หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
ภาษาบาลี

หลักการเขียนและการอ่านภาษาบาลี
               ภาษาบาลีเป็นภาษาที่ใช้ในพระไตรปิฎก ปัจจุบันการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ยังนิยมใช้ ภาษาบาลีอยู่ พุทธศาสนิกชนจึงควรอ่านและเขียนได้บ้างตามสมควร เพื่อจะได้ศึกษาหลักธรรมได้เข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้โดยการใช้หลักการดังนี้
1. พยัญชนะ
      พยัญชนะ ในภาษาบาลีมี 33 ตัว โดยแบ่งออกเป็นหมวดหรือวรรค ดังนี้

วรรค/แถว

1

2

3

4

5

กะ

จะ

ฏะ

ตะ

ปะ


        เศษวรรค   ย   ร   ล  ว   ส   ห   ฬ     ํ
 
2. สละ
      สระที่ใช้ในภาษาบาลีมี 8 ตัว ได้แก่   อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ เมื่อประกอบกับพยัญชนะ สระอะ จะไม่ปรากฏรูปแต่จะอ่านออกเสียงสระอะ      พยัญชนะทุกตัว อ่านออกเสียง   อะ  
เช่น    
ก 
ข 
ค  
ฆ   
อ่านว่า กะ       ขะ   คะ ฆะ งะ

อ่านว่า

จะ

ฉะ

ชะ

ฌะ

ญะ

อ่านว่า

ฏะ

ฐะ

ฑะ

ฒะ

ณะ

อ่านว่า

ตะ

ถะ

ทะ

ธะ

นะ

อ่านว่า

ปะ

ผะ

พะ

ภะ

มะ

 
คำในภาษาบาลี เมื่อนำมาเขียนถ่ายทอดเป็นภาษาไทยแล้ว จะมีลักษณะที่ควรสังเกตประกอบ การอ่าน ดังนี้
1.      ตัวอักษรทุกตัวที่ไม่มีเครื่องหมายใดอยู่บนหรือล่าง และไม่มีสระใดๆ กำกับไว้ ให้อ่านอักษรนั้นมีเสียง "อะ" ทุกตัว เช่น
ติสรเณนสห อ่านว่า ติ -  สะ - ระ - เณ - นะ - สะ - หะ
สีลานิ  ยาจาม อ่านว่า สี  -  ลา -  นิ -  ยา  - จา -  มะ
ภควา อ่านว่า ภะ - คะ - วา
อรหโต อ่านว่า อะ  - ระ  -  หะ -โต
โลกวิทู อ่านว่า โล - กะ -  วิ - ทู  
นมามิ อ่านว่า นะ - มา -  มิ
 
2.      เมื่อตัวอักษรใดมีเครื่องหมาย  ฺ  (พินทุ) อยู่ข้างใต้แสดงว่าอักษรนั้นเป็นตัวสะกดของอักษร      ที่อยู่ข้างหน้า ผสมกันแล้วให้อ่านเหมือนเสียง อะ+(ตัวสะกด) นั้น เช่น
สมฺมา (สะ+ม = สัม) อ่านว่า สัม  - มา    
สงฺโฆ (สะ+ง = สัง)   อ่านว่า สัง - โฆ    
ยกเว้นในกรณีที่พยัญชนะตัวหน้ามีเครื่องหมายสระกำกับอยู่แล้ว ก็ให้อ่านรวมกันตามตัวสะกดนั้น เช่น
พุทฺโธ อ่านว่า พุท - โธ
พุทฺธสฺส อ่านว่า พุท -  ธัส - สะ
สนฺทิฏฺ ฺฐิโก   อ่านว่า สัน - ทิฏ - ฐิ - โก
ปาหุเนยฺโย    อ่านว่า ปา - หุ - เนย - โย
     
3.        เมื่ออักษรใดมีเครื่องหมาย  ํ (นฤคหิต) อยู่ข้างบนตัวอักษร ให้อ่านให้เหมือนอักษรนั้นมีไม้หันอากาศและสะกดด้วยตัว "ง" เช่น
มยํ   อ่านว่า  มะ-ยัง
วิสุ ํ  อ่านว่า วิ-สุง             
อรหํ    อ่านว่า อะ - ระ - หัง
สงฺฆํ   อ่านว่า สัง - ฆัง
ธมฺมํ      อ่านว่า ธัม - มัง
สรณํ         อ่านว่า   สะ -ระ - นัง
สีล ํ           อ่านว่า สี -  ลัง
 
แต่ถ้าตัวอักษรนั้นมีทั้งเครื่องหมาย  ํ (นฤคหิต) อยู่ข้างบนและมีสระอื่นกำกับอยู่ด้วย ก็ให้อ่านออกเสียงตามสระที่กำกับ + ง (ตัวสะกด) เช่น
พาหุ ํ อ่านว่า   พา-หุง
     
4.        เมื่ออักษรใดเป็นตัวนำแต่มีเครื่องหมาย    ฺ  (พินทุ) อยู่ข้างใต้ด้วย ขอให้อ่านออกเสียง  "อะ" ของอักษรนั้นเพียงครึ่งเสียงควบไปกับอักษรตัวตาม เช่น
สฺวากฺขาโต    อ่านว่า สะหวาก-ขา-โต
 
5.  บางครั้งใช้พินทุ    ฺ   จุดใต้พยัญชนะ เพื่อให้ตัวควบกล้ำ ในกรณีนี้อ่านออกเสียงกึ่งมาตรา เช่น           

พฺยาธิ   

อ่านว่า 
พยา-ธิ
พฺราหฺมณ    อ่านว่า พราม-มะ-ณะ
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th