อริยสัจ 4

หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
อริยสัจ 4
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นพระอริยะ เป็นผู้ประเสริฐได้ อริยสัจ 4 ประกอบด้วย
1. ทุกข์ ( ธรรมที่ควรรู้ ) หมายถึง ความรู้สึกไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความเศร้าโศกเสียใจ เป็นสภาพบีบคั้นจิตใจและร่างกายให้ทนได้ยาก เมื่อทุกข์เกิดขึ้น บุคคลจะไม่สามารถละหรือคลายทุกข์ได้ ทุกข์จึงเป็นสภาวะ ที่จะต้องกำหนดรู้เพียงอย่างเดียวว่า นี้ คือความทุกข์ หรือ ปัญหา และต้องยอมรับความเป็นจริงว่า เป็นธรรมดาของสัตว์โลกต้องปล่อยวางจึงจะทำให้ทุกข์บางเบาลงได้
2. สมุทัย (ธรรมที่ควรละ ) หมายถึง ต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์หรือ ปัญหา หรือ ความต้องการ หรือ ความอยาก ที่เรียกว่า "ตัณหา" ความอยากเกินควร หรือ ความทะยานอยากของจิต ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด เป็นไปด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน อย่างหลงระเริง ในสิ่งที่ก่อให้เกิดความกำหนัดรักใคร่นั้นๆ
มี 3 ประกายคือ
         1. กามตัณหา
คือความปรารถนาในกามไม่หยุดหย่อน หรือ ความทะยานอยากในสิ่งที่ก่อให้เกิดความใคร่ อยากได้ อยากมี
         2. ภวตัณหา
คือ อยากเป็น ไม่เพียงพอ หรือ ความทะยานอยากในความอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่ และ
         3. วิภวตัณหา
คือความไม่อยากมีไม่อยากเป็นจนทุกข์ หรือ ความทะยานอยากในความที่จะพ้นจากภาวะที่ไม่อยากเป็น
3. นิโรธ ( ธรรมที่ควรบรรลุ ) หมายถึง สภาวะที่ทุกข์หมดสิ้นไป สภาพที่ปราศจากทุกข์ มีแต่ความสงบร่มเย็น สภาวะที่จัดเป็นนิโรธนี้ถือเป็นที่สูงสุด ในการปฏิบัติธรรมของชาวพุทธ เป็นยอดปรารถนาของคนทั่วไปคือความดับทุกข์
4. มรรค ( ธรรมที่ควรเจริญ ) หมายถึง ข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการมีสัมมาทิฐิ คือความเห็นชอบ เป็นต้น โดยมรรคทั้ง 8 ประการนี้บุคคลจะต้องปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในตนครบทั้ง 8 ประการ จึงสามารถถึงความดับทุกข์ได้
คุณค่าของอริยสัจ 4
อริยสัจ 4 ไม่เพียงแต่เป็นหลักความจริงอันประเสริฐ เป็นหลักแห่งเหตุและผล แต่ยังถือว่าเป็นหลักการสำคัญในการแก้ปัญหาชีวิตอีกด้วย เช่น นิกรเสียใจเพราะสอบวิชาคณิตศาสตร์ไม่ผ่าน เมื่อนำหลักการแก้ปัญหาแบบอริยสัจมาแก้ปัญหาดังกล่าวก็ได้ดังนี้
เมื่อเกิดความเสียใจเพราะสอบไม่ผ่าน (ทุกข์) ก็จะต้องพิจารณาว่าเกิดจากสาเหตุใดซึ่งในที่นี้ได้แก่ ความอยากสอบผ่าน (ตัณหา) หากต้องการหายจาก (ทุกข์)(ก็ดับต้องดับความอยาก(วิภวตัณหา)
โดยหาสาเหตุของการสอบไม่ผ่าน
 
          จากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา อะไรที่เกิดขึ้นมาในชีวิต ขึ้นอยู่กับการปรุงแต่ง ปรุงให้สุขก็สุข ปรุงให้ทุกข์ก็ทุกข์ ถ้าไม่สนใจนำมาปรุงเลยมันก็ผ่านเลยไป ไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งนั้น
ตัวตัณหาที่ทำให้เราทุกข์ ตัวตัญหา เปรียบเสมือน สุนัข ที่หลงทางเข้ามาทางบ้านเรา ถ้าเราไม่เปิดประตูมันก็เดินผ่านไปถ้าเปิดประตูให้มันก็เดินเข้ามาในชีวิตของเรา และถ้าเปิดประตูให้อาหารเลี้ยงดูมัน ให้ที่อยู่มันอาศัย มันก็จะอยู่กะเราไปชั่วขณะ ความเจ็บ ความแก่ ความตาย การพลัดพลาดจากของรัก ก็ตามมา เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอ จะมีเงิน ร่ำรวยขนาดไหนก็หนีไม่พ้น จะทุกข์มากถ้าไม่เตรียมใจไว้ก่อน จะทุกข์น้อยลง เมื่อเตรียมใจไว้เมื่อเจอ จะไม่ทุกข์เลย ถ้าเข้าใจว่า มันเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการเดินทางของจิต ในชาตินี้เท่านั้น ของอะไรที่แบกไว้ แบกอย่างไรก็หนักเท่าเดิม แต่อะไรที่แบกไว้ในใจยิ่งแบกนานยิ่งหนักมากขึ้น และหนักมากขึ้นๆ ยิ่งหนักมากก็ยิ่งทุกมาก วิธีทางแก้ทางเดียว ก็คือ จงรู้จักที่จะปล่อยวาง วางเพื่อให้ ว่าง พอว่างก็จะสบาย ความโลภ ความโฏรธ ความหลงเป็นรากเหง้าของความทุกข์ (โลภะ โทสะ โมหะ) ทำให้เราเกิดทุกข์ เวลาทุกข์แล้วมันจะลุกลามไวเหมือนไฟไหม้ป่า แต่ถ้ามีสติอยู่รู้ทัน ระงับไว้ได้ก่อน ทุกข์มันก็จะไม่ทุกมาก ทุกข์น้อยกว่าคนที่ได้เจอในเรื่องเดียวกัน หรืออาจไม่ทุกข์เลย
         ความอยากของมนุษย์ เปรียบเสทอนกระเชอ เติมน้ำใส่อยากไรก็ไม่เต็ม ยิ่งอยากก็ยิ่งทุกข์ ยิ่งทุกข์ก็ยิ่งเติม แต่พอยิ่งเติมก็ยิ่งทุกข์ เพราะยิ่งเติมมากเท่าไร รูรั่วของกระเชอยิ่งเยอะขึ้น ความโกรธก็เหมือนไฟเผาผลาญใจ ยิ่งโกรธมากยิ่งไหม้แรง ยิ่งร้อนใจ ที่แย่กว่าความโกรธคือ ความแค้น เพราะจะลุกลามไวยิ่งกว่าไฟไหม้ป่า การแก้แค้นต่อให้ทำสำเร็จ ความโกรธอาจหายไป แต่ความทุกในใจ จะมากขึ้นกว่าเดิม ไฟไม่สามารถใช้ดับไฟได้ฉันใด ทุกข์จากความโกรธก็ไม่สามารถดับไฟด้วยการแก้แค้นได้ฉันนั้น   
 
        จงเรียนรู้ให้อภัยและปล่อยวาง ใช้ความรักแบบทางธรรม คือ เมตตา ความรักแบบทางโลก คือ เสน่หา เมตตาให้แต่สุข เสน่หาให้แต่ทุกข์ ยิ่งเสน่หามาก ยิ่งทุกข์มาก ทุกเพราะยึดติด ทุกข์เพราะคาดหวัง ทุกข์เพราะขาดสติ

         จงรักแบบ เมตตา รักแบบมีสติ รักแบบปล่อบวาง แล้วเราจะมีสุขกับทุกความรักในชีวิต ทุกสิ่งในโลกนี้ไม่มีจริง ทุกอย่าง คือการประกอบขึ้นมาของธาติ 4 ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ประกอบกันขึ้นมาชั่วคราว พอถึงเวลาก็สลายแตก แยกธาตุ ออกไปดังเช่นเดิม
ความรักของเรา จริงๆ ไม่มีอยู่จริง
คนรักของเรา จริงๆ ไม่มีอยู่จริง
ปัญหาของเราจริงๆ ไม่มีอยู่จริง
แม้กระทั่งร่างกายของเราจริงๆ ไม่มีอยู่จริง

ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เพราะมันไม่เคยมีอยู่ตั้งแต่แรกแล้ว อนัตตลักขณัตสูตร (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตตา)ทุกสรรพสิ่ง ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ ไม่มีตัวตน

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th