หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
พุทธบริษัท 4
พระอานนท์

พระอานนท์มีฐานะเป็นพระอนุชาของพระบรมศาสดานับเรียงลำดับพระญาติ พระอานนท์ออกผนวชพร้อมกับเจ้าศากยวงศ์อีก 4 องค์ คือ ภัททิยะ อนุรุทธะ ภัคคุ กิมพิละ และเจ้าชายโกลิยวงศ์อีก 1 องค์ คือ เทวทัตและราษฎรสามัญชนมีอาชีพเป็น กัลบก (ช่างตัดผม) อีก 1 คน อุบาลี รวมทั้งสิ้น 7 คน ทั้ง 7 คนได้เข้าไปขออุปสมบทกับพระพุทธเจ้า พระศาสดาก็ทรงอุปสมบทให้ หลังจากอุปสมบทแล้ว พระอานนท์ได้รับฟังคำสั่งสอนจาก พระปุณณมันตานีบุตร ได้บรรลุเป็น พระโสดาบัน และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป้นผู้รับใช้ใกล้ชิดพระบรมศาสดา ซึ่งเรียกว่า พุทธอุปัฏฐาก การเข้าไปเป็นพุทธอุปัฏฐาก ก็มิใช่ว่าเกิดจากการแสวงหาของท่านเอง แต่เป็นเพราะมติสงฆ์ที่เห็นพ้องต้องกัน และมติคณะสงฆ์ถือเป็นอาณัติที่สำคัญ ใครจะปฏิเสธหรือละเมิดมิได้ พระอานนท์จึงจำต้องรับ แต่ก่อนจะเข้าไปปฏิบัติหน้าที่อันสำคัญนี้ ท่านได้ทูลขอพร 8 ประการ จากพระบรมศาสดา ดังนี้ 
     1. โปรดอย่าประทานจีวรอันประณีต(ทำจากผ้าเนื้อดี)แก่ข้าพระองค์      
     2. โปรดอย่าปรัทานบิณฑบาตอันประณีต(อาหารอย่างดี)แก่ข้าพระองค์
     3. โปรดอย่าให้ข้าพระองค์อยุ่ในที่ประทับของพระองค์
     4. โปรดอย่าพาข้าพระองค์ไปที่นิมมต์
     5. ขอพระองค์จงเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์ได้รับไว้       
     6. ขอได้ดปรดอนุญาตให้ข้าพระองค์พาพุทธบริษัทซึ่งเดินทางมาเข้าเฝ้าจากที่ห่างไกล ในขระที่เดินทางมาถึง       
     7. ถ้าข้าพระองค์มีความสงสัยเกิดขึ้นเมื่อใดขอได้ดปรดให้ข้าพระองคืทูลถามได้เมื่อนั้น       
     8. ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องใดแก่ใครในที่ลับหลังของข้าพระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดแสดงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์ด้วย พระบรมศาสดาตรัสถามว่า “อานนท์ เธอมีเหตุผลอะไรหรือ จึงขอพรเช่นนั้น” พระอานนท์กราบทูลว่า
“ถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพร 4 ข้อแรกก็อาจถูกครหานินทาได้ว่าพระออนนท์ยอมรับเป้นอุปัฏฐาก ก็เพื่อหวังได้รับของอันประณีต มิใช่ต้องการจะเสียสละประโยชน์ตนแต่ประการใด ส่วนอีก 3 ข้อ ถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับคนก็อาจพูดกันอีกว่ารับใช้พระพุทธเจ้าอย่างไร เรื่องเล็กๆ น้อยๆ แค่นี้ก็อนุเคราะห์ไม่ได้ และ
โดยเฉพาะข้อที่ 8 ถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับ พอข้าพระองค์ถูกถามว่าธรรมข้อนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ใครที่ไหน มีสารสำคัญอย่างไรหากข้าพระองค์ตอบไม่ได้ ก็จะถูกครหาอีกว่าอยู่ใกล้ชิดพระบรมศาสดาเสียเปล่า พระพุทธองค์แสดงธรรมว่าอย่างไรก็ไม่รู้เรื่อง”
       เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบเหตุผลแล้วก็ทรงประทานพรให้ตามที่ขอ พระอานนท์ก็ปฏิบัติหน้าที่รับใช้ด้วยความเอื้อเฟื้อ จงรักภักดี ยอมเสียสละได้แม้กระทั่งชีวิตเพื่อป้องกันพระพุทธเจ้า เห็นได้จากเหตุการณ์ที่พระเทวทัตยุยงเสี้ยมสอนให้พระเจ้าอชาตศัตรู ปล่อย ช้างนาฬาคีรี หวังปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า นาทีวิกฤตเช่นนั้น พระอานนท์ออกมายืนขวางหน้าช้างนาฬาคีรีเพื่อมิให้ทำร้ายพระพุทธองค์ พระอานนท์มีคุณสมบัติเฉพาะตัวคือ เป็นผู้มีความขยัน อดทน มีความจำเป็นเลิศ สามารถจดจำพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าแสดงในสถานที่ต่างๆ ได้ทั้งหมด จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย
5 สถานคือ
      1. เป็นพหุสูต คือเป็นผู้ได้ฟัง ได้ศึกษามาก
      2. มีสติ คือ เป้นอยู่ดดยไม่ประมาท
      3. มีธิติ คือ มีปัญญาเฉียบแหลม
      4. เป้นผู้มีความเพียรอย่างสม่ำเสมอ
       5. เป็นพุทธอุปัฏฐากการได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศทางพหุสูตนี้ ในการทำสังคายนาครั้งแรกคณะสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน พระมหากัสปะเตือนให้พระอานนท์เร่งทำความเพียรให้หนักยิ่งขึ้นเพื่อจะได้สำเร็จพระอรหันตืทันวันทำสังคายนา พระอานนท์ก็ได้กะทำตามคำแนะนำแต่ก็ไม่สำเร้จสักทีจนกระทั่งก่อนวันทำสังคายนา พระอานนท์ก็เอนตัวลง เพื่อจะพักผ่อนในช่วงนี้เอง ท่านเองก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ อิริยาบทที่ท่านสำเร็จนั้นเรียกว่าอยู่ในระหว่างอิริยาบททั้ง 4 วันรุ่งขึ้นท่านพระอานนท์ฏ้เข้าปฏิบัติหน้าที่วิสัชนาพระสูตรในการทำสังคายนาในฐานะขีณาสพ (พระอรหันต์) องค์หนึ่ง งานครั้งนั้นใช้เวลาทำอยู่ 7 เดือนจึงสำเร็จ ถือเป็นงานชิ้นสำคัญ และมีคุณค่าต่อพระศาสนา  พอเวลาผ่านไปสังขารของท่านก็ร่วงโรย ท่านพิจารณาว่าควรจะปรินิพพานได้แล้ว ท่านจึงไปยัง แม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่าง ศากยวงศ์กับโกลิยวงศ์ แล้วตั้งจิตอธิฐานว่า เมื่ออาตมาปรินิพพานขอให้ร่างนี้จงลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วแตกออกเป็น 2 ภาค ภาคหนึ่งให้ปลิวไปตกทางฝั่งโกลิยะ อีกภาคให้ปลิงไปทางฝั่งศากยะ เพื่อมิให้พระญาติทั้ง 2 ฝ่ายต้องทะเลาะวิวาทกันเกี่ยวกับอัฐิของอาตมา ครั้นอธิฐานเสร็จแล้วร่างกายของท่านก็ลอยขึ้นไปในอากาศ นิพพาน กลางอากาศ สรีระร่างกายของท่านก็แตกออกเป็น 2 ภาค ตามที่อธิฐานไว้ทุกประการ 



Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th