คำว่า ปกครอง หมายถึง การคุ้มครอง รักษา ดูแล ควบคุม
สังคมมนุษย์ ที่อยู่รวมกัน ตั้งแต่สังคมที่เล็กที่สุด ระดับ ครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง ประเทศ กลุ่มประเทศ ไปจนถึงสังคมโลก ต้องมีการดูแลรักษาควบคุมคุ้มครอง อาทิ ในระดับครอบครัวก็ต้องมีบิดามารดา ปกครองดูแลบุตรและสมาชิกอื่นภายในครอบครัว
สังคมที่ใหญ่ขึ้นก็ต้องมีหัวหน้าเป็นผู้นำ ปกครองดูแลสมาชิก ลดหลั่นกัน ตามสถานภาพ สำหรับประเทศไทยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยโบราณ ถ้าจะนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี พบว่า พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยแล้ว หรือก่อนหน้านี้ดินแดนที่เป็นที่ตั้งของประเทศไทยก็มีหลักฐานว่าศาสนาพุทธได้มีคนในถิ่นนี้เชื่อหลักธรรมทางพุทธศาสนาแล้ว เช่น พระธาตุพนม
ในอาณาจักรโคตรบูร เจดีย์วัดมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช พระบรมธาตุไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี ในอาณาจักรศรีวิชัย แสดงให้เห็นว่า การปกครองในระดับรัฐหรือประเทศของคนในดินแดนสุวรรณภูมิมีการใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนา ในการปกครองประเทศแล้ว
ประเทศไทยเคยปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำสูงสุดในการปกครอง พระมหากษัตริย์ของไทยมิได้ใช้อำนาจอย่างเดียวในการปกครองประเทศและเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์โดยเฉพาะองค์ปัจจุบันทรงใช้ ทศพิธราชธรรม ในการดูแลคุ้มครองประชาชนของพระองค์ นอกจากนี้ทรงใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาอื่นอีกมากในราชจริยาวัตร อาทิ จักรวรรดิวัตร 12 ประการ สังคหวัตถุ4 พรหมวิหาร4 ฆราวาสธรรม4 ราชจริยวัตร4 ฯลฯ
กฎหมายที่ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศก็ใช้หลักคำสอนทางพุทธศาสนาเป็นหลักในการออกกฎหมาย มาตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการจ้างชาวต่างประเทศมาเป็นที่ปรึกษาในการออกกฎหมาย ประเทศไทยยังคงยึดหลักคำสอนทางพุทธศาสนาในการออกกฎหมาย
บังคับใช้ในการปกครองประเทศ อาทิ ศีล ข้อที่ 1 ปาณาติปาตา เวรมณี (งดเว้นการฆ่าสัตว์ ) ถ้าสมาชิกในสังคม ไปทำร้ายผู้อื่น
ก็ถือว่ากระทำผิดกฎหมาย ต้องถูกลงโทษ
ข้อที่ 2 อะทินณาทานา เวรมณี ( งดเว้นการลักทรัพย์) ถ้าสมาชิกในสังคม ไปลักทรัพย์ของผู้อื่น ก็ถือว่ากระทำผิดกฎหมาย ต้องถูกลงโทษอย่างนี้เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาส่งเสริมในด้านการปกครอง ให้สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
ธรรมสำหรับพระราชา ธรรมสำหรับพระราชาซึ่งเป็นแบบแผนในการปกครองได้แก่
ทศพิธราชธรรม 10 จักรวรรดิวัตร 12 และราชสังคหวัตถุ 4
เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่ได้ทรงบำเพ็ญคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างใหญ่หลวง
ทศพิธราชธรรม 10 คือธรรมในการใช้พระราชอำนาจและการบำเพ็ญประโยชน์ต่ออาณาประชาราษฎร์ มีดังนี้
1. การให้
2. การบริจาค
3. ความประพฤติดีงาม
4. ความซื่อตรง
5. ความอ่อนโยน
6. ความทรงเดช
7. ความไม่โกรธ
8. ความไม่เบียดเบียน
9. ความอดทน
10. ความไม่คลาดเคลื่อนในธรรม
จักรวรรดิวัตร 12 คือธรรมอันเป็นพระราชจริยานุวัตร ทรงถือและอาศัยธรรมข้อนี้เป็นหลักสำหรับการปกครองประเทศ ดังนี้
1. ควรอนุเคราะห์คนในราชสำนักและคนภายนอกให้มีความสุข ไม่ปล่อยปละละเลย
2. ควรผูกไมตรีกับประเทศอื่น
3. ควรอนุเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์
4. ควรเกื้อกูลพราหมณ์ คหบดี และคฤบดีชน คือเกื้อกูลพราหมณ์และผู้ที่อยู่ในเมือง
5. ควรอนุเคราะห์ประชาชนที่อยู่ในชนบท
6. ควรอนุเคราะห์สมณพรามณ์ผู้มีศีล
7. ควรจักรักษาฝูงเนื้อ นก และสัตว์ทั้งหลายมิให้สูญพันธ์
8. ควรห้ามชนทั้งหลายมิให้ประพฤติผิดธรรม และชักนำด้วยตัวอย่างให้อยู่ในกุศลสุตจริต
9. ควรเลี้ยงดูคนจน เพื่อมิให้ประกอบการทุจริตและอกุศลต่อสังคม
10. ควรเข้าใกล้สมณพราหมณ์เพื่อศึกษาบุญและบาป กุศล และอกุศลให้แจ่มชัด
11. ควรห้ามจิตมิให้ต้องการไปในที่ที่พระมหากษัตริย์ไม่ควรเสด็จ 12
12. ควรระงับความโลภมิให้ปรารถนาในลาภที่พระมหากษัตริย์มิควรจะได้
ราชสังคหวัตถุ 4 ราชสังคหวัตถุ ๔ คือ
1. ทาน แบ่งปันสิ่งของให้กัน
2. ปิยวาจา พูดจาดีต่อกัน
3. อัตถจริยา ทำประโยชน์ให้กัน
4. สมานัตตตา วางตัวเหมาะสม
พระราชจริยานุวัตรอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวนำใจประชาชน สำหรับเป็นแนวทางในการวางนโยบายปกครองบ้านเมือง ดังนี้ ทรงพระปรีชาในการบำรุงธัญญาหารให้บริบูรณ์ ทรงพระปรีชาในการสงเคราะห์บุรุษที่ประพฤติดี ทรงพระปรีชาในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร และการตรัสพระวาจาที่อ่อนหวานแก่ชนทุกชั้นโดยควรแก่ฐานะ
|