อ 7.6 เทวตานุสสติ เป็นการระลึกถึงเทวดา พิจารณาถึงคุณธรรมที่ทำให้เป็นเทวดาที่เราเคยได้ยินได้ฟังมา 7.7 มรณัสสติ เป็นการระลึกถึงความตาย พิจารณาถึงความตายอันพึงจะมาถึงตนเพื่อความไม่ประมาท ในการใช้ชีวิต 7.8 กายคตาสติ เป็นการระลึกถึงร่างกาย ตัวเรา อันเป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ) อย่าลุ่มหลง มีเกิด มีดับ เป็นของธรรมดา 7.9 อานาปานสติ เป็นการระลึกถึงสติกำหนดลมหายใจเข้าออก 7.10 อุปสมานุสสติ เป็นการระลึกถึงธรรมอันสงบคือนิพพาน พิจารณาถึงคุณของนิพพาน เป็นการดับทุกข์ กิเลสทั้งปวง หยุด ตัดวงจรในวัฎสังสาร(กิเลส กรรม วิบาก )นิพพานเป็นจุดหมายสูงสุดที่ชาวพุทธทั้งหลายต้องการไปถึง คือการที่พระพุทธองค์สอนให้มนุษย์ทั้งหลายปฏิบัติจนหลุดพ้นจากวัฏสงสารโดยไม่มีการกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก ทำให้หลุดพ้นจากกองทุกข์ 8. สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นชอบ จิตอยู่ในสมาธิที่ถูกต้องได้เสมอ การตั้งจิตใจให้แน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน สามารถฝึกปฏิบัติได้ด้วยการบริหารจิต ทำสมาธิ มรรคมีองค์ 8 นี้ เมื่อจัดเข้าระบบการฝึกปฏิบัติหรือที่เรียกว่า ไตรสิกขา ( ปฏิบัติธรรม ) สามารถปฏิบัติ ได้ด้วยการรักษาศีล การทำสมาธิ และการเจริญปัญญา โดยแบ่งได้ดังนี้
|
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |